อาชีวะ เร่งยกระดับการศึกษาพิเศษ มุ่งดูแลส่งต่อผู้เรียนพิการสู่การมีงานทำ โดยมีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการ 54 แห่ง ดำเนินการแล้ว จำนวน 50 อาชีพ

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเทคนิคการดูแลและการส่งต่อผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ภายใต้ โครงการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ ตามนโยบายของ สอศ. ในการเปิดโอกาส สร้างความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีองค์ความรู้เรื่องการจัดการศึกษาพิเศษ สำหรับผู้เรียนพิการอาชีวศึกษา และร่วมจัดทำแผนการดำเนินงานส่งต่อผู้เรียนพิการเข้าสู่การมีงานทำ โดยมีหลักสูตรการปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน และการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางการมองเห็น , ทางการได้ยิน , ทางการเคลื่อนไหว หรือ ทางร่างกาย หลักสูตรวัฒนธรรมของคนหูหนวก , เทคนิคการใช้ภาษามือไทยขั้นพื้นฐานเพื่อการสื่อสารในชั้นเรียน , เทคนิคการสร้างสื่อการเรียนการสอนและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีช่วยจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนพิการ และการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลเพื่อการมีงานทำ และการปรับหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนผู้มีความต้องการพิเศษ

รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวต่อว่า ตนคาดหวังว่า การสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จะเป็นพื้นที่แห่งโอกาสในการระดมความคิดจากผู้บริหาร ครู และบุคลากรผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันวิเคราะห์หาแนวทางการดำเนินงานการเข้าถึงและการขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อคนพิการ ช่วยยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา ต้องนำองค์ความรู้ ไปพัฒนาอาชีพระยะสั้น (Up Skill, Re Skill) ให้กับผู้เรียนและประชาชนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ในสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ 54 แห่ง โดย สอศ. ได้ดำเนินการแล้ว จำนวน 50 อาชีพ อาทิ อาชีพไพ่ยิปซี สำหรับคนพิการทางการเห็น , อาชีพการนวดฝ่าเท้า สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน และ อาชีพการทำกระเป๋าหนัง สำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว โดยมีการจัดตั้งศูนย์ฯ ทั่วประเทศ เพื่อร่วมกันผลักดัน พลิกโฉม หาเทคนิค วิธีการจัดการเรียนการสอน การดูแลผู้เรียนพิการ และการสร้างสื่อการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะทักษะอาชีพ เพื่อเป็นผู้ประกอบการ และนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการจัดทำแผนการดำเนินงาน การจัดอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ เพื่อส่งต่อผู้เรียนพิการสู่การมีงานทำ สู่เป้าหมายในการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง เพื่อการพัฒนาประเทศ ต่อไป

ทั้งนี้ มีผู้เรียนและประชาชนที่ได้รับการพัฒนาแล้ว จากสถานศึกษาในโครงการ 34 แห่ง จำนวน 800 คน ได้แก่ ผู้บกพร่องทางการได้ยิน 350 คน ผู้บกพร่องทางการเคลื่อนไหว 250 คน ผู้บกพร่องทางสติปัญญา 50 คน ผู้บกพร่องทางออทิสติก 50 คน และ ผู้ดูแลคนพิการ 100 คน โดยมี ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วม จำนวน 83 คน ระหว่างวันที่ 26 – 30 เมษายน 2566 ซึ่งจัดโดย ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา (ศพอ.)

RANDOM

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน นนทบุรี เปิดฝึกอบรมฟรี หลักสูตร การสร้างโอกาสและสร้างรายได้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาอาชีพสู่สังคมดิจิทัล ผู้สนใจสมัครได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 7 มี.ค.

สนามฝรั่ง “ราชกรีฑาสโมสร” ระเบิดศึกใหญ่แข่งม้าเที่ยวชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “คิงส์คัพ” ครั้งที่ 64 เป็นการคัมแบ๊กจัดชิงชัยครั้งแรกในรอบ 9 ปี ในวันอาทิตย์ที่ 10 ธ.ค.66 นี้

NEWS

มูลนิธิเอสซีจี จับมือ อินสครู จัดงาน “insKru Festival 2025 มหกรรมไอเดียการสอน ตอน Keep ครู Stay ครู เป็นตัวเองในวันที่ฉันเป็นครู” เปิดโลกกว้างให้คุณครู ได้เรียนรู้และเข้าใจทักษะอาชีพใหม่ ๆ ในโลกปัจจุบัน

สมาคมบริดจ์ไทย จัดศึกใหญ่เยาวชนชิงแชมป์เอเชียและแปซิฟิก 2025 ที่อยุธยา ระหว่าง 1-6 พ.ค.นี้ “ชยวัฒน์ พิเศษสิทธิ์” นายกกีฬาบริดจ์ไทย ตัดพ้อ ไร้การเหลียวแลจาก “กองทุนกีฬา+กกท.” เผย ทั้งที่สร้างผลงานมากมาย แต่ไม่เคยได้รับการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐเลย

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!