สวก. เปิดรับข้อเสนอ โครงการวิจัย Selected Topic ปาล์มน้ำมัน เพื่อให้การสนับสนุนทุนวิจัย ปี 2566

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

สํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2566ดยเน้นการสนับสนุนทุนวิจัยที่จะก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่ม ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด (OKR) ระดับประเทศ ตามนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ใน ยุทธศาสตร์ที่ 1 (S1) การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนพร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม แผนงาน P2 (S1) พัฒนาระบบเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG) ในด้านเกษตร และอาหารให้เป็นระบบเศรษฐกิจมูลค่าสูง มีความยั่งยืนและเพิ่มรายได้ของประเทศ แผนงานย่อย N3 (S1P2)
พัฒนากระบวนการผลิต กระบวนการตลาด และผลิตภัณฑ์จากพืชและสัตว์เศรษฐกิจหลักของประเทศตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเพิ่มมูลค่าและรายได้ของประเทศ

ตามมติคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) และมติ ครม. เห็นชอบการดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีคัลของประเทศไทยตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยจะยกระดับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์ม ให้มีมูลค่าเพิ่ม และเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดรับกับการพัฒนาภายใต้ แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ของรัฐบาล สวก.จึงกำหนดกรอบวิจัยเฉพาะเรื่อง ให้สอดคล้องกับประเด็นที่ต้องดำเนินการวิจัยเร่งด่วนในปี 2566

ประกอบด้วย 2 กรอบงานวิจัย ดังนี้

กรอบงานวิจัยที่ 1 การวิจัยเชิงนโยบาย
1. การวิจัยและพัฒนาเพื่อแนวทางการปฏิบัติเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันเพื่อรองรับมาตรการการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers)
2. การวิจัยเชิงนโยบายเพื่อศึกษาผลกระทบต่อมาตรการการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers) โดยเฉพาะการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรป “Zero Palm Oil” ในภาคอุตสาหกรรม และ“Palm Oil Free” สำหรับสินค้าอาหารต่างๆ ต่อการส่งออกของประเทศไทย
3. การศึกษาผลกระทบจากนโยบายการยกระดับมาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทยจากยูโร 4 ขึ้นไปเป็นยูโร 5 และยูโร 6
4. การศึกษาผลกระทบจากนโยบายการยกเลิกการอุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ ตาม พระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2562 รวมถึงผลกระทบจากมาตรการการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle)

กรอบงานวิจัยที่ 2 การเพิ่มมูลค่าปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม
การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เป้าหมายตามแนวทางการขับเคลื่อนการเพิ่มมูลค่าปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์ม 8 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่
1.1 ผลิตภัณฑ์สารหล่อลื่นพื้นฐาน (Base oil)
1.2 น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ (Bio-Tranformer oil)
1.3 สารซักล้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
1.4 น้ำมันหล่อลื่นและจารบีชีวภาพ (Bio Lubricants and Greases)
1.5 การผลิตพาราฟิน (Paraffin)
1.6 สารกำจัดศัตรูพืช/แมลง (Pesticides/Insecticides)
1.7 น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ กรีนดีเซล (Bio Hydrogenated Diesel : BHD)
1.8 น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ ไบโอเจ็ต (Biojet Fuels)

นักวิจัยและผู้สนใจที่ประสงค์จะขอรับการสนับสนุนทุนวิจัย ประจำปี 2566 จาก สวก. สามารถยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยภายใต้หัวข้อ Selected Topic ระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม – 30 พฤศจิกายน 2565

แนวทางและขอบเขตการสนับสนุนการวิจัย
สวก. จะสนับสนุนการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัยตามประกาศนี้ และผลการวิจัยที่ได้ต้องมีเป้าหมายของผลผลิต และผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีตัวชี้วัดที่แสดงถึงการบรรลุเป้าหมายในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในด้านความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ทั้งเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ เวลา และต้นทุน ตลอดจนมีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน ที่จะนำผลผลิตจากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยโดยตรง

