สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ สำนักงาน ก.พ. ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวง และทุนรัฐบาลฯ ประจำปี 2566 (ทุนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) จำนวน 46 ทุน โดยแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1. ทุนเล่าเรียนหลวง จำนวน 9 ทุน เปิดรับสมัครสอบตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน – 25 ตุลาคม 2565 ผู้ได้รับทุนจะต้องกลับมาปฏิบัติงานในประเทศไทย เป็นระยะเวลาเท่ากับระยะเวลาในการรับทุน กรณีผู้ได้รับทุนไม่กลับมาปฏิบัติงานในประเทศไทย จะต้องชดใช้เงินคืนเท่ากับจํานวนเงินทุนที่ได้รับไป
2. ทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจําปี 2566 จำนวน 27 ทุน ดูรายละเอียดของทุนจากเว็บไซต์สำนักงาน กพ. ว่า เป็นความต้องการของหน่วยงานใด และให้ไปศึกษาต่อสาขาวิชาใด ที่ประเทศใด ผู้ได้รับทุนจะต้องกลับมาปฏิบัติราชการ หรือปฏิบัติงานของทางราชการในกระทรวง กรม หรือ หน่วยงานของรัฐ ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กําหนด เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของระยะเวลาที่ได้รับทุน หากผู้ได้รับทุนไม่เข้าปฏิบัติราชการ หรือปฏิบัติงานของทางราชการชดใช้ทุนตามสัญญาที่ได้ทําไว้กับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นอกจากต้องชดใช้เงินทุนที่ได้รับไปแล้ว ยังต้องชดใช้เงินอีก 2 เท่าของจํานวนทุนดังกล่าว ให้เป็นเบี้ยปรับอีกด้วย
3. ทุนรัฐบาลที่จัดสรรให้กระทรวงการต่างประเทศประจําปี 2566 จำนวน 5 ทุน ทั้งนี้ ผู้สมัครสอบจะต้องเลือกสาขาวิชาที่สนใจจะไปศึกษาต่อ และในแต่ละสาขาวิชาจะกำหนดชื่อประเทศที่ต้องเดินทางไปศึกษาต่อ ผู้ได้รับทุนนี้จะต้องกลับมาปฏิบัติราชการ หรือปฏิบัติงานที่กระทรวงการต่างประเทศ กําหนด เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุน กรณีที่ผู้ได้รับทุนไม่เข้าปฏิบัติราชการ หรือปฏิบัติงานของกระทรวงการต่างประเทศได้ จะต้องชดใช้ทุนตามสัญญาที่ได้ทําไว้กับกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากต้องชดใช้เงินทุนที่ได้รับไปแล้ว ยังต้องชดใช้เงินอีก 2 เท่าของจํานวนทุนดังกล่าว ให้เป็นเบี้ยปรับอีกด้วย
4. ทุนบริษัท ปตท. สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน) ประจําปี 2566 (ทุนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) จำนวน 3 ทุน เพื่อไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา หรือ สหราชอาณาจักร ผู้ได้รับทุนจะต้องกลับมาปฏิบัติงานกับ บริษัท ปตท. สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด(มหาชน) เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่ได้รับทุน หากผู้ได้รับทุนไม่เข้าปฏิบัติงานชดใช้ทุนตามสัญญาที่ได้ทําไว้กับบริษัท ปตท. สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน) นอกจากจะชดใช้เงินทุนที่ได้จ่ายไปแล้ว ยังต้องชดใช้เงินอีก 2 เท่าของจํานวนทุนดังกล่าว ให้เป็นเบี้ยปรับอีกด้วย
5. ทุนวิวัฒนไชยานุสรณ์ ประจําปี 2566 (ทุนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) จำนวน 2 ทุน เพื่อไปศึกษาต่อด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ/หรือ ESG หรือ Sustainability ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา, ประเทศแคนาดา, สหราชอาณาจักร, สาธารณรัฐฝรั่งเศส, สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี, สมาพันธรัฐสวิส, สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี หรือเครือรัฐออสเตรเลีย ผู้ได้รับทุนจะต้องกลับมาปฏิบัติงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า2 เท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุน หากผู้ได้รับทุนไม่เข้าปฏิบัติงานชดใช้ทุนตามสัญญาที่ได้ทําไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากจะชดใช้เงินทุนที่ได้จ่ายไปแล้ว ยังต้องชดใช้เงินอีก 1 เท่า ของจํานวนเงินทุนดังกล่าว ให้เป็นเบี้ยปรับอีกด้วย
ทุกทุนสามารถสมัครผ่านทางเว็บไซต์ http://scholar2.ocsc.go.th ได้ตลอด 24 ขั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
คุณสมบัติของผู้สมัครขอรับทุน
– เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย
– ผู้สมัครมีอายุต่ำกว่า 18 ปีได้ แต่ไม่เกิน 20 ปี นับถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2565
– กำลังศึกษาอยู่ใขชั้นสุดท้ายของการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประจำปี 2565 โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรวมทุกภาคการศึกษาที่ผ่านมา ไม่ต่ำกว่า 3.50
– ไม่เคยสอบตกในวิชาใดตลอดหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
– เป็นผู้มีศีบธรรม และมีความประพฤติดี
– ไม่อยู่ในระหว่างการรับทุนที่มีสัญญาผูกพันในการปฏิบัติงานชดใช้ทุน หรือตอบแทนทุนใด ๆ ยกเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของทุนให้สมัครสอบได้ และต้องส่งหนังสืออนุญาตดังกล่าวให้ สํานักงาน ก.พ. ภายในวันสอบข้อเขียน
หลักฐานการสมัคร
– ใบสมัครที่กรอกเสร็จแล้วทางอินเตอร์เน็ต และสั่งพิมพ์ออกมา
– เงินค่าสมัครสอบ
– รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 x 1.5 นิ้ว
– หนังสือรับรองความประพฤติและความเหมาะสมในการสมัครรับทุนจากอาจารย์ประจําชั้น หรือ ผู้อํานวยการโรงเรียน (ตามแบบฟอร์ม สนง. ก.พ. 1)
– สําเนาทะเบียนบ้าน หรือสูติบัตร หรือสําเนาบัตรประจําตัวประชาชน อย่างใดอย่างหนึ่ง
เงื่อนไขการรับทุน
– เมื่อได้รับทุนแล้ว ผู้ได้รับทุนจะต้องทําสัญญาตามที่สํานักงาน ก.พ. กําหนดไว้
– ผู้ได้รับทุนจะทําสัญญาได้ก็ต่อเมื่อมีผลการตรวจสุขภาพและอนามัยจากคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. ที่ระบุว่าพร้อมที่จะไปศึกษาต่อต่างประเทศได้
– ผู้ได้รับทุนจะได้รับค่าใช้จ่าย เช่น ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินไป-กลับ ค่าใช้จ่ายเตรียมตัวก่อนเดินทาง ค่าใช้จ่ายประจําเดือน ค่าเล่าเรียน ค่าหนังสือและอุปกรณ์การศึกษา และค่าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
– หากผู้ได้รับทุนไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดไว้ สำนักงาน กพ. มีสิทธิ์พิจารณาเพิกถอนทุนได้
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3CS9aav