เตรียมรับมือ “ปรากฏการณ์เอลนีโญ” คาด ปี 2567 ไทยแห้งแล้งหนัก

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

ที่ผ่านมา ข่าวพยากรณ์อากาศที่มีการเตือนให้เฝ้าระวังและเตรียมรับมือกับ “ปรากฏการณ์เอลนีโญ” ที่ในตอนนี้ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก โดยคาดการณ์ว่าในปี 2567 จะมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ก่อให้เกิด “ภาวะแห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนต่ำ และอุณหภูมิอากาศสูงขึ้นกว่าปกติ” หลายภาคส่วนต้องเตรียมรับมืออย่างใกล้ชิด อาทิ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การอุปโภคบริโภค การท่องเที่ยว เป็นต้น

เอลนีโญ (El Nino) เกิดเมื่อลมค้าบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกอ่อนกำลังลง ทำให้น้ำอุ่นบริเวณผิวหน้ามหาสมุทรพัดมายังชายฝั่งด้านทิศตะวันตกได้น้อยลง ดังนั้น น้ำผิวหน้ามหาสมุทรบริเวณนี้ จึงมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ส่งผลให้ประเทศไทยรวมถึงบริเวณพื้นที่ชายฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเกิดภาวะแห้งแล้งหนัก มีฝนตกน้อยกว่าปกติ อาจเกิดไฟป่า หรือ ภัยพิบัติอื่น ๆ ตามมา
ในขณะเดียวกัน พื้นที่ชายฝั่งด้านทิศตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก น้ำบริเวณผิวหน้ามหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เป็นผลให้บริเวณพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกต้องเจอกับฝนตกหนัก และน้ำท่วมอย่างรุนแรง

แต่เมื่อการหมุนเวียนของอากาศ และการหมุนเวียนของน้ำผิวหน้ามหาสมุทรแปซิฟิกเปลี่ยนแปลงไป ปรากฏการณ์เอลนีโญดังกล่าว ก็อาจเกิดการสลับขั้วกลายเป็นปรากฏการณ์ “ลานีญา” (La Nina) ขึ้นได้ ส่งผลให้ประเทศไทยรวมถึงพื้นที่ชายฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเกิดฝนตก และน้ำท่วมอย่างหนัก ส่วนพื้นที่ชายฝั่งทางด้านทิศตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเกิดความแห้งแล้ง เนื่องจากฝนน้อยแทน

ปรากฏการณ์ เอลนีโญ และ ลานีญา ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมโดยรอบมหาสมุทรแปซิฟิก รวมถึงพื้นที่ห่างไกลออกไปได้ และยังสามารถวนกลับมาเกิดซ้ำไปซ้ำมาได้เรื่อย ๆ ในทุก ๆ 1-2 ปี

เรื่อง เอลนีโญ และลานีญา เป็นเรื่องใกล้ตัว ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ใน
1. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ม.6
2. บทเรียนออนไลน์ Project 14 https://shorturl.asia/T5ViP

ขอบคุณข้อมูลจาก IPST Thailand

RANDOM

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!