เงื่อนไขการเสนอข้อเสนอการวิจัย
ข้อเสนอการวิจัยต้องมีลักษณะครบถ้วนทุกข้อ ดังนี้
1) มีประเด็นวิจัยสอดคล้องกับเป้าหมาย (Objectives) และผลสัมฤทธิ์ที่สําคัญ (Key Results) และ กรอบการวิจัยตามประกาศ
2) ข้อเสนอโครงการวิจัยต้องมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน และไม่จำเป็นต้องมีหลายข้อ
3) คณะผู้วิจัยมีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
4) ข้อเสนอโครงการจะต้องมีงบประมาณที่เหมาะสม และระบุขอบเขตของแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน ระยะเวลา 1 ปี
5) ข้อเสนอโครงการวิจัยที่เสนอขอรับการสนับสนุนทุนวิจัย ต้องมีเป้าหมายของผลผลิตและผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
6) ข้อเสนอโครงการควรมีการร่วมมือระหว่างภาคเอกชน สถาบันวิจัย หน่วยงานของรัฐและมหาวิทยาลัย ตลอดจนเครือข่ายวิสาหกิจ เพื่อเชื่อมโยงการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยต่อไป
7) ข้อเสนอการวิจัยหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อเสนอการวิจัยนี้ ต้องไม่อยู่ในข้อเสนอการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนวิจัยอื่น กรณีมีการต่อยอดจากงานวิจัยเดิมต้องแสดงขอบเขตการดำเนินงานระหว่างงานเดิม และงานใหม่และต้องมีหนังสือยินยอมจากหน่วยงานเจ้าของผลงานเดิม ให้นักวิจัยนำทรัพย์สินทางปัญญาจากการวิจัยมาดำเนินการวิจัยต่อยอด หาก สวก. ตรวจพบว่า ข้อเสนอการวิจัยดังกล่าวได้รับทุนซ้ำซ้อนหรือมีการดำเนินการวิจัยมาแล้ว สวก.ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการสนับสนุนทุนวิจัย และเรียกเงินทุนวิจัยคืน
8) กรณีโครงการวิจัยเป็นการดำเนินงานในลักษณะการวิจัยร่วม (Co-funding) ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ครุภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้าง จากหน่วยงานอื่น ให้แสดงรายละเอียดการสนับสนุนดังกล่าวโดยระบุงบประมาณในแต่ละรายการในข้อเสนอการวิจัย พร้อมทั้งแสดงหนังสือรับรองจากหน่วยงานนั้น ๆ
9) กรณีที่เป็นการวิจัยที่ใช้คนหรือสัตว์ในการทดลอง จะต้องส่งข้อเสนอการวิจัยพร้อมใบรับรองการอนุมัติให้ดำเนินการวิจัยหรือ Certificate of Approval ที่ออกโดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ของสถาบันหรือมหาวิทยาลัย และกรณีที่นักวิจัยมีการดำเนินการวิจัยโดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ตัดต่อพันธุกรรม (GMO) ให้ปฏิบัติตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
10) กรณีที่เป็นโครงการความร่วมมือกับสถาบันหรือนักวิจัยต่างประเทศ ให้ปฏิบัติตามระเบียบสภาวิจัยแห่งชาติว่าด้วยการอนุญาตให้นักวิจัยชาวต่างประเทศเข้ามาทำการวิจัยในประเทศไทย พ.ศ.2550
11) กรณีเป็นโครงการวิจัยที่มีการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพ ให้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพ และการได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากทรัพยากรชีวภาพ พ.ศ. 2554
12) หัวหน้าโครงการและนักวิจัยร่วมทุกท่าน ต้องลงนามรับรองในข้อเสนอการวิจัยให้ครบถ้วน

คุณสมบัติของหัวหน้าโครงการวิจัย
ผู้มีสิทธิขอรับทุนจะต้องเป็นบุคลากรในภาครัฐหรือเอกชน ที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล โดยมีลักษณะดังนี้
1) มีสัญชาติไทย มีถิ่นพำนักถาวรในประเทศไทย และมีหลักฐานการทำงานมั่นคง
2) มีศักยภาพในการบริหารการวิจัยและ/ หรือการบริหารจัดการ
3) มีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดีในวิทยาการด้านใดด้านหนึ่งเกี่ยวกับการวิจัยในข้อเสนอการวิจัยที่ขอรับทุนมีศักยภาพ ความพร้อมด้านวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการวิจัยที่จะดำเนินการวิจัยได้สำเร็จ
4) สามารถปฏิบัติงานและควบคุมการวิจัยได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับทุน รวมทั้งสามารถดำเนินการวิจัยให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดอย่างมีคุณภาพ
5) ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานระดับอธิบดี อธิการบดี หรือเทียบเท่าของภาครัฐที่ผู้อำนวยการแผนงานสังกัดอยู่หรือกรรมการผู้จัดการใหญ่หรือเทียบเท่าในส่วนของภาคเอกชน ให้ความเห็นชอบและรับรอง
6) เป็นผู้มีจริยธรรมตามจรรยาบรรณนักวิจัย

การส่งข้อเสนอโครงการวิจัย
ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะยื่นข้อเสนอโครงการวิจัย สามารถลงทะเบียนส่งข้อเสนอโครงการวิจัย ผ่านระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งขาติ (National Research and Innovation Information System : NRIIS) ในเว็บไซต์ https://nriis.go.th/ โดยกรอกข้อมูลรายละเอียดการยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยและหนังสือนําส่งการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย พร้อมแนบไฟล์ข้อเสนอโครงการวิจัยในรูปแบบ MSWord และ PDF พร้อมไฟล์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรายละเอียดเอกสารแบบข้อเสนอโครงการท่านสามารถดาวน์โหลดแบบฟ อร์ม ของ สวก. และเอกสารที่เกี่ยวข้องผ่านทางเว็บไซด์ https://www.arda.or.th/research-fund02.php โดยระบบ NRIIS เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัย ระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม – 30 พฤศจิกายน 2565 เวลา 23.59 น. เท่านั้น หากพ้นกําหนด สวก. จะไม่รับพิจารณา

 

RANDOM

ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ จับมือ ธ.ออมสิน เปิดอบรมฟรี ด้านอาหาร เกษตร และสุขภาพ หนุนผู้ประกอบการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ปูทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

อุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรฯ รับสมัคร ‘อาจารย์ – นักวิชาการเงินและบัญชี’ ทั้งนี้ ตำแหน่ง อาจารย์ หมดเขตยื่นใบสมัคร 29 ธันวาคม 2566 และ ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชี หมดเขตยื่นใบสมัคร 30 พฤศจิกายน 2566

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!