ม.รังสิต ปักธง 5 ปี ชู “นวัตกรรม” อัปเกรดองค์กรครอบคลุมทุกมิติ ปูทางมหาวิทยาลัย 24 ชั่วโมง พร้อมก้าวสู่ Hub ใหม่ของการศึกษาในอนาคต

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

มหาวิทยาลัยรังสิต ปักหมุดยุทธศาสตร์ 5 ปี ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย วางเป้าหมายมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ เน้นให้ความสำคัญกับความต้องการของนักศึกษา เปิดพื้นที่สนับสนุนการเรียนรู้ เป็นมหาวิทยาลัย 24 ชั่วโมง โดยพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของ Digital Transformation ที่ครอบคลุมทุกหลักสูตร เพื่อเพิ่มความหลากหลายในวิชาชีพ พร้อมก้าวสู่ Hub ใหม่ของการศึกษาในอนาคต

ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ประเด็นสำคัญที่ใช้ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้แข็งแกร่ง คือ “นวัตกรรม” เรามองว่า นวัตกรรม เป็นธงหลักในการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถสูง นอกจากงานวิจัยแล้ว มหาวิทยาลัยต้องสร้างนวัตกรรมที่องค์กรและสังคมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ให้ความสำคัญกับความต้องการการเรียนรู้ของนักศึกษาทุกด้านกับการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ได้วางทิศทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยรังสิต 5 ปี หลังจากนี้ ให้มีความพร้อมในทุกด้าน ได้แก่ 1. สร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิต 2. สร้างความเป็นเลิศทางวิจัย งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรม 3. สร้างความเป็นเลิศด้านการบริการวิชาการและการฝึกอบรม 4. ชี้นําการรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม และ 5. บริหารจัดการให้เป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศ และองค์กรแห่งความสุข ซึ่งทุกหน่วยงานภายในองค์กรร่วมกันขับเคลื่อนทั้งคุณภาพการศึกษา และความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ตามแนวทางที่เราวางไว้คือ “ดีมาก-หลากหลาย-24 ชั่วโมง”

ด้าน ผศ.ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ รองอธิการบดีฝ่ายแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยหลักที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใน 5 ปี ข้างหน้า คือ เรื่องความคาดหวังสมรรถนะใหม่ในด้านอาชีพ ความต้องการกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของ Digital Transformation ที่ครอบคลุมทุกหลักสูตร และนักศึกษาต้องการหลักสูตรและการเรียนรู้ที่เพิ่มความหลากหลายในวิชาชีพ ซึ่งมหาวิทยาลัยรังสิตเองได้มีการปรับตัวในเรื่องหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีความหลากหลายมากขึ้น นักศึกษาไม่ได้เรียนเพียงแค่ทฤษฎี แต่สามารถลงมือปฏิบัติได้จริง เพื่อเตรียมพร้อมสู่โลกของการทำงานได้อย่างมืออาชีพ ตามแบบฉบับ Practical University รวมทั้งเรื่องของรูปแบบการบริหารจัดการองค์กร ก็ต้องเป็น Smart Organization เพื่อขับเคลื่อนไปพร้อมกัน และสิ่งที่เราให้ความสำคัญ คือ นักศึกษา โดยเปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ในเรื่องของความเป็นนานาชาติ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรังสิตมีกลุ่มนักศึกษาต่างประเทศมาเรียนเพิ่มมากขึ้นทุกปี อยู่ในเทรนด์ที่ว่า ประเทศไทย จะเป็น Hub ใหม่ของการศึกษาในอนาคต

ขณะที่ รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวต่อว่า เมื่อเราเปิดพื้นที่การเรียนรู้ เป็นมหาวิทยาลัย 24 ชั่วโมง เรื่องของความปลอดภัยของนักศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญ และเพื่อให้นักศึกษา บุคลากร รวมทั้งผู้ปกครองรู้สึกอุ่นใจถึงความปลอดภัยตลอดเวลาที่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิตได้จัดตั้ง สำนักงานตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต (ตร.ม.) ขึ้นซึ่งเป็นที่แรกในประเทศไทย เพื่อดูแลป้องกันการก่อเหตุอาชญากรรมในพื้นที่โดยรอบสถานศึกษา โดยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำงานร่วมกัน ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิตจะได้รับการฝึกอบรม ฝึกฝนมาโดยเฉพาะเพื่อปฏิบัติงานด้านการดูแลความปลอดภัย ทั้งยังมีเรื่องของระบบการเฝ้าระวัง ระบบการตรวจตราความเรียบร้อยในพื้นที่โดยรอบ และการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการช่วยกำกับดูแล เฝ้าระวังด้วย ซึ่งหากเกิดเหตุด่วนนักศึกษาสามารถแจ้งได้ตลอด 24 ชั่วโมง เรียกว่า นักศึกษา หรือ ผู้ปกครองที่เข้ามาต้องรู้สึกอุ่นใจ ปลอดภัย เมื่ออยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย

