สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ขอเชิญนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษาที่อยู่ระหว่างการศึกษา ส่งผลงานนวัตกรรมเข้าร่วมการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2567 ในระหว่างงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024)” ระหว่างวันที่ 26 – 30 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ได้ ตั้งแต่บัดนี้ จนถึง 29 เมษายน 2567
วัตถุประสงค์
– เพื่อสร้างและพัฒนานิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษาให้เป็นนักวิจัย/นวัตกรที่มีคุณภาพ และศักยภาพ
– เพื่อบ่มเพาะความรู้ในการเป็นนักวิจัย/นวัตกร พร้อมทั้งการสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรมที่จะมุ่งไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
– เพื่อให้นิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษา มีเวทีนําเสนอผลงานนวัตกรรมที่มีศักยภาพให้สามารถเผยแพร่สู่สาธารณชนและการแข่งขันในเวทีระดับชาติและนานาชาติ
– เพื่อส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้มีเครือข่ายด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน
กิจกรรมประกวดนวัตกรรมสายอุดมศึกษา
วช. ขอเชิญนิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษาทุกระดับการศึกษา จัดทำข้อเสนอผลงานนวัตกรรมเพื่อขอรับการพิจารณารางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2567 (Higher Education Innovation Awards 2024) โดยในปีงบประมำณ 2567 ได้จัดแบ่งกลุ่มนวัตกรรมเพื่อนำเสนอเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 5 กลุ่ม ดังนี้
– ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร
เป็นผลงานนวัตกรรมที่ออกแบบและพัฒนา เพื่อการใช้ประโยชน์ต่อการผลิตผลทางการเกษตร พืช ประมง ปศุสัตว์ ป่าไม้ แมลงเศรษฐกิจ สาหร่าย เทคโนโลยีการเกษตร เกษตรอัจฉริยะ การอนุรักษ์ดิน น้ํา และสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศเกษตร วิศวกรรม และเครื่องจักรกลการเกษตร ธุรกิจการเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตแปรรูป อาหาร อาหารฟังก์ชั่น (functional foods) บรรจุภัณฑ์ และจัดจําหน่ายไปยังผู้บริโภค ตลอดจนการใช้ ประโยชน์จากผลพลอยได้ทางการเกษตร กากของเหลือหรือวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
– ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์
เป็นผลงานนวัตกรรม ที่ออกแบบและพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ดูแล รักษา บําบัดโรค ตรวจสอบและ วินิจฉัยโรค อุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์กายภาพบําบัด สมุนไพร เทคโนโลยีสุขภาพ (Healthtech) เทคโนโลยีการแพทย์ (Medtech) เครื่องสําอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ (Natural Products) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Supplementary Products) การดูแลสุขภาพอย่างชาญฉลาด (Smart Healthcare) และการสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและประชากร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
– ด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และอุปกรณ์อัจฉริยะ
เป็นผลงานนวัตกรรมที่ออกแบบและพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรม เป็นผลงานทั้งประเภท Software และ Hardware การออกแบบและปรับปรุงกระบวนการผลิตและสภาวะ แวดล้อม เช่น เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotics) เทคโนโลยีระบบราง เทคโนโลยีด้านการเงิน (Fintech) ธุรกิจ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) อุปกรณ์เชื่อมต่อผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (IoT) เทคโนโลยีการศึกษา (Edtech) Big Data ระบบอัตโนมัติ (Automation) Machine Learning ระบบควบคุมและเครื่องมือวัด (Control System and Instrument) ระบบเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality) และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
– ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีวัสดุ และ BCG Economy Model
เป็นผลงาน นวัตกรรมที่ออกแบบและพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม การแก้ไข ฟื้นฟู บํารุงรักษา ปรับปรุงคุณภาพ ตรวจวิเคราะห์ทางพลังงานและสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงาน นวัตกรรมเพื่อการประหยัด พลังงาน พลังงานรูปแบบใหม่ เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีแบตเตอรี่และวัสดุพลังงาน การพัฒนา ระบบพลังงานทางเลือก เช่น การผลิตพลังงานจากธรรมชาติ โซล่าเซลล์ พลังงานจากขยะ เป็นต้น เทคโนโลยี เพื่อสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะ มลพิษทางอากาศ และน้ําเสีย เป็นต้น เซ็นเซอร์ทางสิ่งแวดล้อม และพลังงาน เทคโนโลยีแบตเตอรี่และวัสดุพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุ รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจที่คํานึงถึง ความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (BCG Economy Model) ทั้งเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
