สจล. จับมือ สถาบัน Fraunhofer IMW เยอรมนี ร่วมพัฒนางานวิจัย เพิ่มโอกาสการศึกษา พร้อมดัน “ต้นธูปฤาษี” สู่นวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงทางวิชาการ ร่วมกับ สถาบันวิจัยประยุกต์ Fraunhofer IMW จาก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในการสร้างความร่วมมือด้านงานวิจัยร่วมกัน การร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการยกระดับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมให้กับประเทศ พร้อมดันงานวิจัยที่เกี่ยวกับ “ต้นธูปฤาษี” วัชพืชที่ถูกมองข้าม แต่มีคุณสมบัติพิเศษ มีเยอะในประเทศไทย มาเป็นวัสดุในการสร้างบ้าน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยเทคโนโลยีมาทำเป็นวัสดุก่อสร้าง ที่เรียกว่า “Typha Board” ใช้เป็นวัสดุในการสร้างบ้านไม้ทรงไทยเขตร้อน นอกจากนี้ ยังมีการวางแนวทางถึงโครงการวิจัยร่วมในด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน เพื่อนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาจริงในสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป
.
ผศ. ดร.รัชนี กุลยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สจล. กล่าวว่า สจล. เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทยที่มีชื่อเสียงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม และมีบทบาทสำคัญในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ช่วยปรับปรุงกระบวนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ให้กับชุมชน และผู้ประกอบการ เพื่อสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังเน้นการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทำให้นักศึกษามีทักษะและความรู้ที่ทันสมัย พร้อมสำหรับการทำงานในอนาคต ความร่วมมือในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาแลกเปลี่ยน ปรับเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
.
.
ด้าน Mr. Urban Kaiser Head of Innovation Acceptance Unit ตัวแทนจาก Fraunhofer Center for International Management and Knowledge Economy IMW กล่าวว่า Fraunhofer มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างการวิจัยพื้นฐาน และการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และ สถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจ ความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร อย่าง สจล. นั้น จะช่วยให้นักวิจัยทั้งสองสถาบัน ได้แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยี และสภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะสร้างมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งโครงการ CHARMS เป็นโครงการที่พัฒนา “Typha Board” ได้รับความสนใจจาก คณะผู้แทน Federal Ministry of Education and Research (BMBF) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และตัวแทนจากสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมชมโครงการ CHARMS ต้นแบบบ้านประหยัดพลังงาน เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา อีกด้วย
.
ขณะที่ นายสุระ เกนทะนะศิล กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทน สจล. ที่เข้าร่วมงาน กล่าวว่า สจล. และ เยอรมนี มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นมาอย่างยาวนาน ความร่วมมือในครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะร่วมกันสร้างและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ ซึ่ง สจล.เป็นสถาบันการศึกษาที่มีเป้าหมายชัดเจนในการเป็นผู้นำนวัตกรรมระดับโลก หรือ The World Master of Innovation การลงนามในบันทึกข้อตกลงทางวิชาการในครั้งนี้ ยังเป็นการเปิดโอกาสให้อาจารย์และนักวิจัยของทั้ง 2  สถาบัน ได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อใช้พัฒนาองค์ความรู้ สร้างสรรค์นวัตกรรม ให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ เป็นที่ยอมรับในระดับโลก สร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เพิ่มโอกาสการวิจัยและการศึกษาให้กับนักศึกษาและบุคลากรจากทั้งสองสถาบัน เพื่อขับเคลื่อนประเทศต่อไป

RANDOM

กัมพูชาไม่สนไทยไม่ส่งนักชกมวยไทยชิงเหรียญ “มวยเขมร” หรือ กุนขะแมร์ ในซีเกมส์หนนี้เพราะมีอีก 6 ชาติพร้อมส่ง พร้อมเตรียมแก้เผ็ดไทย ซีเกมส์หนหน้าที่ไทย ก็อย่าหวังเจอนักชกเขมรเช่นกัน

NEWS

ม.หอการค้าไทย ชวนน้อง ๆ มัธยมปลายร่วมโครงการ “แคมป์เด็กหัวการค้า ปีที่ 11 จุดประกายความฝัน…ปั้นผู้นำธุรกิจ” บ่มเพาะนักธุรกิจรุ่นเยาว์ ต่อยอดพัฒนาเศรษฐกิจประเทศในอนาคต เปิดรับสมัครแล้ว ถึง 3 ตุลาคม

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!