ทางด้าน ผศ.ดร.ปถมาพร สุกปลั่ง รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวเสริมว่า จากความเข้มแข็งทางวิชาการ และการที่มหาวิทยาลัยรังสิตมีหลักสูตรการเรียนการสอนที่หลากหลาย ทำให้ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยรังสิตสามารถครองพื้นที่ในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม ซึ่งแต่ละหลักสูตรที่เปิดสอนมีผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่โดดเด่น และเป็นที่ยอมรับมากมาย อาทิ ความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กัญชาเพื่อการแพทย์ ของ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดแบบไม่ต้องเจาะเลือดชนิดพกพา ผิวหนังเทียมที่ทำจากเจลาตินด้วยเทคนิคการพิมพ์ชีวภาพสามมิติสำหรับการรักษาแผล เป็นการเรียนที่ตอบโจทย์อนาคต เรียนสถาปัตย์ ม.รังสิต ปี 1 ออกแบบบ้านได้ เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้เป็นการปรับรูปแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเทรนด์การศึกษาในปัจจุบัน โดยที่มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่อยากเรียนได้ เรียนหมอแต่อยากเรียนดนตรีควบคู่ไปด้วยก็ได้ เรียนวิศวะแต่อยากทำสื่อเป็น ก็สามารถเลือกเรียนนิเทศศาสตร์เป็นวิชาโทได้ เรียกว่า เป็นการผสมผสานหลายวิชาแบบองค์รวม ก้าวข้ามข้อจำกัดทางการศึกษา เป็นการเติมเต็มการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ที่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ เพราะที่นี่อนาคตออกแบบได้

ปิดท้ายที่ ผศ.ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวต่อว่า จากงานวิจัยสู่วิจัยเพื่อชุมชม สังคมแห่งการแบ่งปัน เพื่อสร้างเศรษฐกิจเกื้อกูล ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี (อบจ.ปทุมธานี) เป็นหุ้นส่วนสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อสร้างสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี โดยได้จัดตั้ง ศูนย์พัฒนาหลักหก (LakHok Development Center : LHDC) ขึ้น เพื่อพัฒนากลไกการดำเนินงานร่วมทุนที่ยั่งยืน เกิดเป็นแหล่งทุนระยะยาวสำหรับการดำเนินงานสร้างสุขภาวะของประชาชนจังหวัดปทุมธานี สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของบุคคล กลุ่มบุคคล ชุมชน หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะ รายได้ สิ่งแวดล้อม และสังคมของจังหวัดปทุมธานี สู่พื้นที่สุขภาวะที่ดีและยั่งยืน นอกจากนี้ สสส. ยังได้มุ่งสรรหาและจัดสรรงบประมาณเพื่อการสร้างอาชีพและรายได้แนวใหม่ ตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากเพื่อสร้างสุขภาวะให้กับนักศึกษาที่กำลังจะจบ ติดอาวุธให้นักศึกษาสามารถหารายได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาระบบการสมัครงาน

RANDOM

สำนักงานประกันสังคม จัดประกวดคลิปสั้นประกันสังคม ในหัวข้อ “จ่ายประกันสังคม ผู้ประกันตนได้อะไร” และ หัวข้อ “อาชีพอิสระอุ่นใจ ให้ประกันสังคมมาตรา 40 ดูแล” ชิงทุนการศึกษารวม 230,000 บาท สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 31 ก.ค. 67

ธนาคารยูโอบี เดินหน้าจัดประกวดจิตรกรรมยูโอบี ประจำปี 2567 ชิงเงินรางวัลรวม 1,760,000 บาท พร้อมโอกาสได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการศิลปินในพำนัก เปิดรับผลงาน ตั้งแต่บัดนี้ – 31 กรกฎาคม 2567

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!