สถาบันวัคซีนฯ เปิดรับสมัครทุนวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2568 ครั้งที่ 2 หนุนวิจัยพัฒนาวัคซีนต้นแบบป้องกันโรคติดเชื้ออื่น ๆ นอกเหนือจากวัคซีนโควิด 19 เพื่อความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศ เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 30 สิงหาคม 2567

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ในฐานะหน่วยบริหารจัดการทุนเฉพาะด้านวัคซีน และเป็นหน่วยงานกลางด้านวัคซีน ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน หรือ ดำเนินการให้มีการวิจัย พัฒนาการผลิตวัคซีนให้มีคุณภาพ และปริมาณที่เพียงพอสำหรับใช้ในสถานการณ์ปกติ และในสถานการณ์ฉุกเฉิน และส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศ ตามพระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561 เพื่อให้เกิดการวิจัยพัฒนาวัคซีนอย่างต่อเนื่อง เป็นรูปธรรม และประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนการวิจัยพัฒนาวัคซีนต้นแบบป้องกันโรคติดเชื้ออื่น ๆ นอกเหนือจากวัคซีนโควิด 19 ด้วยแพลตฟอร์มเทคโนโลยีชนิดต่าง ๆ ได้แก่ viral vector, nucleic acid, subunit, live attenuated เป็นต้น
2. เพื่อสนับสนุนการพัฒนางานด้านวัคซีนตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศ
3. เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนให้มีศักยภาพที่เหมาะสมและเพียงพอ ครอบคลุมตลอดวงจรด้านวัคซีน

ประเภททุนที่เปิดรับสมัคร
ประเภททุนวิจัย

กรอบการให้ทุน
สถาบันวัคซีนแห่งชาติ จัดทำแผนการให้ทุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยอ้างอิงจากนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2566 – 2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) พ.ศ. 2566 – 2570 ซึ่งเป้าหมายและผลลัพธ์ของแผนทั้งสองเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตามที่กำหนดในแผนด้าน ววน. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่า และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติรับผิดชอบแผนงาน ดังนี้
แผนงาน: P1(S1) พัฒนาระบบเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-CircularGreen Economy: BCG) ในด้านการแพทย์และสุขภาพ ให้เป็นระบบเศรษฐกิจมูลค่าสูง มีความยั่งยืน และเพิ่มรายได้ของประเทศ
แผนงานย่อย: F1(S1P1) พัฒนาและผลิตวัคซีนสำหรับโรคสำคัญ และการยกระดับเป็นแหล่งผลิต
สำคัญของอาเซียนสำหรับวัคซีน
เป้าหมายของแผนงาน: O1F1 ประเทศไทยสามารถพัฒนาและผลิตวัคซีนสำหรับโรคสำคัญได้เอง และเป็นแหล่งผลิตสำคัญของอาเซียนสำหรับวัคซีน โดยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
ผลสัมฤทธิ์สำคัญ (Key Result)
KR1 F1: ประเทศไทยสามารถผลิตวัคซีนโควิด 19 ที่พัฒนาและผลิตในประเทศไทย มีคุณภาพเทียบเคียงมาตรฐานสากล โดยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และสามารถใช้ได้จริงในการให้บริการภายในปี 2566 และพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่องทุกปี (1 รายการ ในช่วงปี 2566 – 2570)
KR2 F1: ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์วัคซีนประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจากวัคซีนโควิด 19 ที่พัฒนาและผลิตในประเทศไทย มีคุณภาพเทียบเคียงมาตรฐานสากลเพิ่มขึ้น โดยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (1 รายการ ในช่วงปี 2566 – 2570)
KR3 F1: จำนวนผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ด้านการวิจัย พัฒนาวัคซีน และผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ด้านการผลิตวัคซีนในสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานภาคเอกชน เพิ่มขึ้น (300 คน ในช่วงปี 2566 – 2570)

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ จึงเปิดรับสมัครทุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ภายใต้แผนงานย่อยรายประเด็น : การพัฒนาวัคซีนและพัฒนาบุคลากรตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศ เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ตาม KR2 F1โดยมีกรอบการให้ทุนภายใต้กรอบงบประมาณทั้งสิ้น 35,000,000 บาท ดังนี้

* วัคซีนเป้าหมาย ได้แก่
1) วัคซีนรวม 6 โรค (Hexavalent)
2) วัคซีนพิษสุนัขบ้า (Rabies: Pre-exposure)
3) วัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปากจากเชื้อ EV71
4) วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส (Varicella)
5) วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ A (Hepatitis A)
6) วัคซีนงูสวัด (Zoster)
** วัคซีนที่ถูกบรรจุในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กระทรวงสาธารณสุข
***แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการสามารถเข้าถึงได้ตามลิ้ง https://qrgo.page.link/FELNB

