“ผ้าทออัจฉริยะ” ทำนายการเคลื่อนไหวมนุษย์ ช่วยป้องกันและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยและนักกีฬา

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

นักวิจัยของ MIT คิดค้น “ผ้าทออัจฉริยะ” พร้อมกับสร้างระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อวัดและตีความข้อมูลจากเซ็นเซอร์ความดันแบบเรียลไทม์ ระบบแมชชีนเลิร์นนิงทำนายการเคลื่อนไหวที่ทำโดยบุคคลที่ยืนอยู่บนเสื่อสิ่งทออัจฉริยะ ที่มีความแม่นยำประมาณ 99%

Irmandy Wicaksono ผู้ช่วยวิจัยใน MIT Media Lab กล่าวว่า กระบวนการผลิต “ผ้าทออัจฉริยะ”  สามารถนำไปใช้ได้หลายอย่าง โดยเฉพาะในการดูแลสุขภาพและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ตัวอย่างเช่น ใช้ผลิตรองเท้าอัจฉริยะ ที่ติดตามการเดินของคนที่กำลังเรียนรู้ที่จะเดินอีกครั้ง หลังจากที่ได้รับบาดเจ็บ หรือ ถุงเท้าที่ตรวจสอบแรงกดบนเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันการเกิดแผล

นักวิจัยจะใช้เครื่องถักแบบดิจิทัลที่ทอผ้าหลายชั้นเข้าด้วยกันเป็นแถว ที่มีมาตรฐานและการใช้งานได้จริง ผ้าถักแบบหลายชั้น ประกอบด้วย เส้นด้ายถักแบบนำไฟฟ้าสองชั้น ประกบกันถักแบบพายโซรีซิสทีฟ เครื่องจักรจะเย็บเส้นด้ายที่ใช้งานได้นี้ ทั่วทั้งสิ่งทอในแถวแนวนอนและแนวตั้ง และเมื่อเส้นใยที่ใช้งานได้ตัดกัน พวกมันจะสร้างเซ็นเซอร์ความดันขึ้นมา

เมื่อกระบวนการผลิตสมบูรณ์แบบแล้ว Wicaksono ต้องการระบบประมวลผลข้อมูลเซ็นเซอร์ความดันอย่างแม่นยำ เนื่องจากผ้าถักเป็นเส้นตาราง เขาจึงสร้างวงจรไร้สายที่สแกนผ่านแถวและคอลัมน์บนสิ่งทอ และวัดความต้านทานในแต่ละจุด นอกจากนั้น Wicaksono ได้คิดค้นระบบที่แสดงข้อมูลเซ็นเซอร์ความดันเป็นแผนที่ความร้อน ภาพเหล่านั้นจะถูกป้อนเข้าสู่แมชชีนเลิร์นนิง ให้ตรวจจับท่าทาง หรือการเคลื่อนไหวของผู้ใช้ตามภาพแผนที่ความร้อน

การวิจัยที่ผ่านมา สามารถจำแนกกิจกรรมของผู้ใช้เสื่อที่ทำจากผ้าทออัจฉริยะ (การเดิน วิ่ง วิดพื้น ฯลฯ) ได้อย่างแม่นยำ 99.6% และสามารถจำแนกท่าโยคะได้ 7 ท่า ที่มีความแม่นยำ 98.7% นอกจากนี้ พวกเขายังใช้เครื่องถักแบบวงกลม เพื่อสร้างรองเท้าจากสิ่งทออัจฉริยะเข้ารูป โดยมีจุดตรวจวัดแรงกด 96 จุดกระจายอยู่ทั่วสิ่งทอ 3 มิติ พวกเขาใช้รองเท้าวัดแรงกดบนส่วนต่าง ๆ ของเท้า เมื่อผู้สวมใส่เตะลูกฟุตบอล

ปัจจบุัน Wicaksono วางแผนที่จะปรับแต่งรูปแบบการเรียนรู้ของวงจรของต้นแบบผ้าทออัจฉริยะ ที่ต้องได้รับการปรับเทียบให้เข้ากับแต่ละบุคคลเพื่อที่จะสามารถจำแนกการกระทำได้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานาน นักวิจัยยังต้องการทดสอบรองเท้าอัจฉริยะนอกห้องปฏิบัติการเพื่อดูว่าสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ และความชื้น ส่งผลต่อความแม่นยำของเซ็นเซอร์อย่างไร

ด้าน Eric Berkson ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านศัลยกรรมกระดูก ที่ Harvard Medical School และศัลยแพทย์ด้านเวชศาสตร์การกีฬาที่ โรงพยาบาล Massachusetts General Hospital กล่าวว่า “ในด้านการแพทย์และเวชศาสตร์การกีฬาออร์โธปิดิกส์โดยเฉพาะ เทคโนโลยีนี้ช่วยให้สามารถตรวจจับและจำแนกการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น และจดจำรูปแบบการกระจายแรงในสถานการณ์จริง (นอกห้องทดลอง) ซึ่งเป็นการคิดค้นที่จะเสริมเทคนิคการป้องกันและตรวจจับอาการบาดเจ็บ และช่วยประเมินและฟื้นฟูโดยตรง”

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก Massachusetts Institute of Technology

RANDOM

ราชมงคลพระนคร รับสมัครคัดเลือกบุคคล ตำแหน่ง “อาจารย์” คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน และ ตำแหน่ง “นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ” เทคโนโลยีดิจิทัลทางการศึกษา และบริการห้องปฏิบัติการ

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!