วิศวะ จุฬาฯ ร่วมกับ กสทช. สาธิตการทำงาน โครงการทดลองการสื่อสารด้วยระบบ 5G สำหรับรถไร้คนขับ

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

เมื่อวันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ห้องประชุมสายลม สำนักงาน กสทช. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) จัดแสดงการสาธิตการทำงาน โครงการ “การทดลองการสื่อสารด้วยระบบ 5G สำหรับรถไร้คนขับ” (Demo Day) เพื่อทดสอบรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ในระดับที่ 3 (Autonomous shuttle – Level 3) การสื่อสารข้อมูลระหว่างรถอัตโนมัติกับระบบต่าง ๆ ภายใต้โครงข่ายการสื่อสาร 5G C-V2X และ การทดสอบประสิทธิภาพ (Connectivity) การวิเคราะข้อมูลด้วย AI (Use Cases) หรือ การใช้งานเพื่อเก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้โดยสารและผู้ขับขี่ โดยมี คุณสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน

คุณสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีเซนเซอร์ต่าง ๆ ได้เข้ามามีบทบาทและจุดประกายสร้างการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยอย่างมาก สำนักงาน กสทช. ได้จัดตั้ง กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) สนับสนุนงบประมาณสำหรับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการดำเนินงานวิจัยโมเดลนำร่อง “รถยนต์ไร้คนขับ” ส่งเสริมอุตสาหกรรมการคมนาคม และการส่งออกรถยนต์ในอนาคต หากประเทศไทยมีความพร้อมในด้านเทคโนโลยี ก็จะดึงศักยภาพให้ผู้ผลิตรถยนต์แบรนด์ใหญ่ของโลกให้ความสนใจเข้ามาลงทุนมากขึ้น และต้องมีการร่วมมือจากหลากหลายหน่วยงานเข้ามาบูรณาการในการผลักดันแม่บทการคมนาคมโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร 5G ให้ครอบคลุมสูงสุดในทุกมิติ

ด้าน รศ.ดร.สรวิศ นฤปิติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ในฐานะหัวหน้าโครงการ และคณะ ร่วมบรรยายผลงานในโครงการตามส่วนพื้นที่การจัดแสดงการสาธิต ดังนี้

ฐานที่ 1 ทดลองนั่งรถอัตโนมัติในระดับที่ 3 เพื่อทดสอบระบบตรวจสภาพแวดล้อมผ่านระบบเซนเซอร์ การระบุตำแหน่งตัวรถผ่านแผนที่ความละเอียดสูง การทดสอบระบบประมวลสภาพแวดล้อมรอบรถ ระบบการระบุตำแหน่ง ระบบวางแผนการวิ่ง และการตัดสินใจของตัวรถยนต์ (High Level Control System) และการทดสอบระบบการควบคุมการขับขี่ และการเคลื่อนที่ของรถ (Low Level Control System) ซึ่งเป็นการจำลองการใช้บริการขนส่งสาธารณะโดยรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับ เพื่อให้เห็นวิธีการทำงานของรถอัตโนมัติ

ฐานที่ 2 เทคโนโลยีการสื่อสารระบบ 5G ที่สามารถตอบสนองความต้องการในการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก ด้วยอัตราเร็วสูงโดยมีความหน่วงเวลาต่ำ รวมถึงเชื่อมต่อได้อย่างรวดเร็วและเสถียร โดยใช้อุปกรณ์ลูกข่ายจำนวนมาก เพื่ออธิบายถึงภาพรวมของการทดสอบระบบสื่อสารของรถบนโครงข่าย 5G ผ่านเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ มีการรับส่งข้อมูลระหว่างระบบสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เรียกว่า C-V2X (Cellular-Vehicle-to-Everything) โดยอาศัยโครงข่ายสื่อสารเป็นตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลระหว่างรถไร้คนขับแต่ละคัน เพื่อสร้างการรับรู้ต่อเหตุการณ์ที่เกิดนอกระยะสายตาของรถไร้คนขับคันอื่น เพื่อเฝ้าระวังอุบัติเหตุจากการชน รวมทั้งแสดงผลการทดสอบในโครงการ และแนวทางการประยุกต์ใช้งานจริงในอนาคต

ฐานที่ 3 Operation Dashboard เป็นฐานแสดงข้อมูลของรถที่วิ่งแบบเรียลไทม์ โดยแสดงสถานะของรถ เช่น ตำแหน่ง ความเร็ว เปอร์เซ็นต์แบตเตอรี่ โหมดการขับขี่ ภาพวิดิโอจากกล้องด้านหน้าและหลังของรถ และข้อมูลพอยท์คลาวด์จาก LiDAR เพื่อใช้ในการนำทาง การเตือนภัยผู้ขับขี่ ร่วมทั้งสร้างสุนทรียะให้กับผู้ขับขี่และผู้โดยสารผ่านระบบการควบคุม

ฐานที่ 4 Use Cases แสดงกรณีศึกษาต่าง ๆ ในรถขับขี่อัตโนมัติที่ใช้สถาปัตยกรรม Vehicular-Edge-Cloud Computing และประยุกต์ใช้ ML และ AI ในการประมวลผลข้อมูล อาทิ การตรวจจับอาการง่วงนอนของผู้ขับขี่ โดยการจับสัญญาณลักษณะดวงตา (Driver Drowsiness Detection) ระบบนับจำนวนผู้โดยสารที่ผ่านเข้าออกอัตโนมัติ (Passenger Counting System) การแจ้งเตือนอุบัติเหตุ (Accident Notification) การทำ VDO Streaming จากกล้องทั้งหมด 12 ตัว ภายในรถทั้ง 3 คันแบบเรียลไทม์ เว็บแอปพลิเคชันการจัดการ และแดชบอร์ดสําหรับสังเกตการณ์แบบเรียลไทม์

รศ.ดร.สรวิศ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวต่อว่า การพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้ เป็นเรื่องที่ใหม่มากในประเทศไทย และต้องใช้ระยะเวลาวิจัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสร้างแพลตฟอร์มที่ต้องประยุกค์ใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ ซึ่งมีการแบ่งการทำงานเป็น 3 ส่วน คือ ตัวรถยนต์อัตโนมัติให้ได้ระดับที่ 3 และ การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารระบบ 5G เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการขนส่งที่ในไทยยังมีการใช้งานในด้านนี้ไม่มากนัก โดยจะมีการนำกรณีศึกษาในการใช้งานต่าง ๆ ต่อยอดไปสู่การใช้งานจริงในหลากหลายรูปแบบการคมนาคมต่อไป

RANDOM

สำนักเลขาธิการวุฒิสภา เชิญชวนน้อง ๆ นักเรียนร่วม ‘แข่งขันตอบปัญหาเชิงวิชาการเกี่ยวกับวุฒิสภาและการเมืองการปกครองของไทย สำหรับเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ เทียบเท่า ประจำปี 2567’ ชิงเงินรางวัลรวม 290,000 บาท เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 24 พฤษภาคม

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!