ตอนที่ 26 : จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบเก้า : หนังสืออุดมการณ์โอลิมปิกของคูเบอร์แต็ง : แปลโดย : ดร.นิพัทธ์ อึ้งปกรณ์แก้ว

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

จดหมายโอลิมปิก ฉบับที่สิบเก้า: ความรื่นรมย์ทางกีฬา

            จดหมายฉบับนี้ คูเบอร์แต็งกล่าวถึงการอภิปรายเกี่ยวกับจิตวิทยาการกีฬาที่สภาโอลิมปิก 1913 ในเมืองโลซานน์ โดยจะต้องจับคู่ “ความรื่นรมย์ทางกีฬา” กับสัญชาติญาณกีฬาซึ่งท่านอธิบายไว้ในหนังสือตนเองคือ La gymnastique utilitaire (Useful lifetime sports) เท่านั้น จึงจะทำให้การกีฬารักษาคุณลักษณะของตนเองไว้ได้

            ในหลายวันนี้ บางท่านอาจประหลาดใจที่ข้าพเจ้าได้กล่าวในสองครั้งเกี่ยวกับคุณลักษณะความน่าปรารถนาของสัญชาติญาณกีฬา แต่ก็เป็นคำที่ถูกต้อง การออกกำลังกายจะไม่ใช่การกีฬาหากไร้ซึ่งความน่าปรารถนา อย่างไรก็ตาม ขอให้ท่านลองทำให้สักคนที่ไม่เคยประสบถึงความเข้มข้นของความสุขทางกายให้เกิดความเข้าใจในสิ่งนี้ และไม่ใช่ทุกคนที่จะมีประสบการณ์ต่อสิ่งนี้ด้วยเช่นกัน หลายคนที่เกือบพลาดโอกาสเริ่มต้นในเวลาอันควร แต่อีกหลายคนยังคงต่อต้านความเบิกบานนั้น ประเด็นของ “ความรื่นรมย์ทางกีฬา” ได้รับการอภิปรายก่อนหน้าที่สภาโอลิมปิก 1913 ในเมืองโลซานน์  ข้าพเจ้าจำถึงสิ่งหนึ่ง ที่ครูยิมนาสติกฝรั่งเศสที่มีการศึกษา และชื่อเสียงมากที่สุดท่านหนึ่งคือ พอล คริสต์มานน์ ได้นำการเน้นย้ำความเชื่อจากประสบการณ์ยาวนาน ต่อแนวคิดที่พวกเราทั้งหลายต่างสนับสนุนโดยท่านกล่าวว่า “ร่างกายจำเป็นต้องมียาขนานหนึ่งของความรื่นรมย์และความรื่นรมย์ไม่ใช่สุขภาวะ แต่เป็นความรื่นรมย์ทางกายที่เข้มข้น ในวันนี้ การกีฬามอบความรื่นรมย์ เช่น ความรื่นรมย์ทางกายที่เข้มข้น สิ่งนี้คือเหตุผลที่เด็กหนุ่มเมื่อให้เลือกระหว่างความรื่นรมย์ที่จะทำให้ตนตกต่ำลงกับความรื่นรมย์ที่จะยกตนให้สูงขึ้น จะชื่นชอบความรื่นรมย์อย่างหลังมากกว่าอย่างแรก ดังนั้น ความมัวเมาของกล้ามเนื้อสร้างความสงบแก่ประสาทไม่เพียงผ่านความเหนื่อยล้า แต่รวมถึงความพึงพอใจด้วย ความรื่นรมย์ไม่เพียงสร้างสมดุลย์แต่มอบความสุข และความพึงพอใจเช่นกัน” ครูผู้สอนที่ “ไม่เหมือนเด็ก” ย่อมไม่สามารถเข้าใจความคิดนี้ แต่คนที่ต้องการจะหาผู้อื่นมาแทนที่ครูท่านนี้กลับมีแนวโน้มที่จะยอมรับมากกว่า

            ความรื่นรมย์นี้คือหนึ่งในมิติที่การกีฬามีความเป็นหนึ่งเดียวใกล้ชิดกับจริยธรรม เป็นความจริง! การกีฬาสัมพันธ์กับทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นจริยธรรม ศิลปะ องค์กรสังคม…ท่านยังไม่ได้ยินสิ่งสุดท้ายของการกล่าวอ้างนี้ ในวันหนึ่ง ข้าพเจ้าจะสานต่อแนวคิดที่ มาร์เซล เปลวอสต์ ได้พัฒนาที่สภาโอลิมปิก 1905 ในกรุงบรัสเซลส์ และจะอธิบายให้ท่านถึงความสัมพันธ์ แม้แต่วรรณกรรม ดานนันซิโอ จะไม่ปฏิเสธข้าพเจ้า  

RANDOM

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!