มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ให้ทุนการศึกษาแก่นิสิต นักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อใช้ในการค้นคว้าวิจัย ประจำปี 2566 เปิดรับสมัครแล้ว ถึง วันที่ 12 ม.ค. 67

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter
มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ประกาศรับสมัครขอรับทุนการศึกษาแก่นิสิตนักศึกษาบัณฑิตศึกษา เพื่อใช้ในการค้นคว้าวิจัย ประจำปี 2566
.
หลักการและวัตถุประสงค์
มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี จัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ สนับสนุนการอบรมการศึกษา และให้ความช่วยเหลือแก่นักศึกษาที่ขัดสน สนับสนุนสถาบันการแพทย์และจัดให้มีการรักษาพยาบาลแก่คนไข้ที่ยากจน และเผยแพร่พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ในการสนับสนุนการอบรมการศึกษานั้น มูลนิธิฯ ได้มีโครงการให้ทุนการศึกษาแก่นิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่มีสัญชาติไทย ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนในประเทศไทย เพื่อใช้ในการค้นคว้าวิจัยในหลักสูตรปริญญาโท และปริญญาเอก ในศาสตร์แขนงต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายที่จะช่วยในการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศไทย และสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถในการค้นคว้าวิจัย  ซึ่งย่อมส่งผลให้เกิดความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศตามมา สมดังพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
.
ผู้มีสิทธิขอรับทุน
ผู้มีสิทธิขอรับทุน คือ นิสิตนักศึกษาที่มีสัญชาติไทย และลงทะเบียนรายวิชาในหลักสูตรบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท และ/หรือ ปริญญาเอก) ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และ/หรือ เอกชนในประเทศไทย
.
โครงการค้นคว้าวิจัยที่พึงประสงค์
ผู้มีสิทธิขอรับทุน ต้องเสนอโครงการค้นคว้าวิจัยของตนแก่คณะอนุกรรมการฯ โครงการดังกล่าว
1. จะต้องเป็นโครงการเพื่อการค้นคว้า และ/หรือ วิจัยตามหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก) ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และ/หรือ ของเอกชน ในประเทศไทยที่ผู้ขอรับทุนเป็นนิสิตนักศึกษาอยู่
2. เป็นโครงการค้นคว้า/วิจัย เพื่อทำวิทยานิพนธ์ที่ได้รับการอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์แล้ว
3. แนวเรื่องต่อไปนี้ จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
1) กรณีศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ/หรือ เกี่ยวกับ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7
2) พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร
3) เทคโนโลยีดิจิตอลในการสร้างสื่อใหม่
4) ภาษาในสังคมไทย
5) ศิลปะและวัฒนธรรมในสังคมไทย
6) ศาสนา ความเชื่อ และ/หรือ จริยธรรมในสังคมไทย
7) วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
8) วิทยาศาสตร์ประยุกต์
9) วิศวกรรมศาสตร์ เช่น วิศวกรรมเพื่อความยั่งยืนด้านสุขภาพ
10) การเมืองภาคประชาชน/ประชารัฐ และ/หรือ การกระจายอำนาจ
11) สารสนเทศ และ/หรือ การสื่อสารมวลชนกับการพัฒนาสังคม
12) การพัฒนาทักษะของผู้เรียนเพื่อการดำเนินชีวิตในอนาคต
13) เศรษฐศาสตร์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
14) ปัญหาและทางเลือกของเกษตรกรไทย
15) ปัญหาภัยพิบัติในประเทศไทย
16) ประเด็นทางสังคม และ/หรือ ความมั่นคง เนื่องด้วยประชาคมอาเซียน (ASEAN)
17) ประวัติศาสตร์สังคมของไทย
18) การท่องเที่ยวในประเทศไทย ประโยชน์ และผลกระทบ
19) การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
20) การส่งเสริมสุขภาวะของบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม
.
การจัดสรรเงินทุนให้โครงการ
– ผู้ขอรับทุนเสนอประมาณการค่าใช้จ่ายของโครงการตน ต่อคณะอนุกรรมการฯ
– คณะอนุกรรมการฯ จะพิจารณาจัดสรรเงินทุนที่ได้รับจากมูลนิธิฯ ในแต่ละปี โดยมีเกณฑ์การจัดสรร ดังนี้
ก. โครงการแต่ละโครงการจะได้รับทุน ไม่เกิน 20,000 บาท
ข. การจ่ายเงินทุนจะกระทำเป็น 2 งวด ด้วยกัน เป็นสัดส่วนของเงินทุนทั้งหมด ดังนี้
งวดที่ 1  เมื่อตัดสินให้ทุน 50%
งวดที่ 2  เมื่อส่งเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ 50%
โครงการในที่นี้ รวมความถึงโครงการเพื่อผลิตผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น นอกจากงานเขียน เช่น การจัดทำชุดภาพนิ่ง ภาพยนตร์ ผลงานทางด้านศิลปะ เครื่องทุ่นแรง เป็นต้น
.
.
การสมัครขอรับทุน
ให้ผู้ขอรับทุนยื่นเอกสารได้ ดังนี้
1. ขอรายละเอียดและสมัครด้วยตนเอง ได้ที่ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ชั้น 2 (กลุ่มงานกิจการทั่วไป สำนักบริหารงานกลาง) ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โทร. ๐2-242-5900 ต่อ 5241 – 5244 (Download ใบสมัครได้ที่ เว็บไซต์ของมูลนิธิฯ  www.parliament.go.th/kingrama7 เว็บไซต์ของรัฐสภา www.parliament.go.th ภายใต้หัวข้อ ข่าวประชาสัมพันธ์ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และ ทาง Facebook มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ ร.7)
