นักศึกษา มทร.ธัญบุรี โชว์กึ๋น ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี LoRa ร่วมกับเซ็นเซอร์ สร้างนวัตกรรมสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงวัว

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นำเทคโนโลยี LoRa มาประยุกต์ใช้ร่วมกับเซ็นเซอร์ บันทึกค่าผ่าน google sheet  โดยนวัตกรรมชิ้นแรก ได้แก่ ปลอกคอวัวสำหรับตรวจหาสัญญาณการติดสัดของวัว COW COLLAR FOR SIGNS DETECTION OF COWS IN HEAT ผลงานของ นายจิรพงษ์ วิทยา และ นายธณาวุฒิ อุตอามาต และนวัตกรรมชิ้นที่สอง ได้แก่ ปลอกคอวัวอัจฉริยะสำหรับเก็บค่าก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ SMART COW COLLAR FOR COLLECTING METHANE AND CABORN DIOXIDE ผลงานของ นายชินภัทร ชนะบุญ และ นายภาณุวัฒน์ บุญมาแลบ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญฤทธิ์ คุ้มเขต เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

นายจิรพงษ์ วิทยา ตัวแทนเจ้าของผลงาน ปลอกคอวัวสำหรับตรวจหาสัญญาณการติดสัดของวัว เล่าว่า ได้นำเทคโนโลยี LoRa มาประยุกต์ใช้ร่วมกับเซนเซอร์ไจโรสโคปและโมดูลเสียง ออกแบบให้มีลักษณะเป็นปลอกคอสามารถปรับระดับสายได้ เพื่อตรวจค่าความเร็วเชิงมุมและจำนวนครั้งในการร้องของวัว จะได้ทราบอาการติดสัดของวัว ปลอกคอวัวดังกล่าวสามารถตรวจหาสัญญาณการติดสัดของวัว โดยการวัดค่าความเร็วเชิงมุมได้ทั้ง 3 แกน และสามารถวัดเสียงร้องของวัวได้ใกล้เคียงกับเครื่องมือที่ใช้วัดเทียบ การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายลอร่าจะมีประสิทธิภาพในการส่งสูงถึง 100% ประสิทธิภาพในการส่งจะลดลงขึ้นอยู่กับระยะการส่งที่ไกลมากขึ้น ปลอกคอวัวสำหรับตรวจหาสัญญาณการติดสัดของวัวสามารถเก็บข้อมูลลงบน Google sheet ได้

ด้าน นายชินภัทร ชนะบุญ ตัวแทนผลงานปลอกคอวัวอัจฉริยะสำหรับเก็บค่าก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ เล่าต่อว่า ปลอกคอวัวอัจฉริยะสำหรับเก็บค่าก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นการนำเทคโนโลยี LoRa มาประยุกต์ใช้ร่วมกับเซ็นเซอร์วัดก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการวัดค่าก๊าซและบันทึกผลเพื่อนำไปใช้ร่วมกับระบบสมาทฟาร์ม การตรวจวัดก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ที่ออกจากวัว จะถูกนำไปใช้ปรับปรุงอาหารที่จะให้กับวัวต่อไป ทั้งนี้ นวัตกรรมทั้งสองชิ้นเป็นต้นแบบที่สามารถนำไปต่อยอด และพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้ง อำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวในอนาคต

RANDOM

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!