จากฐานอำนาจเดิม ที่สร้างความว้าวุ่นในวงการกีฬา มีฟ้องร้อง ร้องเรียน แบ่งฝักฝ่ายมานาน วันนี้ควรถึงเวลา “สร้างความสามัคคีใหม่” ด้วยการทิ้งบัตรสนเท่ห์ ทิ้งอดีตขัดแย้ง แล้วเริ่มต้นด้วยความรักกัน…ซะที

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

      หลังเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 19 “หางโจวเกมส์” หนนี้ วงการกีฬาของไทย ภายใต้การนำของฝ่ายบริหารชุดใหม่ คงจะเดินเครื่องเต็มพิกัดในทุก ๆ ด้าน

      เรื่องที่น่ามองและน่าเขียนถึงเพื่อนำเสนอแนะจากการประมวลความคิดเห็นของ “คนในวงการกีฬา” ที่หลากหลายซึ่งจ้องมองวงการกีฬามายาวนาน อะไรคือสิ่งที่ต้อง “เป็นบทเรียน” ในระดับฝ่ายบริหารที่กำลังเปลี่ยนผ่านมาใหม่ และเริ่มต้น

      การวิเคราะห์เริ่มต้นจาก “ฝ่ายบริหาร” ของรัฐบาล ในงานกีฬา ช่วงหลังจากการรัฐประหาร จนกระทั่งมีการเลือกตั้งในรัฐบาลชุดเก่า ที่คนกล่าวถึงมากที่สุดคือการใช้อำนาจในการครองวงการกีฬาอย่างเบ็ดเสร็จ เรื่องเงินทั้งจากงบประมาณที่เช้าสู่หน่วยงานกีฬา และงบที่มาจากกองทุนพัฒนาการกีฬา มีการใช้ในมุมหนึ่งที่ต้องบอกว่า “ไร้ทิศทาง”

      “ใช้ด้วยเหตุผลที่ไม่เหมาะสม” นี่คือสิ่งที่สรุปกันแบบเบา ๆ แต่คงรู้เรื่องกันว่ายังไง

      “ผู้มีอำนาจก็สั่งได้สั่งเอา มือใครยาวสาวได้สาวเอา” นี่คือสิ่งที่พูดถึงกันต่อมา

       จะหันไปพึ่งพา “ฝ่ายนิติบัญญัติ” ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจสอบ การทำงานของฝ่ายบริหาร ในนามของคณะกรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร ที่เราเรียกว่า ส.ส.กีฬา  ซึ่งที่ผ่านมาก็ต้องบอกว่าไร้ผลในการพึ่งพาสาเหตุง่าย ๆ ก็คือ “เป็นพรรคเดียวกันและพวกเดียวกันจะตรวจสอบกันอย่างไร”

      ซึ่งโดยการทำงานที่ควรจะเป็น ผู้นำในฝ่ายบริหารและผู้นำในฝ่ายนิติบัญญัติต้องเป็น ผู้มีที่มาจากพรรคที่แตกต่างกัน มันจึงจะทำหน้าที่ที่แตกต่างกันตามรัฐธรรมนูญอยากให้เป็นได้อย่างสมบูรณ์

      “ความอ่อนแอโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตามจากการแสดงบทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติที่ผ่านมา” จึงเป็นปัญหาหนึ่งของวงการกีฬา

      สรุปทั้งเรื่องของการที่ฝ่ายบริหารที่ใช้อำนาจแบบรวมศูนย์ซึ่งโดนวิพากษ์ถึงมาก ผสมกับฝ่ายนิติบัญญัติที่อ่อนแอเพราะเป็นพวกเดียวกันกับฝ่ายบริหาร ปัญหาต่าง ๆ ของการดำเนินงานในวงการกีฬาระดับ “ผู้ปฏิบัติการ” จึงเกิดขึ้นในองค์กรกีฬา และการจัดการงบกีฬา ซึ่งเป็นผลพวงมาจากเหตุใหญ่ ๆ ดังกล่าว

      ซึ่งจะพบเห็นการดำเนินงานที่อึดอัด ของ “ฝ่ายปฏิบัติการ ” หลังจากผู้มีอำนาจสั่งการที่นอกทิศทางเสมอ ในบางเรื่องราวที่โดนสั่งให้ทำ

