อาชีวะเดินหน้าระบบทวิภาคียุคใหม่ ‘กล้าทำ กล้าเปลี่ยนแปลง เพื่อสิ่งที่ดีกว่า’ ตั้งเป้าผลิตแรงงานสมรรถนะสูง ป้อนภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2566 ที่ผ่านมา นายวิทวัต ปัญจมะวัต รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ระดับภูมิภาค ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากร สอศ. เข้าร่วมพิธี ณ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี

นายวิทวัต ปัญจมะวัต รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โดยยึดหลักการ “กล้าทำ กล้าเปลี่ยน เพื่อเกิดผลลัพธ์ใหม่” จึงมอบนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในปี 2567 คือ เน้นการเพิ่มจำนวนผู้เรียนระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เป็นสำคัญ ส่วนผู้เรียนระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ให้รักษาระดับไว้ที่ฐานเดิม และสถานศึกษาที่จัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 100% อยู่แล้ว ให้รักษาฐานเดิมเอาไว้ ซึ่งมีการแบ่งพื้นที่จังหวัด 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทวิภาคีเข้มข้น จำนวน 29 จังหวัด ยึดตามหลัก นิคมอุตสาหกรรม การคมนาคม และเศรษฐกิจ และ กลุ่มจังหวัดปกติ โดยการขับเคลื่อนในครั้งนี้ จะกำหนดรายละเอียดในเชิงพื้นที่แต่ละจังหวัด ซึ่งจะแบ่งกลุ่มจัดทําแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ระดับภูมิภาค ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แยกตามภูมิภาค เพื่อนำเสนอแนวทางขับเคลื่อนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ทั้ง 5 ภูมิภาคต่อไป

รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวต่อว่า สถานประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็ก จะเป็นหัวใจของการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี จึงจะสามารถเพิ่มจำนวนผู้เรียนทวิภาคีได้ โดยการร่วมมือกับสถานประกอบการนั้น จะต้องทำให้เกิดประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่ายอย่างแท้จริง มีการกลั่นกรองและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ทราบความต้องการของสถานประกอบการได้อย่างถูกต้อง จึงจะสามารถขับเคลื่อนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีให้มีประสิทธิภาพ เพื่อการผลิตและพัฒนากำลังคนสายอาชีพ ให้เป็นกำลังคนที่มีคุณภาพและสมรรถนะสูง ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศต่อไป

RANDOM

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!