2. สมัครทางไปรษณีย์ ส่งที่ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (กลุ่มงานกิจการทั่วไป สำนักบริหารงานกลาง) เลขที่ 1111 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2566 ถึง วันที่ 12 มกราคม 2567 พร้อมเอกสาร ดังนี้
1) ใบสมัครขอรับทุนของมูลนิธิฯ ซึ่งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ได้รับรองประมาณการค่าใช้จ่ายที่จำเป็นแล้ว จำนวน 1 ชุด และสำเนาใบสมัครดังกล่าว จำนวน 1 ชุด
2) สำเนาใบลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ ขั้นบัณฑิตศึกษา ของ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชนในปีการศึกษานั้น ๆ (ออกโดยสถาบันการศึกษานั้น ๆ)
3) เอกสารวินิจฉัยความสามารถทางวิชาการ (recommendation) ของผู้สมัคร จากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ (เสนอเป็นการลับ โดยการปิดผนึก ในกรณีที่สมัครทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ตามข้อ 3 ให้ผู้สมัครขออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ส่งเอกสารนี้ให้มูลนิธิฯ โดยตรง ทาง E-mail : kingrama7@parliament.go.th ภายในวันศุกร์ที่ 12 มกราคม 2567)
4) สำเนาโครงร่างวิทยานิพนธ์ ซึ่งได้รับอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์ จากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชน จำนวน 1 ชุด
5) รูปถ่ายครึ่งตัว ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป
3. สมัครทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) โดยแนบเอกสารตามรายละเอียด ข้อ 2 1) – 5) ส่งที่ E-mail : kingrama7@parliament.go.th (อนุโลมการลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์)
นอกเหนือจากการพิจารณาเอกสารเหล่านี้แล้ว คณะอนุกรรมการฯ สงวนสิทธิที่จะใช้วิธีการสัมภาษณ์เป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาให้ทุน หากมีการสัมภาษณ์จะได้แจ้งการจัดวันสัมภาษณ์ไปให้ผู้สมัครทราบทางไปรษณีย์ตอบรับ
.
การประกาศผล
คณะอนุกรรมการฯ จะแจ้งผลการพิจารณาการให้ทุนให้ผู้สมัครทราบ ภายในเดือนเมษายน 2567 หรือ ก่อนหน้านั้น ผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด
.
ข้อผูกพันของทุน
ผู้ที่ได้รับทุน
1. ต้องทำการค้นคว้าวิจัยตามโครงการที่เสนอให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด หากทำวิทยานิพนธ์ไม่สำเร็จ หรือ พ้นสภาพจากนิสิต นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยต้องคืนเงินทั้งหมดที่ได้รับไปจากมูลนิธิฯ แล้ว
2. ต้องติดตามให้อาจารย์ที่ปรึกษา ส่งรายงานความคืบหน้าของการทำวิทยานิพนธ์ให้คณะอนุกรรมการฯ ทราบภายในเดือนกันยายนของทุกปี
3. เมื่อทำการค้นคว้าวิจัยแล้วเสร็จ ต้องส่งวิทยานิพนธ์ที่เสนอต่อสถาบันการศึกษา ให้แก่ คณะอนุกรรมการฯ จำนวน 1 ชุด ทันทีที่แล้วเสร็จ
4. ต้องมีข้อความแสดงถึงการได้รับความสนับสนุนการค้นคว้าวิจัย จาก มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี หรือ ในภาษาอังกฤษว่า “The King Prajadhipok and Queen Rambhai Barni Memorial Foundation” ในกิตติกรรมประกาศของวิทยานิพนธ์ เพื่อแสดงถึงความรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของทั้งสองพระองค์
5. ต้องส่งบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ พร้อมไฟล์ PDF ซึ่งเขียนขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์แก่บุคคลทั่วไปให้แก่คณะอนุกรรมการฯ จำนวน 1 ชุด
6. ควรยินดีให้ความร่วมมือกับคณะอนุกรรมการฯ ในการจัดหาสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการค้นคว้าวิจัยในโครงการ เพื่อเป็นสมบัติของมูลนิธิฯ ทั้งนี้ มูลนิธิฯ จะได้มอบค่าใช้จ่ายตามที่จำเป็นในการจัดหาให้ตามที่ตกลงเป็นกรณี ๆ ไป
.
นอกเหนือจากนี้ ผู้รับทุนไม่มีพันธกรณีใด ๆ ต่อมูลนิธิฯ และในทางตรงกันข้าม มูลนิธิฯ ไม่มีพันธกรณีใด ๆ ต่อผู้รับทุน แต่มูลนิธิฯ หวังว่าผู้รับทุนจะรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี และให้การสนับสนุนมูลนิธิฯ ตามแต่โอกาสจะอำนวยต่อไป
.
สอบถามรายละเอียดและขอใบสมัครขอรับทุนได้ที่
1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ชั้น 2 (กลุ่มงานกิจการทั่วไป สำนักบริหารงานกลาง) ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โทร. 02-242-5900 ต่อ 5241 – 5244 (เว็บไซต์ของมูลนิธิฯ www.parliament.go.th/kingrama7 เว็บไซต์ของรัฐสภาที่ www.parliament.go.th ภายใต้หัวข้อ ข่าวประชาสัมพันธ์ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และทาง Facebook มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ ร.7)
2. สมัครทางไปรษณีย์ส่งที่ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (กลุ่มงานกิจการทั่วไป สำนักบริหารงานกลาง) เลขที่ 1111 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
3. สมัครทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยส่งที่ E-mail : kingrama7@parliament.go.th
.
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://shorturl.asia/AgBUX
.
อ้างอิงจาก https://shorturl.asia/CnqGx

RANDOM

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!