มทร.พระนคร ผุดหลักสูตรใหม่ “สถิติสารสนเทศ” ปั้นนักวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ รองรับเศรษฐกิจยุคดิจิทัล

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

สถิติเป็นเครื่องมือสำคัญที่มีส่วนช่วยในการตัดสินใจ ช่วยลดความเสี่ยงจากข้อผิดพลาดในการดำเนินงาน สถิติจึงมีบทบาทสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งในทุกสาขาวิชา ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ข้อมูลข่าวสารมีขนาดใหญ่ องค์กรที่ได้รับสารสนเทศที่ดี จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนและการตัดสินใจให้มีความถูกต้องและรวดเร็วในการทำงานมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานข้างต้น บุคลากรในองค์กรจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานด้านสถิติเป็นอย่างดี สามารถวิเคราะห์ข้อมูล (Data analytics) และนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) พระนคร จึงได้จัดทำหลักสูตรใหม่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติสารสนเทศ (วท.บ. ) พ.ศ. 2566 มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีทักษะความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และประยุกต์ใช้องค์ความรู้ร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศกับศาสตร์อื่น ๆ เพื่อใช้ในการประกอบวิชาชีพ และนำพาประเทศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลก โดยจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี 4 ปี เปิดรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทุกแผนการเรียน หรือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชา หรือ เทียบเท่า

ดร.จิระศักดิ์ ธาระจักร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ปัจจุบันทุกประเทศต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ผลด้วยเครื่องมือทางสถิติ จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการนำไปสู่แนวทางในการตัดสินใจ สำหรับแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง หลายประเทศจึงมีความจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการพัฒนาคน สังคม และระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังนั้น สถาบันการศึกษาจึงต้องผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะและศักยภาพสูง ให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว โดย สาขาวิชาสถิติสารสนเทศ เป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานของประเทศ สอดรับกับการก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0 และ Digital Economy อย่างแท้จริง ผู้เรียนสามารถสรุปผล นำเสนอข้อมูล และเขียนโปรแกรมสำหรับใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อนำไปใช้ต่อยอดในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจยุคใหม่ (Startup) เป็นการเพิ่มทักษะความรู้ทางด้านอุตสาหกรรม สื่อสังคม (Social media) และการดำเนินธุรกิจโดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E–Commerce) ในอนาคต

ด้าน ผศ.ดร. สุนิสา สายอุปราช ประธานหลักสูตร สาขาวิชาสถิติสารสนเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า ยุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ ข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานทุกประเภท เนื่องจากข้อมูลจะเป็นแหล่งของความรู้ที่เราสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย ทั้งเพื่อการเรียนรู้ การศึกษาวิจัย การสื่อสาร รวมถึงประโยชน์เพื่อการตัดสินใจ และการวางแผน ดังนั้น หากนักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ และสถิติ เพื่อปฏิบัติงานก็จะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างสูงทันทีที่จบการศึกษา เพราะอาชีพเหล่านี้คาดว่าจะมีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ มีการใช้เทคโนโลยี และข้อมูลจำนวนมากในการบริหารจัดการและวางแผนธุรกิจ ซึ่งบัณฑิตที่จบไปสามารถทำงานได้หลากหลายทั้งในภาครัฐและเอกชน อาทิ ตำแหน่ง นักสถิติ นักวิเคราะห์ระบบ นักวิเคราะห์ข้อมูล โปรแกรมเมอร์ นักจัดการข้อมูล ผู้สอนด้านสถิติ หรือ ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องทางด้านธุรกิจ เช่น เจ้าหน้าที่สารสนเทศสถิติประจำองค์กร ผู้ช่วยวิจัยการตลาด การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ การบริหารระบบการขนส่ง การบริหารข้อมูลสารสนเทศขององค์กร เป็นต้น และยังสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ทั้งทางด้านสถิติ เทคโนโลยี และการบริหารจัดการ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมีความพร้อมทางกายภาพ และความพร้อมด้านอุปกรณ์ เครื่องมือการเรียนการสอน การบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ Wi-Fi และอื่น ๆ ที่เพียงพอ สำหรับการสนับสนุนให้นักศึกษาเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะนี้ กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ประจำปีการศึกษา 2566 รับตรง รอบที่ 1 และ โควตา รอบที่ 2 สำหรับผู้สมัครที่ใช้วุฒิ ปวช.-ปวส. ยื่นใบสมัครได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 22 กุมภาพันธ์ 2566 ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.rmutp.ac.th/ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สาขาวิชาสถิติสารสนเทศ โทร. 02-836-3000 ต่อ 4197 หรือ งานหลักสูตร โทร. 02-836-3000 ต่อ 4159 หรือที่ E-mail : sci.rmutp@rmutp.ac.th

RANDOM

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!