      หลายคนในการสนทนาเสนอว่า “ผู้นำกีฬาใหม่ ลองไปหยิบหรือรื้อดูโครงการขอเงินสนับสนุน หรือ โครงการก่อสร้างใด ๆ ซัก 2-3 งานในแต่ละส่วนแล้ว สอบข้อเท็จจริงเองแบบเชิงลึกก็จะรู้ว่ามันต่อสายสัมพันธ์ถึงใครระดับไหนบ้าง และจะรู้ว่าใครขอ ใครเซ็น ใครนำผ่านทางไหน ใครอนุมัติ”

       เมื่อการสั่งการจากระดับบริหาร ซึ่งเป็นกลุ่มอำนาจที่ครองงานเบ็ดเสร็จ ส่งให้มา การปฏิบัติของฝ่ายปฏิบัติการซึ่งจำเป็นต้องเอื้อต่อการสั่งการของฝ่ายบริหาร ก็เลยกลายเป็นปัญหา เพราะทุกคนจะอ้างอิงว่า “ผู้ใหญ่สั่ง” ผู้มีอำนาจอยู่ข้างหลัง ต้องทำเพื่อสนองผู้ใหญ่ และความอยู่รอดของตัวเอง ความว้าวุ่นในกลุ่มปฏิบัติที่เกี่ยวข้องจึงเกิด

      เมื่อมีความว้าวุ่นจากความไม่รักกันไม่เชื่อใจกันหรือต่างฝ่ายอยากโชว์เอาใจนายเกิดขึ้น สิ่งหนึ่งที่ตามมาคือการร้องเรียนกันเองด้วยเอกสาร หรือบัตรสนเท่ห์ จึงร่อนใส่กันมากมาย ทั้งซัดพวกเดียวกันและต่างพวก ในระดับ “กลุ่มผู้ปฏิบัติ” แต่ไม่เคยมีซักใบที่ร้องเรียนถึงระดับ “กลุ่มอำนาจบริหารที่ครอบหัวอยู่” แล้วก็มีการเล่นกัน สั่งสอบกัน สู้กันเองภายในกลุ่มปฏิบัติการ ที่ถือว่าเป็นกลุ่มคนทำงานที่ล้วนแล้วแต่เป็นผู้กลืนไม่เข้าคายไม่ออกกับการสั่งการ หรือ บัญชา จากระดับหัว

      และวันนี้เรื่องของการสอบกันเองยังมีอยู่ อาจจะเพื่อความกระจ่างตามการสั่งการ หรืออยากที่จะขยี้กันเองก็แล้วแต่

      แต่ที่นี่มองและสรุปในกลุ่มสนทนาว่าเรื่องนี้ต้องฝาก “กลุ่มอำนาจการบริหารใหม่” จากรัฐบาลใหม่ ให้พิจารณาว่า ในเมื่อเราพบการใช้อำนาจที่เชื่อว่าไม่เหมาะสม และความอ่อนแอ ของฝ่ายเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นส่วนที่สร้างให้เกิดปัญหาในระดับปฏิบัติการดั่งที่ว่าแล้วนั้น

      ก็สมควรอย่างยิ่งที่น่าจะยกเลิกเรื่องการตามล่าหาความผิด ที่มาจากแค่บัตรสนเท่ห์ทุกฉบับ ของทุกคนที่เกี่ยวข้อง  เพื่อล้างปัญหาที่สั่งสมมา แล้วพาทุกคนเดินหน้าเริ่มต้นกันใหม่ด้วยความรักสามัคคีกัน  “โดยบทบาทผู้นำที่สง่างาม” และมั่นใจตัวเอง แล้วหันไปช่วยกันให้ทุกฝ่ายเดินตามกฏกติกาที่ชัดเจน เหมาะสม ให้เสียงทุกฝ่ายที่เป็นผู้มีส่วนร่วมมีความสำคัญในนำไปสู่การพิจารณา น่าจะเป็นการดีที่สุดในวงการกีฬายุคปัจจุบันนี้ หลังจากที่โดนขยี้โดยอำนาจเก่ามายาวนาน ซึ่งมากพอแล้ว

RANDOM

กฟผ. โครงการห้องเรียนสีเขียว จับมือ 11 มหาวิทยาลัยชั้นนำ เชิญชวนน้อง ๆ มัธยมปลาย ประชันไอเดีย ร่วมประกวดนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 ชิงทุนการศึกษารวม 285,000 บาท หมดเขตรับสมัคร 15 มิ.ย. 67

สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับ กสทช. และ กองทุนพัฒนาสื่อฯ จัดประกวดภาพยนตร์สั้น ในโครงการประกวดสื่อเพื่อสร้างสำนึกพลเมือง ปี 2567 ชิงเงินรางวัลรวม 120,000 บาท เปิดรับสมัครแล้ว – 31 ตุลาคม นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!