ม.ขอนแก่น เปิดตัว โครงการวิจัย Ugly Veggies Plus ยกระดับเกษตรกร เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ต่อยอดธุรกิจสู่เศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผัก ผลไม้ Organic ในเครือข่าย พัฒนาโครงการ Ugly Veggies Platform เพื่อเพิ่มมูลค่าผักรูปทรงไม่สวยที่เคยถูกทิ้งเป็นขยะ โดยการแปรรูปและขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่ผ่านมาโครงการประสบความสำเร็จ สามารถลดขยะผัก 30-50% แต่ยังมีเศษผัก 5% ที่เหลือทิ้งอยู่ ทีมวิจัยจึงพัฒนาต่อยอดโครงการ Ugly Veggies Plus โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อติดตามที่มาของผักสังเคราะห์ถุงพลาสติกชีวภาพจากเศษผัก และผลิตดินปลูกจากผักอินทรีย์ ช่วยลดการคัดทิ้งของผัก อันก่อให้เกิดขยะได้ 100% รวมถึงส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน และผลักดัน BCG Economy Model และยังเป็นการช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรกรในพื้นที่

รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณินี นฤธาราดลย์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและสังคมแห่งความยั่งยืน สังกัดวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และยังเป็นผู้อำนวยการโครงการวิจัยนี้ กล่าวว่า โครงการ Ugly Veggies Plus เป็นการต่อยอดแบบจำลองธุรกิจบนพื้นฐานของเทคโนโลยีการตรวจสอบย้อนกลับและเศรษฐกิจหมุนเวียนคาร์บอนต่ำ เพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตและการส่งออกของสินค้าอาหารอินทรีย์อย่างยั่งยืน ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการจาก แผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ภายใต้การกำกับของ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

โดยมี ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดตัวโครงการวิจัย นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก คุณอภิชัย เรืองศิริปิยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออสคอร์เปอเรชั่น หรือ ในฐานะผู้พัฒนาเทคโนโลยีสร้างภาพเสมือนจริงแบบสามมิติ (Augmented Reality : AR) ผู้บุกเบิกให้ความสำคัญและอยู่เบื้องหลังผลงาน AR ที่สร้างชื่อเสียงระดับประเทศ ร่วมด้วย คณะผู้บริหารโรงแรมในเครือ Marriott และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชวิศ เกตุแก้ว รองคณบดีฝ่ายกลยุทธ วิจัยและการต่างประเทศ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้วางแผนโครงการ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อังคณา บุญยืด คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมงาน

สำหรับผลของโครงการที่คาดว่าจะได้รับ มีทั้งผลกระทบทางเศรษฐกิจ ได้แก่ Ugly Veggies Platform มีรายได้เพิ่มขึ้น นำไปสู่การเป็น Social Enterprise เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอย่างแท้จริง เกษตรกรในเครือข่ายมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Organic ผลกระทบด้านสังคม ได้แก่ เกิดการจ้างงาน หรือ สร้างอาชีพ ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เกิดการตระหนักรู้ถึงบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในการสร้างสังคมสีเขียว ส่งเสริมแนวคิด BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และ เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม คือ ลดจำนวนขยะจากกระบวนการผลิตผักอินทรีย์จนเหลือ 0% และ ลดการปล่อย carbon emissions จากการทำลายขยะทางการเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่มาจากเศษเหลือทิ้งจากผักอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วย 1. นวัตกรรมเทคโนโลยีการตรวจสอบย้อนกลับ 2. นวัตกรรมอาหารโปรตีนสูง 3. นวัตกรรมดินพร้อมปลูก และ 4. นวัตกรรมพลาสติกชีวภาพ

เป้าหมายต่อไปของ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในด้านงานวิจัย คือ การเสริมสร้างพลังแก่ประชากรโลก และสร้างเสริมการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน ผ่านการศึกษา วิจัยและนวัตกรรม และการพัฒนาชุมชนที่มีคุณภาพ ในแง่ของงานวิจัยวิทยาลัยนานาชาติ ดำเนินงานในบริบทนี้ ผ่านศูนย์นวัตกรรมและสังคมแห่งความยังยืน ไม่เพียงแต่การดำเนินงานวิจัย ซึ่งมีโจทย์มาจากปัญหาในชุมชนและสังคมแล้ว ยังรวมถึงการสร้างนวัตกรรม และถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยสู่ชุมชนอีกด้วย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความยั่งยืนในอนาคต และแสวงหาความร่วมมือกับนานาชาติต่อไป

RANDOM

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!