รู้จัก…ปรากฏการณ์ “ลานีญา” ฝนตกเพิ่มมากขึ้น อุณภูมิเฉลี่ยลดต่ำลง เกิดน้ำท่วมบางพื้นที่ เรียนรู้เตรียมพร้อมรับมือ

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

หลังจากที่โลกเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Niño) ในช่วงรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบมายังประเทศไทย ทำให้เกิดสภาพอากาศร้อน และเกิดภาวะแห้งแล้ง แต่รู้หรือไม่ว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญ กำลังอ่อนตัวลง และ ปรากฏการณ์ลานีญา (La Niña) กำลังจะเกิดขึ้นมาแทนที่

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization) ทำนายว่า มีโอกาสสูงถึง 60 % ที่ปรากฏการณ์ลานีญาจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนของปี 2024 นี้ โดยปกติแล้วปรากฏการณ์เอลนีโญ หรือ ลานีญา จะเกิดขึ้นยาวนานประมาณ 9-12 เดือน ซึ่งโดยเฉลี่ยจะเกิดขึ้นทุก ๆ 2-7 ปี และ เอลนีโญ จะเกิดขึ้นบ่อยกว่า ลานีญา และโดยทั่วไป เมื่อเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังแรงดังเช่นเอลนีโญที่ผ่านมา ก็มักจะเกิดปราฏการณ์ลานีญาตามมา

ปรากฏการณ์ลานีญา เกิดจากการที่ลมค้ามีกำลังแรงขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่งโดยทั่วไปลมค้าดังกล่าว จะพัดปกคลุมบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร โดยจะพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก (แถบชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์ เปรู) ไปสะสมอยู่ทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก (แถบชายฝั่งประเทศออสเตรเลีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

ทำให้ในช่วงที่เกิดลานีญา บริเวณตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก จะมีปริมาณเมฆและฝนตกหนักมากขึ้น อาจถึงขั้นเกิดน้ำท่วม หรือ แผ่นดินถล่มได้ในบางพื้นที่ ในทางกลับกัน บริเวณตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก จะเกิดภาวะแห้งแล้ง และมีฝนตกน้อย บางพื้นที่อาจเกิดภัยพิบัติอื่นร่วมด้วย

ปรากฏการณ์ลานีญา ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบแก่พื้นที่รอบมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรเท่านั้น ยังส่งผลต่อพื้นที่ที่อยู่ไกลออกไปด้วย เช่น ภาวะแห้งแล้งบริเวณตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ ฝนตกหนักและน้ำท่วมในประเทศแคนาดา นอกจากนั้น มีการรายงานว่า ลานีญาส่งผลให้เกิดเฮอริเคนกำลังแรงกว่าปกติด้วย

สำหรับประเทศไทยแล้ว ลานีญา จะส่งผลให้มีฝนชุกกว่าปกติ และอุณหภูมิอากาศโดยเฉลี่ยต่ำกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของ ลานีญา อาจจะมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับกำลังของ ลานีญา ความยาวนาน ช่วงเวลาที่เกิด รวมถึงปัจจัยทางอากาศอื่น ๆ ด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก สสวท.

RANDOM

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!