กกพ. แจงการคำนวณค่าไฟงวด พ.ค. – ส.ค. 66 คาดอนาคตค่าไฟฟ้าจะทยอยปรับลดลง ตามราคาเชื้อเพลิงที่ลดลงในอนาคต

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

ประเด็นร้อนแรงในช่วงนี้ คงจะหนีไม่พ้นเรื่องค่าไฟแพง กกพ. เผยรายละเอียดการคำนวณค่าไฟงวด พ.ค – ส.ค 66 ชี้อนาคตค่าไฟฟ้าจะทยอยปรับลดลง

สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ สำนักงาน กกพ. เผยรายละเอียดการคำนวณค่าไฟฟ้างวด พ.ค. – ส.ค. 66 ทั้งบ้านอยู่อาศัย และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ โดยคิดค่า Ft ในอัตราเดียวกัน ที่ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.77 บาทต่อหน่วย

สาเหตุหลักของค่าไฟฟ้าแพง เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงที่สูง และปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยลดลงมาก ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงต้นทุนต่ำที่เคยใช้ผลิตไฟฟ้า ทำให้ต้องนำเข้า LNG มาทดแทน ซึ่ง LNG มีราคาแพง เป็นผลจากสถานการณ์รัสเซีย – ยูเครน และตรงกับช่วงที่มีความต้องการ LNG มากในฤดูหนาวของทางยุโรป อีกทั้งข้อจำกัดของระบบเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่พึ่งพาก๊าซเป็นหลัก แม้ในช่วงน้ำมันราคาถูกกว่า ก็ยังไม่สามารถใช้น้ำมันผลิตไฟฟ้าแทน LNG ได้ทันที

โครงสร้างต้นทุนค่าไฟฟ้างวด พ.ค. – ส.ค. 66 นั้น ค่า Ft จะอยู่ที่ 4.77 บาทต่อหน่วย มีส่วนประกอบจาก 6 ส่วน โดยเรียงจากต้นทุนแพงที่สุดไปต้นทุนถูกที่สุด ดังนี้
1. ค่าเชื้อเพลิงทุกประเภทเฉลี่ย 2.74 บาทต่อหน่วย
2. ค่าโรงไฟฟ้าเพื่อรักษาความมั่นคงของระบบ 76 สตางค์ต่อหน่วย
3. ค่าต้นทุนระบบจำหน่าย 51 สตางค์ต่อหน่วย
4. ค่าภาระหนี้เชื้อเพลิงการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 35 สตางค์ต่อหน่วย
5. ค่าต้นทุนระบบส่ง 24 สตางค์ต่อหน่วย และ
6. ค่าใช้จ่ายตามนโยบายภาครัฐ เช่น Adder ค่าไฟฟรีสำหรับผู้มีรายได้น้อย ประมาณ 16 สตางค์ต่อหน่วย

อย่างไรก็ตาม แม้ราคาต้นทุนพลังงานมีการปรับตัวลดลง แต่ยังคงต้องใช้เกณฑ์การคำนวณ ค่า Ft ที่ใช้สมมติฐานตัวเลขต้นทุนในปีก่อนหน้า (ปี 65) ซึ่งเป็นการประมาณการต้นทุนในงวดถัดไป

ที่ผ่านมา กกพ. ใช้สมมติฐานค่าเชื้อเพลิงต่ำมาตลอด ทำให้ภาระหนี้เชื้อเพลิงเพิ่มมากขึ้น เมื่อราคาเชื้อเพลิงที่แท้จริงลดลง ส่วนต่างที่เกิดขึ้นก็จะถูกนำไปหักลบกลบหนี้ในการประกาศค่า Ft และ ค่าไฟฟ้าในงวดต่อไป ดังนั้น ค่าไฟฟ้าจะทยอยปรับลดลง ตามราคาเชื้อเพลิงที่ลดลงในอนาคต

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3KWaRrf

RANDOM

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!