นักชีววิทยา มช. ประสบความสำเร็จ ประยุกต์ใช้ eDNA สำรวจสิ่งมีชีวิตหายากในแม่น้ำสายหลักของไทย

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

แม่น้ำเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชีวิตทั้งคนและสัตว์ในแต่ละภูมิภาค แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์มีความแตกต่างกัน จึงเกิดเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์นานาชนิด เป็นเหตุผลที่ทำให้ประเทศไทยติดอันดับการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่สำคัญของโลกในหลายปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงความมหัศจรรย์แห่งระบบนิเวศในประเทศที่รอการค้นพบอีกมาก ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยทีมนักวิจัยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จึงผลักดันการประยุกต์ใช้ environmental DNA หรือ eDNA ในการสำรวจสิ่งมีชีวิตหายากในแม่น้ำสายหลักของไทย จนประสบความสำเร็จ เพื่อให้การสำรวจประชากรของสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำง่ายขึ้น สามารถนำมาช่วยในการวางแผนการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์ได้ในอนาคต

การศึกษาสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำเป็นสิ่งสำคัญในการอนุรักษ์ ทั้งการประเมินความอุดมสมบูรณ์ และการเฝ้าระวังสิ่งมีชีวิตรุกรานต่างถิ่น โดยวิธีการทั่วไปนั้นจะอาศัยการจับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการศึกษาจากแหล่งน้ำด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ตาข่ายสวิง อวน เบ็ด หรือแม้กระทั้งการใช้กระแสไฟฟ้า ซึ่งการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ มีข้อจำกัดตามสภาพแหล่งน้ำ จึงไม่สามารถสำรวจสิ่งมีชีวิตได้ครบทุกชนิด ทั้งยังเป็นการรบกวนการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำอีกด้วย ทีมนักวิจัยภาควิชาชีววิทยา นำโดย รศ.ดร.มัสลิน โอสถานันต์กุล อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา ได้ใช้ Environmental DNA (eDNA) ซึ่งเป็นชิ้นส่วน DNA สายสั้น ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ถูกปล่อยออกมาสู่สิ่งแวดล้อม ทดแทนวิธีการใช้อุปกรณ์แบบดั้งเดิม พบว่า สามารถช่วยให้สำรวจสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีความแม่นยำสูง ตรวจหาสิ่งมีชีวิตได้แม้จะมีจำนวนน้อย และไม่ทำลายระบบนิเวศที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต

ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยภาควิชาชีววิทยา ยังได้ร่วมมือกับ ทีมวิจัยจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และประเทศอังกฤษ นำเอา eDNA ร่วมกับ Next generation sequencing (NGS) ใช้สำรวจและระบุชนิดปลาที่พบในลุ่มน้ำเจ้าพระยา (แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และแม่น้ำเจ้าพระยา) ซึ่งทำให้สามารถมองเห็นภาพรวมของความหลากหลายทางชีวภาพ และสามารถระบุได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำว่ามีปลาชนิดใดบ้างอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบริเวณที่ทำการศึกษา ในอนาคตทาง รศ. ดร. มัสลิน โอสถานันต์กุล และทีมวิจัย มีความสนใจที่จะขยายขอบเขตการศึกษาในการนำเอา eDNA ไปประยุกต์ใช้สำหรับการสำรวจติดตามสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยเน้นการประเมินความเสี่ยงของโอกาสที่จะพบแมงกระพรุนพิษในบริเวณชายหาดของประเทศไทย ทั้งในฝั่งอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน

 

RANDOM

รัฐบาลไทย เปิดทำเนียบเลี้ยงฉลองชัยความสำเร็จทัพนักกีฬาไทยชุดเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 19 และเอเชี่ยนพาราเกมส์ ครั้งที่ 4 พร้อมมอบเงินรางวัลอัดฉีดจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ (NSDF) รวมทั้งสิ้น 353,925,000 บาท

โตโยต้า จับมือ พันธมิตร จัดประกวดโครงการชุมชนลดเปลี่ยนโลก และ โครงการนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลก ปีที่ 2 ช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าพาประเทศมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!