อพวช. ชวนนักวิทย์ นักคิด ประกวดภาพวิทยาศาสตร์ IMAGE OF SCIENCE “วิจิตร วิจัย” หมดเขตส่งผลงาน 31 มี.ค. 66

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

อพวช. ขอเชิญชวนนักวิทย์ นักคิด นักวิจัย มาร่วมถ่ายทอดเรื่องราว ความประทับใจ ความงดงามที่เกิดขึ้นในงานทางด้านวิทยาศาสตร์ ให้สังคมได้รับรู้ ได้สัมผัสความวิจิตรของงานวิจัยไปด้วยกัน ในการประกวดภาพวิทยาศาสตร์ IMAGE OF SCIENCE “วิจิตร วิจัย” ประจำปี 2566 โดยการส่งภาพพร้อมคำบรรยายถึงความงามและความสำคัญของภาพ ผู้สนใจเข้าร่วมส่งผลงาน ต้องเตรียมข้อมูล 4 ส่วนหลัก คือ ภาพ ชื่อภาพ คำบรรยายประกอบภาพ และข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ เทคโนโลยี หรือ เทคนิคที่ใช้สร้างภาพ

ประเภทภาพที่ส่งเข้าประกวด

-ผลงานยอดเยี่ยม
-ผลงานยอดนิยม

รายละเอียดการส่งผลงาน

1. ภาพ

-เป็นภาพที่เกี่ยวข้อง หรือ เกิดขึ้นในการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของเจ้าของภาพเอง
-เป็นภาพเชิงวิทยาศาสตร์ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์พื้นฐาน หรือ วิทยาศาสตร์ประยุกต์สาขาใดก็ได้ เช่น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิศวกรรมศาสตร์ ธรณีศาสตร์ สิ่งแวดล้อม สุขภาพและการแพทย์ เป็นต้น โดยขอสงวนสิทธิ์สำหรับภาพที่สร้างขึ้นมาเพื่อความสวยงามเป็นหลัก เช่น ภาพในเชิงวิจิตรศิลป์ ทัศนศิลป์ หรือ อื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
-ไฟล์ภาพควรมีความละเอียดระดับ HD ขึ้นไป ด้านที่สั้นที่สุดของภาพ ไม่ต่ำกว่า 720 pixels โดยส่งในรูปแบบไฟล์ JPEG PNG หรือ TIFF

2. ชื่อภาพ

-ตั้งชื่อภาพยาวไม่เกิน 100 ตัวหนังสือ (character)

3. คำบรรยายประกอบภาพ
-คำบรรยายต้องเป็นภาษาไทย และใช้ภาษาที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่าย ที่อาจจะอธิบายถึงสิ่งที่ปรากฎอยู่ในภาพ วิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สาระความรู้ หรือ แรงบันดาลใจที่เกี่ยวข้องกับภาพ ตลอดจนบทบาท หรือ ความสำคัญของภาพที่มีต่อการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของเจ้าของภาพ
-ประเภทยอดเยี่ยม คำบรรยายต้องมีความยาวระหว่าง 250-700 ตัวหนังสือ (character)
-ประเภทยอดนิยม คำบรรยายต้องมีความยาวระหว่าง 150-700 ตัวหนังสือ (character)

4. ข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ เทคโนโลยี หรือเทคนิคที่ใช้สร้างภาพ
-คำอธิบายเกี่ยวกับอุปกรณ์ เทคโนโลยี หรือ เทคนิคที่ใช้ผลิตภาพ
ตัวอย่าง 1. ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (TEM) ที่อัตราขยาย 500,000 เท่า และปรับแต่งสีของภาพด้วยโปรแกรม Photoshop
2. ใช้กล้องจุลทรรศน์แบบ Phase Contrast ถ่ายภาพผ่านกระบวนการ X-ray หรือ Radioactive เป็นต้น
-ยาวไม่เกิน 300 ตัวหนังสือ (character)
-ภาพที่ส่งไม่จำกัดอุปกรณ์ เทคโนโลยี หรือ เทคนิคในการสร้างภาพ เช่น ภาพถ่ายจากกล้องดิจิทัล กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบจำลอง ภาพสแกนจากภาพวาด ไดอะแกรม หรือ ภาพที่ผลิตจากคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

รางวัลการประกวด

ประเภทผลงานยอดเยี่ยม
รางวัลชนะเลิศ 10,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับหนึ่ง 8,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับสอง 6,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
รางวัลชมเชย (ถ้ามี) 2,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร

ประเภทผลงานยอดนิยม
รางวัลชนะเลิศ 3,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับหนึ่ง 2,500 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับสอง 2,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
กองสื่อสารวิทยาศาสตร์ ศูนย์พัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ คลองห้า ปทุมธานี
โทร. 02-577-9999 ต่อ 1472 หรือ www.nsm.or.th หรือ เฟซบุ๊ก  NSMthailand หรือ อีเมล nsmphotocontest@nsm.or.th

ระยะเวลาการส่งผลงาน ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 31 มี.ค. 2566 (เวลา 23.59 น.)

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม  https://bit.ly/3kBvPCK

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3kBvPCK

RANDOM

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!