เปิดรับสมัคร…ทุนการศึกษาโครงการ มสธ. x ปตท. “จุดพลังนักสื่อสารรุ่นใหม่” เรียนต่อป.ตรี นิเทศศาสตร์ สื่อสารดิจิทัล เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 16 กุมภาพันธ์ 2567

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในโครงการ ปตท. X มสธ. จุดพลังนักสื่อสารรุ่นใหม่ยุคดิจิทัล เพื่อจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล โดยมอบทุนการศึกษาเป็นค่าลงทะเบียนตลอดหลักสูตร (เป็นไปตามเงื่อนไข) ซึ่งกำหนดพื้นที่การให้ทุนและรับสมัครนักศึกษาในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ กาญจนบุรี อุดรธานี สงขลา และลำปาง จังหวัดละ 25 ทุน โดยจะเปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 16 กุมภาพันธ์ 2567 และมีการเรียนการสอนในเดือนมีนาคม 2567

วัตถุประสงค์โครงการ
1. ปตท. มีความประสงค์สนับสนุนการสร้างโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมความรู้ด้านการสื่อสาร นำไปสู่การพัฒนานักการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ให้กับประเทศ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่สังคมชุมชน
2. มสธ. โดยสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มีความประสงต์จัดการสอน การวิจัย และการให้บริการวิชาการแก่สังคมเพื่อบูรณาการความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศ ผ่านหลักสูตรในระดับปริญญาตรี และหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนานักการสื่อสาร
3. ทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์จะให้ความร่วมมือกันในด้านวิชาการเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรม การวิจัยและพัฒนา หลักสูตรการเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์ รวมถึงให้ความร่วมมือในการสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการทำโครงการ

คุณสมบัติผู้รับทุนการศึกษา
1. คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัครรับทุน
– จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือ จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือ เทียบเท่า หรือ
– เป็นผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือ เทียบเท่า และมีการประกอบอาชีพมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ
– เป็นผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือ เทียบเท่า และมีอายุเกิน 25 ปี หรือ
2. คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครรับทุน
– มีทะเบียนบ้านและอาศัยอยู่ในจังหวัดเป้าหมาย 4 จัง
หวัด ได้แก่ กาญจนบุรี สงขลา อุดรธานี ลำปาง
– สามารถเรียนผ่านระบบออนไลน์ (ms.team) ได้ โดยจะมีการสอนเสริมผ่านออนไลน์ ภาคเรียนละ 2 ครั้ง/ชุดวิชา รวม 6 ครั้ง จำนวน 12 วัน ในวันเสาร์-อาทิตย์ และจะมีการติวเข้มพิเศษ ช่วงเย็นหลักเลิกงาน ครั้งละ 2 ชั่วโมง จำนวน 2 ครั้ง/ชุดวิชา รวม 12 ชั่วโมง
– สามารถเรียนแบบเผชิญหน้าได้ โดยจะมีการสอนเสริมแบบเผชิญหน้า ภาคเรียนละ 1 ครั้ง/ชุดวิชา รวม 3 ครั้ง จำนวน 6 วัน ในวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งมีการเรียนการสอนภายในตัวจังหวัดเป้าหมายที่ตัวเองสมัครไว้ ได้แก่ กาญจนบุรี สงขลา อุดรธานี ลำปาง
– สามารถเข้าร่วมทำกิจกรรมแบบเผชิญหน้าได้ (กิจกรรมสานสัมพันธ์) ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2-3 วัน ซึ่งมีการจัดกิจกรรมภายในตัวจังหวัดเป้าหมายที่ตัวเองสมัครไว้
มีคุณสมบัติตามกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
กลุ่มที่ 1 ผู้นำ ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล ผู้รักษาความสงบประจำหมู่บ้าน สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ไกล่เกลี่ย อาสาสมัครยุติธรรม ประธานชุมชน กรรมการชุมชน กลุ่มสตรี กรรมการกองทุนหมู่บ้าน วิสาหกิจชุมชน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร หรือ ชื่อเรียกอย่างอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียง โดยมีบัตรแสดงตัว หรือ ผู้บังคับบัญชา รับรอง
กลุ่มที่ 2 เยาวชน ที่เพิ่งจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือ จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือ เทียบเท่า
หรือ เยาวชนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือ เทียบเท่า และมีการประกอบอาชีพมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี
กลุ่มที่ 3 ผู้พิการ (ผู้พิการแขนขา ที่สามารถเรียนในระบบปกติได้) ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม กลุ่มเปราะบาง หรือ ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์
กลุ่มที่ 4 กลุ่มประชาชนที่ต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเองด้านการสื่อสาร
– เป็นผู้มีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีประวัติและประสบการณ์การทำงานที่ดี มีจิตอาสา มีทักษะความเป็นผู้นำ มีทักษะการสื่อสาร มีทักษะทางเทคโนโลยี มีความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน และมีความสนใจด้านนิเทศศาสตร์

เงื่อนไขทุนที่นักศึกษาได้รับ
– ค่าบำรุงการศึกษา 7 ภาคการศึกษา 3,500 บาท
– ค่าลงทะเบียนเรียน 20 ชุดวิชา 28,200 บาท
– ค่าเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ 100 บาท
– ค่ากิจกรรม

เงื่อนไขทุนที่นักศึกษาต้องจ่ายเอง
– ค่ารักษาสถานภาพการศึกษา ภาคการศึกษาละ 4,000 บาท (หากไม่ประสงค์ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาใด ยกเว้นกรณีมีเหตุผลและความจำเป็น)
– ค่าขึ้นทะเบียนบัณฑิต เมื่อจบการศึกษา 800 บาท
– ค่าธรรมเนียมขอเอกสารสำคัญ ฉบับละ 50 บาท
– ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพแบบเผชิญหน้า เป็นค่าที่พักและอาหาร 5 วัน 4 คืน เป็นเงิน 2,600 บาท
– ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมชุดวิชาฝึกปฏิบัติ หากมีการฝึกปฏิบัติแบบเผชิญหน้า เป็นค่าที่พักและอาหาร 4 วัน 3 คืน ชุดวิชาละ 2,200 บาท จำนวน 2 ชุดวิชา คือ ชุดวิชาการสร้างสรรค์คอนเทนต์และสตรีมมิ่ง และชุดวิชาการสื่อสารแบรนด์ (แต่ถ้าเป็นการฝึกปฏิบัติออนไลน์นักศึกษาจะไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้)

การรับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ – 16 ก.พ. 2567

ประกาศผล วันที่ 22 ก.พ. 2567

ใบสมัครทุนการศึกษา https://shorturl.asia/Olpkz

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://commarts.stou.ac.th/activity/ptt_x_stou/

ส่งใบสมัครได้ที่
– ทางจดหมาย จ่าหน้าซองถึง สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (โครงการปตท.Xมสธ.) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อาคารวิชาการ 3 เลขที่ 9/9 ม.9 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
– สแกนส่งทางอีเมล stou.ptt@gmail.com

สอบถามเพิ่มเติม โทร. 02-504-8386 , 02-504-8351-3

RANDOM

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!