รสชาติเลิศเลอ ซอฟต์พาวเวอร์ “อาหารไทย” พาเข้าใจอร่อยรส อร่อยลิ้น ด้วย “Project 14” แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ สมัครใช้ฟรี สะดวกทุกที่ ทุกเวลา

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา Taste Atlas เว็บไซต์ด้านอาหารชื่อดังของโลก ได้จัดอันดับ 10 เมนู จากมะม่วงที่ดีที่สุดในโลก ซึ่งเมนูมะม่วงของบ้านเรา ได้รับการยกย่องขึ้นแท่นติดดาวอีกเช่นเคย

แน่นอนว่ามีหลายรายการทีเดียว ประเดิมด้วย “ข้าวเหนียวมะม่วง” ซึ่งคว้าที่ 2 ไปครอง แบบปราศจากเสียงโต้แย้ง ตามมาด้วย “มะม่วงน้ำปลาหวาน” ที่พิชิตอันดับ10 ชวนให้อยากลิ้มลอง

นอกจากนี้ ยังมีเมนูมะม่วงเมนูอื่น ๆ ที่ทยอยกันมาเป็นขวัญใจนักชิมทั่วโลก ทั้ง “ส้มตำมะม่วง” ที่คว้าอันดับ 11 “น้ำปลาหวาน” อันดับ 16 และ “มะม่วงดอง” ของบ้านเรา ก็คว้าอันดับ 23 มาครอง

แต่เอ๊ะ ! อะไรทำให้รับรู้รสชาติ ?

ไปหาคำตอบกันด้วยวิทยาศาสตร์ กับ เนื้อหาเรื่อง “ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก” หนังสือเรียนวิชาชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 6 เล่ม 5 บทที่ 18 “อวัยวะรับความรู้สึก ลิ้น ผิวหนัง” กับ Project 14 แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่ง สสวท.พัฒนาขึ้น เป็นสื่อช่วยสอนและผู้ช่วยคุณครูคนเก่งอธิบายเพิ่มความเข้าใจให้ชั้นเรียน ช่วยอธิบายเรื่องยาก ๆ ซับซ้อน หรือ นักเรียนอาจนึกภาพไม่ออก ให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น โดยใช้ภาพ คลิป แอนิเมชัน หรือ อินโฟกราฟิก เพิ่มความกระจ่าง ไขข้อสงสัยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น “ลิ้น” อวัยวะรับความรู้สึก ซึ่งอยู่ภายในช่องปากของมนุษย์ ก็จะพบว่า ที่ด้านบนของผิวลิ้น จะมีตุ่มเล็ก ๆ มากมาย ปุ่มเล็ก ๆ นี้เรียกว่า “พาพิลลา” บางพาพิลลาจะมีตุ่มรับรสหลายชนิด ประกอบด้วย เซลรับรส เซลฐาน เซลค้ำจุน เซลทั้งหมดประกอบกันเป็นตุ่มรับรส ซึ่ง Project 14 จะนำเสนอเนื้อหา พร้อมอธิบายด้วยภาพเสริมความเข้าใจผู้เรียนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

แล้วรู้ไหมว่า “การรับรส” เป็นการผสมผสานของรสพื้นฐาน คือ รสหวาน รสขม รสเปรี้ยว รสเค็ม และ รสอร่อย ส่วนความรู้สึก “เผ็ด” ไม่ใช่รส แต่เป็นความรู้สึกเจ็บปวดผสมกับความรู้สึกร้อน โดยความเผ็ดนั้น แท้จริงเกิดจากสารเคมีในพริก เชน แคปไซซิน ต่างหาก

การได้ “กลิ่น” และ “การรับรส” ยังมีความสัมพันธ์กันด้วยนะ

สังเกตุง่าย ๆ ในช่วงที่เราไม่สบาย ป่วยเป็นไข้หวัด ทำไมเราถึงรับประทานอาหารไม่อร่อย ? นั่นก็เพราะ การได้กลิ่นและการรับรสมีความสัมพันธ์กัน สมองถูกฝึกให้รับกลิ่นและรสพร้อม ๆ กัน ดังนั้น เมื่อป่วยเป็นหวัด เยื่อบุจมูกจะถูกคลุมด้วยเมือก จึงรับกลิ่นไม่ได้ เมื่อขาดการรับกลิ่นแล้ว แม้ว่าลิ้นจะยังรับรสได้ แต่ก็จะรู้สึกว่ารับประทานอาหารไม่อร่อย

ไปร่วมกันหาคำตอบว่า ลิ้นรับรสต่าง ๆ ได้พร้อมกันอย่างไร และ เรียนรู้ไปกับบทเรียนเรื่อง “อวัยวะรับความรู้สึก ลิ้น ผิวหนัง” พร้อมด้วย Project 14 แพลตฟอร์มเรียนรู้ออนไลน์วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนคุณครูคนเก่งได้ที่ https://proj14.ipst.ac.th/m4-6-biology/m6-bio-book5/bio-m6b5-010 สมัครใช้ฟรี Project 14 สะดวกทุกที่ ทุกเวลา เนื้อหาตรงตามหนังสือเรียน สสวท.

RANDOM

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เปิดรับสมัครบุคคลเข้ารับการสรรหา ตำแหน่ง ‘กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ’ ในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย 8 อัตรา ผู้สนใจสมัครด้วยตนเองได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 5 ก.พ. 67

NEWS

ม.หอการค้าไทย ชวนน้อง ๆ มัธยมปลายร่วมโครงการ “แคมป์เด็กหัวการค้า ปีที่ 11 จุดประกายความฝัน…ปั้นผู้นำธุรกิจ” บ่มเพาะนักธุรกิจรุ่นเยาว์ ต่อยอดพัฒนาเศรษฐกิจประเทศในอนาคต เปิดรับสมัครแล้ว ถึง 3 ตุลาคม

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!