ชาวกีฬาอาชีพ ฝากถึงรัฐมนตรีกีฬาคนใหม่ ที่จะเป็นผู้นำกีฬาอาชีพของไทย เผื่อจะเป็นประโยชน์ได้บ้าง ในการช่วยดูแล อย่างเท่าเทียม หรือ เหมาะสม

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

     เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าเขียนถึง

     โดยผู้สื่อข่าวได้รับการแจ้ง เป็นเอกสาร แสดงความคิดเห็นที่ฝากถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ‘สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล’ ซึ่งอยู่ในฐานะประธานกรรมการกีฬาอาชีพคนใหม่ โดยตำแหน่ง ในปัจจุบันนี้ โดยเนื้อหา อาจจะเป็นประโยชน์ต่ออดีตและแนวทางในการพิจารณาในอนาคต ของคณะกรรมการกีฬาอาชีพ

     ซึ่งเอกสารนั้นได้สรุปถึงการให้ความสำคัญ ในการพิจารณาสนับสนุนและส่งเสริม กลุ่มกีฬาอาชีพในประเทศไทย โดยคณะกรรมการกีฬาอาชีพในแต่ละปี ซึ่งได้เงินจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เพื่อนำมาแบ่งปันบุคลากรกีฬาที่ข้องในกีฬาอาชีพนั้น ไม่เท่าเทียมหรือไม่เหมาะสม ที่เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขในยุครัฐบาลใหม่ ในการดูแลกีฬาอาชีพในประเทศไทย

     ที่ระบุว่า วงเงินงบประมาณของกีฬาอาชีพทุก ๆ ปี มักจะไปกองอยู่ที่บางกลุ่มชนิดกีฬา และบางกลุ่มที่เป็นบุคลากรกีฬาอาชีพเท่านั้น และ บางส่วนในมุมมองนั้นการเขียนโครงการที่ของบสนับสนุน ก็เขียนมีเป้าหมายที่ดี แต่เมื่อมีการดำเนินการแล้วกลับไม่เป็นไปตามที่ได้มีการระบุไว้ แต่ก็ได้รับการปล่อยไปจากกลุ่มที่มีการประเมินผลของโครงการนั้น ๆ โดยเฉพาะการสนับสนุนผู้จัดการแข่งขันกีฬาอาชีพ ที่มีสัดส่วนงบประมาณจากทั้งหมดที่ได้รับจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ มากถึง ร้อยละ 80-90 ของงบประมาณทั้งหมด ขณะที่ เรื่องอื่น ๆ เช่นการอุดหนุนองค์กรและสโมสรกีฬาอาชีพ การพัฒนานักกีฬาและบุคลากรกีฬาอาชีพ เป็นวงเงินที่สัดส่วนน้อยมาก

     ผู้แจ้งยังได้ ชี้ให้มองถึงเรื่องเฉพาะที่สนับสนุนผู้จัดการแข่งขันกีฬาอาชีพ ที่เป็นสัดส่วนจำนวนมาก และ ในสัดส่วนจำนวนมากที่ได้นี้กลับมีการให้ผู้จัดแข่งขันแต่ละชนิดกีฬาที่เป็นกีฬาอาชีพด้วยกันแตกต่างกันอย่างมาก ทั้งที่เป้าหมายของ “การส่งเสริมกีฬาอาชีพ” นั้นควรมองอย่างเท่าเทียมหรือเหมาะสม เพื่อที่จะให้ทุก ๆ กีฬาที่เป็นกีฬาอาชีพ ได้มีการนำงบที่ได้ไปพัฒนาวงการกีฬาอาชีพตัวเอง ซึ่งบางชนิดกีฬาที่ผู้จัดได้รับก็ถือว่าดีเพราะถือว่าเห็นการพัฒนาและแพร่หลายทำให้วงการกีฬานั้น ๆ ได้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงกับประเทศไทย แต่บางชนิดกีฬาที่ผู้จัดการแข่งขันได้งบประมาณที่สูงไปดำเนินการนั้น กลับมองภาพรวมไม่เห็นผลที่เกิดขึ้นให้กับวงการกีฬานั้น ๆ เมื่อเทียบกับงบประมาณที่จะได้

