นักวิจัย ม.อ. คว้าทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ศึกษานิเวศสรีรวิทยาเพิ่มความสำเร็จในการฟื้นฟูหญ้าทะเล

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ คว้าทุน จากโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ “การบูรณาการคุณลักษณะทางนิเวศสรีรวิทยาของหญ้าทะเลเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูระบบนิเวศ และความสามารถในการกักเก็บคาร์บอน” ออกแบบเครื่องมือเพิ่มศักยภาพการเก็บคาร์บอน และเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล

รศ. ดร.พิมพ์ชนก บัวเพชร หลักสูตรชีววิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับทุนในสาขาชีวภาพในงานวิจัย “การบูรณาการคุณลักษณะทางนิเวศสรีรวิทยาของหญ้าทะเลเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูระบบนิเวศและความสามารถในการกักเก็บคาร์บอน” จาก โครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่ลอรีอัลให้ความสำคัญในการดำเนินงานทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง และวิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญและเป็นความหวังของมวลมนุษยชาติ โดยให้สตรีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปิดมุมมองใหม่ ๆ ด้านงานวิจัยเพราะเชื่อว่า โลกต้องการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ต้องการสตรี

งานวิจัย “การบูรณาการคุณลักษณะทางนิเวศสรีรวิทยาของหญ้าทะเลเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูระบบนิเวศและความสามารถในการกักเก็บคาร์บอน” ได้วิจัยเกี่ยวกับหญ้าทะเลที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพ จัดเป็นหนึ่งในระบบนิเวศคาร์บอนสี มีบทบาทโดดเด่นในการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แหล่งหญ้าทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถกักเก็บคาร์บอนได้สูง ซึ่งปัจจุบันพื้นที่หญ้าทะเลที่สมบูรณ์ลดลงต่อเนื่อง แม้ประเทศไทยมีโครงการฟื้นฟูหญ้าทะเลมายาวนาน แต่ต้องศึกษาเพิ่มเติมและติดตามระยะยาวอย่างเป็นระบบ

งานวิจัยนี้นับเป็นโครงการแรกในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่บูรณาการองค์ความรู้ด้านนิเวศสรีรวิทยาเพื่อเพิ่มความสำเร็จในการฟื้นระบบนิเวศหญ้าทะเล ทีมวิจัยเลือกศึกษาเปรียบเทียบพื้นที่แหล่งหญ้าทะเลที่สมบูรณ์ และแหล่งหญ้าทะเลที่มีโครงการพื้นฟู โดยมุ่งเน้นศึกษา ‘หญ้าคาทะเล’ ซึ่งมีศักยภาพกักเก็บคาร์บอนสูงและเป็นหนึ่งในชนิดหลักที่ใช้พื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลในประเทศไทย ผลการศึกษาจากงานวิจัยนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนการฟื้นฟูระบบนิเวศหญ้าทะเล และช่วยระบุสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รวมถึงปัจจัยคุกคามเพื่อเพิ่มโอกาสและความสำเร็จในการฟื้นฟูระบบนิเวศหญ้าทะเลนำไปสู่การลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และเป็นแนวทางการจัดการทรัพยากรหญ้าทะเล เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนต่อไป

นอกจากนี้ การฟื้นฟูระบบนิเวศหญ้าทะเล ยังเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่ได้รับความสนใจทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เพราะไม่เพียงจะเพิ่มศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนของพื้นที่ แต่ยังนำไปสู่การเพิ่มแหล่งที่อยู่ของสัตว์ทะเล การรักษาระดับธาตุอาหารในน้ำ และลดการกัดเซาะชายฝั่ง อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อแวดวงวิชาการระดับนานาชาติ สามารถนำไปต่อยอดการฟื้นฟูระบบนิเวศในพื้นที่อื่น ๆ ได้ต่อไป

รศ. ดร.พิมพ์ชนก บัวเพชร กล่าวว่า ทุนวิจัยลอรีอัลเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ เป็นทุนที่สนับสนุนงานวิจัยที่ดำเนินการอยู่แล้ว และต้องการต่อยอด รวมถึงเป็นงานวิจัยที่ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ SDGs Sustainable Development Goals ของ องค์การสหประชาชาติ โดยงานวิจัยเรื่อง “การบูรณาการคุณลักษณะทางนิเวศสรีรวิทยาของหญ้าทะเลเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูระบบนิเวศและความสามารถในการกักเก็บคาร์บอน” เป็นประเด็นที่หลายภาคส่วนให้ความสำคัญทั้งในระดับชาติและนานาชาติ สอดคล้องกับแนวคิดทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศขององค์การสหประชาชาติ และยังเป็นหนึ่งใน flagship ของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ดำเนินการขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง

RANDOM

นักศึกษาเทคนิคฉะเชิงเทรา โชว์กึ๋น ประดิษฐ์ “Wheelchair & Walker” อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินผู้ป่วยกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ซิวรองอันดับ 1 การประกวดสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ ปี 66

FTA Academy จัดอบรมฟรี! หลักสูตร Carbon Neutrality and Net Zero Emissions (หลักการของความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตามมาตรฐานสากล) เรียนจบหลักสูตรพร้อมรับประกาศนียบัตร ผู้สนใจสมัครด่วน

NEWS

ก.พาณิชย์ เดินหน้าจัดการประกวดรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม ปี 2568 “DEmark 2025″ ในธีม “THE LIVABLE CREATION” : สร้างสรรค์ อย่างน่าอยู่” มุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หนุนคุณภาพชีวิตที่ดี ต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่สากล

ททท. เชิญชวนประกวดภาพถ่ายแห่งความสุขจากการเดินทาง ในโครงการ Family Happy Trip หัวข้อ “ภาคกลางเที่ยวได้ทุกวัน” ชิงเงินรางวัล และบัตรเติมน้ำมัน มูลค่ารวมกว่า 40,000 บาท สมัครและส่งผลงานได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 23 พ.ค.

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!