ม.เกษตร จับมือ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย สานต่อความร่วมมือทวิภาคี เสริมแกร่งอุตสาหกรรมพาณิชย์นาวีอย่างยั่งยืน

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย หรือ HPT ผู้ประกอบการท่าเรือชั้นนำในประเทศไทย และ คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อสานต่อความร่วมมือแบบทวิภาคี ด้านวิชาการและกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจขนส่งทางทะเลอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือในครั้งนี้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องโดยการสนับสนุนจาก ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ในการเตรียมความพร้อมให้บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือในอนาคต ผ่านโครงการฝึกงานให้กับนักศึกษาในหลักสูตร ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวทั้งสองหน่วยงานยังพร้อมที่จะสานต่อในกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสรรค์ชุมชนแห่งความความยั่งยืนในท้องถิ่น

ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Sustainable Future Program” ของ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ที่มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน อันสอดคล้องกับพันธกิจของกลุ่มบริษัทฮัทชิสันทั่วโลก ที่ให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนที่เป็นการพัฒนาแบบบูรณาการในสามด้าน คือ บุคลากร ชุมชน และ สิ่งแวดล้อม ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในครั้งนี้ นอกจากเพื่อพัฒนาบุคลากรและชุมชนแล้ว ยังรวมถึงการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน และโอกาสทางสายงานในอนาคตแก่นักศึกษาของคณะฯ เพื่อเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ และปลูกฝังแนวทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนเข้าไว้ในกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

มร. สตีเฟ้นท์ อาร์ชเวิรท กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทย และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า เรามีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ชกับ คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเรายินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่จะได้ช่วยกันสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมโครงการด้านความยั่งยืนในชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น หรือ การสร้างความมั่นใจให้แก่แรงงาน และผู้นำของธุรกิจขนส่งทางทะเลในอนาคต ได้มีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า การทำงานในอุตสาหกรรมการขนส่งและบริการท่าเทียบเรือเป็นเช่นไร และให้ได้เข้าใจว่า เหตุใดเรื่องความยั่งยืนจึงสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจในอนาคต เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เรามุ่นมั่นจะดำเนินต่อไปในอีกสามปีข้างหน้า ภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้

ด้าน ผศ.ดร.ศรินยา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา คณบดีคณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา กล่าวเพิ่มเติมว่า การได้มาซึ่งข้อมูลอันเป็นประโยชน์ และประสบการณ์จากการเรียนรู้ด้วยตนเอง นับเป็นสิ่งที่มีค่าแก่นักศึกษาของเรา เป็นใบเบิกทางที่ดีสู่อาชีพในอนาคตให้แก่พวกเขา ความร่วมมือกับ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย นับเป็นส่วนเติมเต็มที่ทรงคุณค่าในหลักสูตรของเรา และการสานต่อความร่วมมือนี้ จะเพิ่มโอกาสให้เราได้ร่วมกันเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาเรื่องการทำงานจากสถานการณ์จริง รวมถึงการแบ่งปันผลงานวิจัยและข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจให้แก่ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย อีกด้วย

ที่ผ่านมา ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย และ คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ร่วมมือกันใน โครงการ GO GREEN ดำเนินกิจกรรมปลูกต้นไม้ในพื้นที่รอบบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง และกิจกรรมการรีไซเคิลเพื่อคืนชีวิตให้แก่ขยะและวัสดุเหลือใช้

การสานต่อความเป็นพันธมิตรในครั้งนี้ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย จะสนับสนุนในด้านการออกแบบเนื้อหาในการเรียนการสอน โอกาสฝึกงาน และการศึกษาดูงานให้แก่นักศึกษาของคณะฯ รวมถึงให้ความร่วมมือในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจการท่าเรือ ไม่เพียงเท่านั้น มร.สตีเฟ้นท์ อาร์ชเวิรท กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทย และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังร่วมเป็นวิทยากรพิเศษบรรยายให้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจขนส่งทางทะเลเพื่อความยั่งยืนอีกด้วย

RANDOM

ม.เกษตรฯ ผนึก ซีโอฮุน และ เชฟรอน จับมือ 10 โรงเรียนมัธยมแกนนำ เดินหน้าขยายแนวคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว” สร้างองค์ความรู้รับมือโรคระบาด ตั้งเป้าขยายหลักสูตรไปยังโรงเรียนทั่วประเทศ

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!