จุฬาฯ วิจัย พบสาร THC เกินกำหนด ในเครื่องดื่มกัญชา จากการสุ่มตรวจกว่า 30% เตือนผู้บริโภคระวัง จี้รัฐควบคุม

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

ปัจจุบันความนิยมบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชามีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้แพทย์และนักวิจัยด้านสารเสพติดหลายท่านรู้สึกกังวลถึงผลกระทบของสาร THC ในกัญชา ที่หากผู้บริโภคได้รับในปริมาณมากและต่อเนื่อง อาจส่งผลต่อพัฒนาการของสมอง เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า จิตเภท หลอดเลือดหัวใจ และมะเร็งอัณฑะ เป็นต้น

จากข้อมูลการประชุมวิชาการศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) เพื่อการพัฒนาศักยภาพการวิจัย และนักวิชาการการเสพติด ครั้งที่ 9 ที่ผ่านมา (กุมภาพันธ์ 2565) เผยว่า คนไทยที่ใช้กัญชามีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆ เกือบเท่าตัว โดยผลสำรวจล่าสุด (ปี 2564) มีคนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปใช้กัญชา ประมาณ 1.89 ล้านคน หรือคิดเป็น 4.3% เทียบกับ ผลสำรวจเมื่อปี 2563 ที่มีผู้ใช้กัญชาอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านคน

รศ.ดร.เกื้อการุณย์ ครูส่ง อาจารย์ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำร่องศึกษาวิจัยหาปริมาณสาร ∆9-THC หรือ delta9-tetrahydrocannabidol ในเครื่องดื่มกัญชาที่จำหน่ายในร้านขายเครื่องดื่มทั่วไป เพื่อหาว่ามีปริมาณสาร ∆9-THC เกินกว่าที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดหรือไม่ โดยคณะผู้วิจัยได้เก็บตัวอย่างเครื่องดื่มกัญชาและเครื่องดื่มที่ผสมกัญชา ที่ขายอยู่ทั่วไปในร้านขายเครื่องดื่มและคาเฟ่ต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร 30 กว่าตัวอย่าง มีทั้งเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ โซดา และประเภทที่ใส่นม โดยวิธีการตรวจสอบตัวอย่างเครื่องดื่มนั้น ใช้วิธีมาตรฐานระดับสากลที่ใช้ตรวจหาสาร ∆9-THC ในอาหาร

รศ.ดร.เกื้อการุณย์ เปิดเผยว่า เครื่องดื่มที่สุ่มตรวจส่วนใหญ่มีสาร ∆9-THC ในปริมาณที่ไม่เกินจากที่สาธารณสุขกำหนด แต่ราว 30 % พบว่า มีปริมาณสารดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือต้องไม่เกิน 0.015 มิลลิกรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร ซึ่งหากบริโภคเครื่องดื่มที่มีปริมาณสาร THC เกินกำหนดจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้สาร ∆9-THC

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยไม่สามารถเปิดเผยหรือระบุว่าเครื่องดื่มใด จากร้านใด มีปริมาณสาร ∆9-THC เท่าใด แต่อาจนำเสนอในรูปแบบรายงานของ ศศก. ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับงานด้านนโยบายต่อไปในอนาคต

“สื่อหรือโฆษณาต่าง ๆ มักพูดถึงแต่ข้อดีของกัญชา ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้ทางสันทนาการ หรือนำมารักษาโรค โดยลืมไปว่าผลเสียของกัญชาก็ยังคงมีอยู่ แพทย์หลายท่านออกมาเตือนว่า ไม่ให้เด็กรับประทานโดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจส่งผลต่อระบบประสาท สมอง และพัฒนาการของเด็ก รวมทั้งจิตแพทย์ก็ชี้ว่าสาร ∆9-THC ในกัญชามีผลต่อสุขภาพจิต สมาธิ และเรื่องของภาวะอารมณ์ด้วย หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรออกมาตรการควบคุมเรื่องกัญชาในเครื่องดื่ม และสื่อสารแก่ประชาชนให้ครอบคลุมทั้งคุณและโทษของกัญชา” รศ.ดร.เกื้อการุณย์ กล่าว

RANDOM

บริษัท น้ำมันปิโตรเลียมไทย จำกัด ให้ทุนการศึกษาให้นิสิต นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และมีความประพฤติดี ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 ทุน ยื่นใบสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ – 31 มกราคม 2567

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!