– ด้านคุณภาพชีวิต และ Soft Power
เป็นผลงานนวัตกรรมที่ออกแบบและพัฒนา เพื่อการใช้ประโยชน์และการสร้างมูลค่าจากการออกแบบ ความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะ วัฒนธรรม และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การออกแบบสถาปัตยกรรม ออกแบบภายใน การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ การออกแบบเครื่องแต่งกาย ออกแบบเครื่องประดับ สื่อมัลติมีเดีย สื่อการเรียนการสอนและสื่อการเรียนรู้ การออกแบบศิลปะ การแสดง และงานศิลป์อื่น ๆ ธุรกิจไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Business) เทคโนโลยี การท่องเที่ยว (Traveltech) รูปแบบการท่องเที่ยว การเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ (Service Enhancing) โดยเฉพาะผลงานที่ทําให้เกิดผลผลิตที่เป็นนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 11 สาขา (อาหาร กีฬา งานเทศกาล ท่องเที่ยว ดนตรี หนังสือ ภาพยนตร์ เกม ศิลปะ การออกแบบ และแฟชั่น) ซึ่งจะนําไปสู่การพัฒนา Soft Power
การส่งผลงาน
ส่งผลงานได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึง วันที่ 29 เมษายน 2567
รางวัลการประกวด
ระดับรางวัล แบ่งเป็น
– ระดับปริญญาตรี
– ระดับบัณฑิตศึกษา (ระดับปริญญาโท และปริญญาเอก)
ประเภทรางวัล
– เหรียญรางวัลตามเกณฑ์คะแนนของแต่ละผลงานตามที่ วช. กําหนด
– เหรียญทอง (Gold Medal) พร้อมเกียรติบัตร
– เหรียญเงิน (Silver Medal) พร้อมเกียรติบัตร
– เหรียญทองแดง (Bronze Medal) พร้อมเกียรติบัตร
ทั้งนี้ คะแนนรวมสูงสุด 3 อันดับแรก ของกลุ่มผู้ที่ได้รับรางวัลเหรียญทอง จะได้รับรางวัลระดับดีเด่น รางวัลระดับดีมาก และ รางวัลระดับดี ตามลําดับ
การให้รางวัลในแต่ละประเภท และแต่ละกลุ่มเรื่อง
– ระดับปริญญาตรี แบ่งการให้รางวัลเป็นรายกลุ่มเรื่อง โดยในแต่ละกลุ่มเรื่อง แบ่งการให้รางวัล ดังนี้
รางวัลระดับดีเด่น กลุ่มเรื่องละ 1 รางวัลๆ ละ 30,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล และเกียรติบัตร
รางวัลระดับดีมาก กลุ่มเรื่องละ 1 รางวัลๆ ละ 20,000 บาทพร้อมถ้วยรางวัล และเกียรติบัตร
รางวัลระดับดี กลุ่มเรื่องละ 1 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล และเกียรติบัตร
– ระดับบัณฑิตศึกษา แบ่งการให้รางวัลเป็นรายกลุ่มเรื่อง โดยในแต่ละกลุ่มเรื่องแบ่งการให้รางวัล ดังนี้
รางวัลระดับดีเด่น กลุ่มเรื่องละ 1 รางวัลๆ ละ 50,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล และเกียรติบัตร
รางวัลระดับดีมาก กลุ่มเรื่องละ 1 รางวัลๆ ละ 30,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล และเกียรติบัตร
รางวัลระดับดี กลุ่มเรื่องละ 1 รางวัลๆ ละ 20,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล และเกียรติบัตร
อนึ่ง ผู้ได้รับรางวัลประเภทผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ทั้งระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา จะได้รับสิทธิ์ในการเสนอผลงานขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้แผนงานยกระดับนักประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Innovation to Business (I-2B) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมต้นแบบให้มีระดับความพร้อมใช้ทางเทคโนโลยี มีมาตรฐาน เข้าสู่กระบวนการยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงชุมชน/สังคม ภาคบริการ หรือสามารถ ต่อยอดสู่การเป็นธุรกิจ Start up ในภาคการผลิต อุตสาหกรรม หรือ เชิงพาณิชย์ ต่อไป
ผู้สนใจจะส่งผลงงานเข้าร่วมประกวด จะต้องส่งเอกสาร ดังนี้
1. ลงทะเบียนส่งผลงานนวัตกรรมเพื่อขอรับการพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2567 (Higher Education Innovation Awards 2024)
2. จัดส่งแบบฟอร์มข้อเสนอผลงานนวัตกรรมในรูปแบบ Concept Paper และ One Page Summary ทางไปรษณีย์ จำนวน อย่างละ 7 ชุด มายัง กลุ่มงานส่งเสริมสมรรถนะกำลังคนวิจัยและนวัตกรรมกองบริหารทรัพยากรการวิจัยและนวัตกรรม วช. ภายในวันที่ 29 เมษายน 2567 โดยถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ
3. ส่งไฟล์ข้อเสนอฯ และ One Page Summary ไฟล์สกุล .doc .pdf มายัง E-mail: rinudom@nrct.go.th
***ทั้งนี้ ขอให้ผู้ส่งผลงานดำเนินการให้ครบทั้ง 3 ขั้นตอน***
ลงทะเบียนสมัครส่งผลงานเข้าร่วมประกวด https://shorturl.asia/rk8p3
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://shorturl.asia/nexlS
สอบถามเพิ่มเติมในเวลาราชการได้ที่ กลุ่มงานส่งเสริมสมรรถนะกำลังคนวิจัยและนวัตกรรม กองบริหารทรัพยากรการวิจัยและนวัตกรรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เลขที่ 196 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร. ๐2-579-1370-9 ต่อ 263 , 264 เว็บไซต์ www.nrct.go.th อีเมล rinudom@nrct.go.th
อ้างอิงจาก https://shorturl.asia/3hy9M