     สุดท้ายผู้แจ้งได้เปรียบเทียบ ผู้จัดชนิดกีฬาต่าง ๆ ที่ได้รับเงิน ในปีงบประมาณ 2566 ที่ผ่านมา และระบุถึงข้อกังขามาทุกชนิดกีฬา และที่น่าสนใจคือการระบุการอนุมัติงบให้กับผู้จัดการแข่งขันกีฬาอาชีพอย่างเจ๊ตสกี ที่ปีงบประมาณ 2566 ได้รวมมากถึง 52.2 ล้านบาท และ ในปีงบประมาณ 2567 จะได้อีก 33.6 ล้านบาท โดยมองว่า แท้จริงแล้วประเทศไทยได้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ที่อ้างตามโครงการที่ขอแค่ไหน การจ่ายให้ผู้จัดก็เป็นคนกลุ่มเดียวกลุ่มเดิมตลอด และมองภาพการพัฒนาวงการ นักกีฬา และอื่น ๆ นั้นเจ๊ตสกีบรรลุเป้าหมายตามที่อ้างแค่ไหน จึงอยากที่จะเรียน “รัฐมนตรีกีฬา” คนใหม่เคร่งครัด เข้มงวดในการพิจารณา พร้อมทั้งให้คณะกรรมการกีฬาอาชีพมองถึงความเท่าเทียมและเหมาะสมต่อทุกกีฬาที่ประกาศเป็นกีฬาอาชีพด้วย ไม่ใช่เหมือนที่ผ่านมา ผู้แจ้งระบุในตอนท้าย

     นี่คือเป็นข้อฝากถึง ซึ่งส่งมาเป็นเอกสารประกอบที่ดี มีข้อมูลเปรียบเทียบชัดเจนครบถ้วน ซึ่งหากมองแล้วถือว่าเป็นคนที่รู้จริงในวงการกีฬาอาชีพในเมืองไทย มีการระบุความไม่เท่าเทียม ความไม่เหมาะสมหลายอย่าง ได้เขียนแจ้งมาถึงรายละเอียดลึก ๆ เช่น ผู้จัดการแข่งขันกีฬานั้น ๆ ส่อที่จะเอี่ยวประโยชน์กับผู้ให้ พร้อมทั้งระบุชัดเจนถึงที่มาของการกล่าวหา การประเมินที่ไม่ครบถ้วนข้อมูลจริง การอนุมัติเหมือนมีนัยแอบแฝง และอื่น ๆ อีกมากมายที่ให้ข้อมูลแบบดุดัน

     แต่ที่นี่ไม่ได้นำลงทั้งหมด ไม่ใช่เพราะว่าไม่เชื่อถือ แต่ที่ไม่ลงเพราะการล้วงลึกนี้ควรเป็นหน้าที่ของ “รัฐมนตรีกีฬา” คนใหม่และทีมงานที่จะนำไปรื้อดูถ้าหากสนใจ ในการเริ่มเดินบนเส้นทางผู้นำสายกีฬาอาชีพ และอยากเปลี่ยนแปลง แต่หากไม่สนใจก็ถือเป็นแค่เสียงบ่นๆ จากคนกลุ่มหนึ่ง ก็แล้วกัน ที่นี่ก็ได้แต่ทำหน้าที่เสนอเท่านั้นครับ

RANDOM

สสวท. ชวนน้อง ๆ นักเรียนชั้นป.4-ม.6 ประกวดคลิปสั้นและอินโฟกราฟิก หัวข้อ “เรียนรู้ ปรับเปลี่ยน ตั้งรับวิกฤตภูมิอากาศกับ GLOBE” ชิงรางวัลพร้อมเกียรติบัตร สมัครและส่งผลงานได้ ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 21 กรกฎาคม

เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ รับสมัครคัดเลือกพนักงานมหาวิทยาลัย ‘เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บุคคล) – เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป) – เจ้าหน้าที่สำนักงาน (การเงิน)’ ยื่นใบสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ – 19 มิถุนายน 2567

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!