“เพ๊ง เชิน เทคโนโลยี” บริษัทร่วมทุนของ Zhen Ding Tech Group และ เครือสหพัฒน์ ลงนามความร่วมมือ 5 สถาบันการศึกษาชั้นนำ ปั้นบุคลากรป้อนอุตฯ PCB หวังดันไทยขึ้นแนวหน้าของโลก

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

เพ๊ง เชิน เทคโนโลยี ผู้ผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Print Circuit Board : PCB) บริษัทร่วมทุนของ Zhen Ding Tech Group (ZDT) ผู้ผลิต PCB อันดับ 1 ของโลก และ เครือสหพัฒน์ นำร่องโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาบุคลากรในประเทศให้กับอุตสาหกรรมผลิต PCB ในไทย จับมือ 5 สถาบันการศึกษาชั้นนำของไทย ลงนามความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา มั่นใจจะช่วยผลักดันให้ไทยมีสัดส่วนการผลิต PCB ในตลาดโลกเพิ่มขึ้น และยกระดับขึ้นสู่แนวหน้าของโลก

นายวรยศ ทองตัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความก้าวหน้าและการเติบโตของเทคโนโลยีในปัจจุบัน เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) รถยนต์ไฟฟ้า Internet of Things (IoT) ทำให้แผงวงจรพิมพ์ หรือ Print Circuit Board : PCB ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด จำเป็นต้องมีความซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงเป็นที่ต้องการมากขึ้น โดยฐานการผลิต PCB อันดับ 1 ของโลกอยู่ที่จีน รองลงมา คือ ไต้หวัน เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น ด้าน ประเทศไทย ถูกยกให้เป็นฐานการผลิต PCB อันดับหนึ่งในอาเซียน ซึ่งเป็นที่หมายที่นักลงทุน PCB ต่างชาติ ปักหมุดเข้ามาลงทุน ทั้งจากปัจจัยการขยายฐานการผลิตเพิ่มเติม และการย้ายฐานการผลิตเข้ามาเปิดโรงงานในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

เพ๊ง เชิน เทคโนโลยี ถือเป็นจุดเริ่มต้นการขยายฐานการผลิตของกลุ่ม ZDT มายังภูมิภาคอาเซียน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ซึ่งจะส่งผลบวกต่อประเทศไทยที่มีโอกาสขยับขึ้นสู่ประเทศฐานการผลิต PCB แนวหน้าของโลกได้ ดังนั้น การจัดเตรียมระบบสาธารณูปโภคเพื่อรองรับผู้ประกอบการ จึงต้องทำควบคู่ไปกับการมีบุคลากรที่มีทักษะด้าน PCB การผนึกความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้ง 5 แห่ง ประกอบด้วย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการพัฒนาบุคลากรด้าน PCB ครั้งนี้ จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่ในการก้าวไปสู่อนาคตร่วมกัน และยังเป็นการประกาศเป้าหมายสำคัญของประเทศไทยในการขับเคลื่อนสู่ประเทศฐานการผลิต PCB ระดับโลกด้วย

ด้าน นายดาร์เรน เซียว ประธาน บริษัท เพ๊ง เชิน เทคโนโลยี จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า เพ๊ง เชิน เทคโนโลยี จะเริ่มดำเนินการผลิตเฟสแรกในประเทศไทย ในปี 2568 ซึ่งคาดการณ์ว่าต้องพึ่งพาบุคลากรที่มีทักษะสูง มากกว่า 1,000 คน ภายในปี 2570 โดยก่อนหน้านี้ เพ๊ง เชิน เทคโนโลยี ได้นำร่องความร่วมมือโดยการให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาไทยชุดแรก จำนวน 20 คน ไปฝึกงานที่โรงงานในกลุ่ม ZDT ที่เมือง หวายอัน (Huai’an) มณฑลเจียงซู ประเทศจีน ตามโครงการฝึกงานภาคฤดูร้อน เป็นเวลา 2 เดือน ซึ่งไม่เพียงช่วยให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริงและนำพลังใหม่ ๆ มาสู่บริษัท แต่ยังช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายในการยกระดับความร่วมมือเพื่อให้บรรลุผลประโยชน์ร่วมกัน เสริมความแข็งแกร่งด้านเทคนิค และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในอุตสาหกรรม PCB ด้วย

สำหรับปี 2567 เพ๊ง เชิน เทคโนโลยี เดินหน้าต่อยอดพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับความต้องการของอุตสาหกรรม PCB ที่จะเพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ศ. ดร. สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผศ.ดร.รัชนี กุลยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รศ.ดร.ลดาวัลย์ พวงจิตร รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ. ดร. พรพรหม สุธาทร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเปลี่ยนแปลง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ รศ. ดร. วรุธ ปานนักฆ้อง Deputy Director for International Affairs and Corporate Relations สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้แทนสถาบันการศึกษาชั้นนำของไทย ให้เกียรติเข้าร่วมลงนามความร่วมมือกับ เพ๊ง เชิน เทคโนโลยี เป็นโครงการนำร่องเพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรในประเทศให้กับอุตสาหกรรมผลิต PCB ในประเทศไทย

ทั้งนี้ การลงนามความร่วมมือดังกล่าว มีวัตถุประสงค์สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1) ความร่วมมือพัฒนานโยบายอุตสาหกรรมของประเทศ 2) ความร่วมมือในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้าน PCB 3) ความร่วมมือในการสอนวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับ PCB และ การฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม 4) ความร่วมมือในการฝึกงานของนักศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และ 5) ความร่วมมือในการจัดเยี่ยมชมโรงงาน แนะแนวอาชีพ และส่งเสริมการจ้างงาน ทั้งนี้ เพ๊ง เซิน มั่นใจว่า การผนึกความร่วมมือครั้งนี้ จะช่วยขับเคลื่อนพันธกิจขององค์กรที่มุ่งมั่นพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ ควบคู่ไปกับ การฟื้นฟูและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้โลกน่าอยู่มากขึ้น

ทางด้าน ดร. สิริพร พิทยโสภณ นักยุทธศาสตร์ระดับสูง รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในฐานะพยานกิตติมศักดิ์ในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือนี้ ได้กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีแนวทางส่งเสริมและพัฒนากำลังคนด้านเซมิคอนดักเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง (Semiconductor & Advanced Electronics) เพื่อเตรียมพร้อมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน และยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาคการศึกษาในครั้งนี้ จะมีส่วนสำคัญในนำไปสู่การสร้างและพัฒนากำลังคนที่มีสมรรถนะสูงที่สอดคล้องกับความต้องการ และเพียงพอรองรับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงของประเทศต่อไป

เพ๊ง เซิน เทคโนโลยี เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างเครือสหพัฒน์ และ Zhen Ding Tech Group (ZDT) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิต PCB ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ของโลก โดยโรงงานผลิต PCB ของ เพ๊ง เชิน เทคโนโลยี ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 300 ไร่ ภายในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี มีมูลค่าเงินลงทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท ในเฟสแรก และ มากกว่า 50,000 ล้านบาท ภายในปี 2573 เป้าหมายสำคัญ คือ การมุ่งสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะผลิต PCB เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด และเป็นฐานการผลิตที่สำคัญแห่งหนึ่งของกลุ่มบริษัท ZDT

RANDOM

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดรับสมัครนักดนตรีวงดุริยางค์เยาวชนไทย ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (TYO) ประจำปี 2567 ปิดรับสมัคร วันที่ 30 พ.ย. นี้

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!