สภาดิจิทัลฯ ชง “มาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา” ช่วยนักเรียนยากจนเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ที่ประชุม ครม. รับลูก แทงเรื่องให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อ

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่าย ได้เสนอ “มาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา” ช่วยนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษทั่วประเทศ 1.8 ล้านคน ได้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  ล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี รับทราบมาตรการฯ ดังกล่าว พร้อมให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป ถือเป็นก้าวแรกที่น่ายินดีและดีใจแทนเด็กไทยที่จะได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษาได้มากขึ้น สร้างคนรุ่นใหม่ที่เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในอนาคต

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสภาดิจิทัลฯ เปิดเผยว่า สภาดิจิทัลฯ ตระหนักและห่วงใยในเรื่องการศึกษาของเด็กไทย เพราะในสังคมปัจจุบันยังมีความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาอยู่มาก ข้อมูลจาก สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) พบว่า ประเทศไทยมีนักเรียนยากจนจำนวนมาก ในปี 2564 มีนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษประมาณ 1.8 ล้านคน (ตั้งแต่ระดับชั้นก่อนประถมศึกษา – ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า) ซึ่งนักเรียนในกลุ่มดังกล่าว ร้อยละ 20 ที่มีคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียน และร้อยละ 61 ที่มีอินเทอร์เน็ตที่บ้าน และจากข้อมูลของ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ประเทศไทยยังคงมีนักเรียนจำนวนมากที่ไม่มีความพร้อมด้านฐานะทางการเงิน ขาดแคลนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับใช้เพื่อการเรียน และมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่บ้านต่ำมาก ส่งผลให้การเข้าถึงคอมพิวเตอร์ของประเทศไทย ยังตามหลังประเทศเพื่อนบ้านอยู่มาก โดยมีสัดส่วนครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ใช้เพียง 19% ตามหลังประเทศสิงคโปร์ ที่มีการใช้คอมพิวเตอร์อยู่สูงสุดถึง 89% มาเลเซีย 78% เกาหลีใต้ 72% และญี่ปุ่น 69% ด้วยเหตุนี้ สภาดิจิทัลฯ จึงถือเป็นภารกิจสำคัญที่จะต้องขับเคลื่อนและผลักดัน โดยร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อให้เด็กไทยที่ยากจนและยากจนพิเศษได้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี

“ สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาสูงขึ้น เนื่องจากสถานศึกษาต้องดำเนินการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ปกครองในการจัดหาอุปกรณ์และการเข้าถึงบริการสื่อสาร เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงการศึกษาสำหรับเด็กจำนวนมาก การเข้าถึงอุปกรณ์ แหล่งข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ จะมีส่วนสำคัญในการปรับมุมคิดเด็กไทยได้เรียนรู้จากการลงมือทำ ปฏิบัติจริงด้วยตัวเอง (Action-Based Learning) และยังช่วยพัฒนาทักษะดิจิทัล สร้างให้เยาวชนมีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และมีจินตนาการ (Imagination) อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ระบบการศึกษาไทย ” 

สำหรับ มาตรการช่วยเหลือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ประกอบด้วย 1) มาตรการสนับสนุนอินเทอร์เน็ตโดยการต่ออายุมาตรการสนับสนุนอินเทอร์เน็ตให้กับนักเรียนออกไปอีกเป็นเวลา 1 ปี และการพิจารณาศึกษามาตรการสนับสนุนอินเทอร์เน็ตในระยะยาว เพื่อใช้ในการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน 2) มาตรการสนับสนุนคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาเพื่อการศึกษา สำหรับนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ถึง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ป.1 – ม.6) และเทียบเท่าที่มีฐานะยากจนและยากจนพิเศษ ตามหลักเกณฑ์ของ กสศ. ประมาณ 1.8 ล้านคน และในระยะเร่งด่วนสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยสนับสนุนเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ขนาดพกพา เพื่อใช้ในการสอนและเรียนออนไลน์สำหรับครูผู้สอน ควบคู่ไปกับเด็กนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษ เพื่อให้ครูและเด็กนักเรียนที่ขาดแคลนสามารถมีอุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ได้มากขึ้น 3) มาตรการจัดทำแอปพลิเคชันเสริมประกอบการเรียนออนไลน์ที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน และ 4) มาตรการสนับสนุนค่าไฟฟ้า เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษ เป็นต้น โดยสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาตรการที่จูงใจของภาคเอกชน และจะนำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อประกอบการพิจารณาในการออกมาตรการเพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมต่อไป

RANDOM

อุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรฯ รับสมัคร ‘อาจารย์ – นักวิชาการเงินและบัญชี’ ทั้งนี้ ตำแหน่ง อาจารย์ หมดเขตยื่นใบสมัคร 29 ธันวาคม 2566 และ ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชี หมดเขตยื่นใบสมัคร 30 พฤศจิกายน 2566

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!