สอศ. จับมือ NECTEC และ มูลนิธิสยามกัมมาจล เตรียมปั้นนวัตกรอาชีวะหน้าใหม่ ในโครงการ ‘ต่อกล้าอาชีวะ’ ชิงทุนในการพัฒนาผลงาน ทีมละ 30,000 บาท ผู้สนใจสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ – 19 มกราคม 2567

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

มีข่าวดีมาบอก! สอศ. ร่วมกับ NECTEC และ มูลนิธิสยามกัมมาจล บ่มเพาะนวัตกรอาชีวะในโครงการ “ต่อกล้าอาชีวะ” Industrial Internet of Things ชิงทุนในการพัฒนาผลงาน ทีมละ 30,000 บาท โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาอาจารย์และนักศึกษาในสังกัดอาชีวะ ให้มีทักษะด้านเทคโนโลยี ด้าน IoT ที่สอดคล้องตามความต้องการของอุตสาหกรรม

คุณสมบัติ

1. ผู้สมัคร : นักเรียน / นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ เครื่องมือวัดและควบคุมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เทคนิคคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และปิโตรเคมี

2. ที่ปรึกษา : อาจารย์และบุคลากรด้านการศึกษาสังกัด สอศ. ในสาขาที่เกี่ยวข้อง

3. สถานประกอบการ : มีสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีทางด้าน IoT กับอุปกรณ์ต่าง ๆ รองรับ เพื่อร่วมพัฒนาผลงานและฝึกปฏิบัติงาน

4. มีความสนใจ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลงาน

5. มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการฯ และสามารถร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่กำหนดได้ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการฯ

ข้อมูลประกอบการสมัคร มีดังนี้

1. ข้อเสนอโครงการ (Proposal) การพัฒนาผลงานในโครงการ “ต่อกล้าอาชีวะ” ประจำปี 2567 (ตัวอย่าง/หัวข้อการเขียนข้อเสนอโครงการฯ อยู่ในส่วนที่ 2 )

2. Link คลิปวิดีโอนำเสนอข้อมูลของผลงาน (ความยาวไม่เกิน 5 นาที)

หลักเกณฑ์ในการสมัครเข้าร่วมโครงการ

1. รับสมัครเป็นทีม ทีมละ 4 คน สมาชิกภายในทีมต้องมาจากสถานศึกษาเดียวกัน โดยแต่ละสถานศึกษาสามารถส่งทีมสมัครเข้าร่วมโครงการได้ไม่จำกัดจำนวน

2. มีอาจารย์ที่ปรึกษาทีมละ 1 -2 ท่าน จากสถานศึกษาเดียวกับผู้สมัคร

3. ผู้สมัครต้องมีช่วงเวลาฝึกงานคาบเกี่ยวกับระยะเวลาดำเนินงานของโครงการ (ใส่ช่วงเวลา) หรือ อยู่ระหว่างการฝึกงาน

4. ผลงานสิ่งประดิษฐ์ / กระบวนการในการช่วยแก้ปัญหา หรือ ส่งเสริมอุตสาหกรรม / ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์

5. ผู้สมัครต้องแสวงหาสถานประกอบการที่มีความสนใจให้นำผลงานสิ่งประดิษฐ์ หรือ แนวความคิด (Idea) ของผู้สมัครไปทดลอง / ทดสอบใช้งานในสถานประกอบการนั้น ๆ มาเข้าร่วมโครงการ

ลักษณะผลงาน

1. เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ (Product) หรือ กระบวนการ (Solution) ที่นำเทคโนโลยี Internet of thing (IoT) ช่วยแก้ไขปัญหา หรือ เป็นประโยชน์แก่สถานประกอบการประเภท โรงงานอุตสาหกรรม หรือ ผู้รวมระบบ (System Integrator หรือ SI) เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มผลผลิต ลดค่าใช้จ่าย ลดการสูญเสีย ลดการใช้พลังาน เป็นต้น

2. แนวคิดของผลงานจะต้องสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ หรือ หากเป็นแนวคิดที่ต่อยอดมาจากผลงานเดิมที่มีอยู่แล้ว จะต้องไม่เคยได้รับรางวัลใด ๆ มาก่อน และต้องมีความใหม่ไม่น้อยกว่า 50%

3. แนวคิดของผลงานจะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดที่ลอกเลียน หรือ ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่น

การรับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ – 19 มกราคม 2567

ช่องทางการสมัคร https://shorturl.asia/U6hfL

รายละเอียดเพิ่มเติม https://shorturl.asia/YaXV4

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Facebook : ต่อกล้าให้เติบใหญ่ https://www.facebook.com/groups/449592838456700/
โทร. 02-564-6900 ต่อ 2328

ขอบคุณข้อมูลจาก ประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

RANDOM

ประกวดกล่าวสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ หัวข้อ “เราจะสามารถแก้ไขปัญหา Climate Change โดยเริ่มจากตัวเองอย่างไรได้บ้าง ?” เพื่อเฟ้นหาตัวแทนเด็กไทยร่วมกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุม COP29 ที่เมืองบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 16 ตุลาคม 2567

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!