ม.มหาสารคาม เปิด ‘ศูนย์วิจัยและปฏิบัติการก๊าซเรือนกระจก’ หนุนเป็นแหล่งบูรณาการความรู้ เพื่อการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) ร่วมกับ บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด ร่วมเปิดศูนย์วิจัยและปฏิบัติการก๊าซเรือนกระจก โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล ผู้รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นประธานกล่าวต้อนรับ และนำตัดริบบิ้นเปิดโครงการฯ โดยมี ดร. สมิทธ เหลี่ยมมณี ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการก๊าซเรือนกระจก ผู้แทนจากบริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด กล่าวถึงความความคืบหน้าและการขยายผลของศูนย์วิจัยและปฏิบัติการก๊าซเรือนกระจก ณ ศูนย์วิจัยและปฏิบัติการก๊าซเรือนกระจก ชั้น 4 อาคารวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อเร็ว ๆ นี้

รองศาสตราจารย์ ดร. ธีรวงศ์ เหล่าสุวรรณ หัวหน้าคณะทำงานศูนย์วิจัยและปฏิบัติการก๊าซเรือนกระจก กล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ของประชาคมโลก โดยเล็งเห็นถึงโอกาสในการผลักดันพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ ส่งเสริมการวิจัย และผลิตบุคลากรด้านการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ คาร์บอนเครดิต ภาคป่าไม้และเกษตรกรรม และภาคพลังงาน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการขึ้น เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายบรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน โดยจัดตั้งศูนย์วิจัยและปฏิบัติการก๊าซเรือนกระจกขึ้น เพื่อเป็นแหล่งบูรณาการความรู้และประสบการณ์ด้านการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ คาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้และเกษตรกรรม และภาคพลังงาน สร้างความยั่งยืนให้แก่ประเทศไปด้วยกัน

ซึ่ง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ตระหนักถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และได้ดำเนินการศึกษาวิจัยทางด้านคาร์บอนเครดิต นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยโครงการแรกที่ดำเนินการ คือ A/R Pilot Projects in Thailand “Advanced methods for measuring and monitoring CO2 Emissions, Reduction in Afforestation and Reforestation Projects.ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมิชิแกน สเตท สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดยมี ดร.อุษา กลิ่นหอม ดร. เจ เอช ซาเม็ก คุณเชษฐพงษ์ บุตรเทพ เป็นหัวหน้าคณะนักวิจัย ลงพื้นที่ป่าชุมชนอินแปง จ.สกลนคร โดยในขณะนั้น ความสำเร็จจากโครงการแรกในการวิจัยการตรวจวัดชีวมวลของต้นไม้ และนำเข้าสู่กระบวนการเชิงพาณิชย์ ในปี 2553 – 2554 ทำให้เกิดการซื้อขายคาร์บอนเครดิตเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และมีการมอบเงินมูลค่ากว่า 30,000 เหรียญสหรัฐ หรือ คิดเป็นเงินไทยกว่า 900,000 บาท ให้แก่ชุนชนอินแปง จ.สกลนคร จ.หนองบัวลำพู จ.อุดรธานี และ จ.นครสวรรค์ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

และ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ มหาวิทยาลัยมิชิแกน สเตท สหรัฐอเมริกา ได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือทางการวิจัยร่วมกันถึง 2 ฉบับ ในปี พ.ศ. 2553 และ พ.ศ. 2558 เพื่อผลิตงานวิจัยด้านการอนุรักษ์ป่าไม้ หรือ ส่งเสริมการปลูกป่า เพื่อเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย และได้รับร่วมมือจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก , กรมวิชาการเกษตร , กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช , กรมป่าไม้ , สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม , สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) , National University of Laos , National Agricultural and Forestry Extension Service, Laos , National Agriculture and Forestry Research Institute, Policy Research Institute, Laos , Ministry of Agriculture and Rural Dev., Vietnam , Vietnam Forestry University , Forest Science Institute of Vietnam และ Department of Forestry, Vietnam

RANDOM

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!