คุณสมบัติของผู้ขอรับทุน
1. บุคคลทั่วไป
ผู้ขอรับทุนวิจัยและทุนอุดหนุนต้องเป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการวิจัย การพัฒนา การผลิต การประกันและการควบคุมคุณภาพ การบริหารจัดการ การจัดหา การกระจาย การให้บริการวัคซีน หรือ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
2. นักศึกษาปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก ภายใต้โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.)
2.1 เป็นผู้ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก หรือ เทียบเท่า ในสาขาแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือ สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.2 มีโครงร่างวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับวัคซีนที่ได้รับการอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์แล้ว หรือ มีหนังสือรับรองหัวข้อวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์จากอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อประกอบการขอรับทุน
2.3 เป็นผู้มีความประพฤติดี และมีความรับผิดชอบ

เงื่อนไขการสมัครขอรับทุน
1. กรอบงบประมาณขึ้นอยู่กับเป้าหมาย ผลผลิต และตัวชี้วัดของข้อเสนอโครงการ
2. ผู้ขอรับทุนต้องดำเนินการสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตร (Patent search) และชี้แจงในแบบฟอร์ม ที่สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กำหนด ทั้งนี้ หากไม่มีข้อมูลดังกล่าว จะต้องชี้แจงต่อคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาจัดสรรทุน
3. กรณีที่ผู้ขอรับทุนมีการต่อยอดการวิจัยจากผลงานเดิม ผู้ขอรับทุนต้องแสดงขอบเขตการดำเนินงานระหว่างงานเดิมและงานใหม่ให้ชัดเจน และต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของผลงานเดิมให้นำทรัพย์สินทางปัญญามาต่อยอด (ต้องมี Freedom-to-operate)
4. ผู้ขอรับทุนต้องตระหนักเรื่องการใช้ทรัพยากรด้านการวิจัยที่มีอยู่ในประเทศไทยเป็นสำคัญ
5. ผู้ขอรับทุนต้องไม่รับทุนภายใต้โครงการเดียวกันจากแหล่งทุนอื่น ในขณะที่ได้รับทุนจากสถาบันวัคซีนแห่งชาติ หากโครงการที่ยื่นขอรับทุนเคยได้รับทุนจากแหล่งอื่นมาก่อนแล้ว ผู้ขอรับทุนต้องชี้แจงในแบบฟอร์มให้ชัดเจน ว่ากิจกรรมที่เคยได้รับทุนไม่ซ้ำซ้อนกับกิจกรรมที่ขอรับทุนจากสถาบันวัคซีนแห่งชาติ
6. ข้อเสนอโครงการที่มีระยะเวลาดำเนินการมากกว่า 1 ปี (Multi-year) ผู้ขอรับทุนต้องระบุเป้าหมาย ผลผลิต และตัวชี้วัดโครงการ ทั้งรายปี (Milestone) และเมื่อสิ้นสุดโครงการ (End goal) อย่างชัดเจน โดยสถาบันจะสนับสนุนทุนเป็นรายปี
7. ผู้ขอรับทุนต้องจัดทำข้อเสนอโครงการเป็นภาษาไทยตามแบบฟอร์มที่สถาบันวัคซีนแห่งชาติกำหนด
8. กรณีโครงการมีการทำวิจัยในสัตว์ทดลอง หรือ ในมนุษย์ ผู้ขอรับทุนต้องส่งผลการอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในสัตว์ทดลอง หรือ ในมนุษย์ มาพร้อมกับการยื่นขอรับทุน กรณีที่ยังไม่ได้รับการอนุมัติ ผู้รับทุนต้องแสดงหลักฐานการยื่นขอการรับรองจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ ทั้งนี้ หากโครงการผ่านการพิจารณา ผู้ขอรับทุนจะต้องส่งผลการอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในสัตว์ทดลองหรือในมนุษย์ ตามระยะเวลาที่สถาบันวัคซีนแห่งชาติกำหนด

การสมัครขอรับทุน
1. ประกาศรับข้อเสนอโครงการ (Full Proposal) ผ่านระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (National Research and Innovation Information System: NRIIS) และช่องทางออนไลน์ของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ
7.2 ผู้ขอรับทุนจัดทำข้อเสนอโครงการตามแบบฟอร์มที่สถาบันกำหนด โดยกรอกข้อมูลและยื่นข้อเสนอโครงการผ่านทางเว็บไซต์ www.nriis.go.th พร้อมแนบไฟล์ Word ของข้อเสนอโครงการดังกล่าวได้ ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม – 30 สิงหาคม 2567 ภายในเวลา 16.30 น. ทั้งนี้ หน่วยงานต้นสังกัดของผู้ขอรับทุนต้องรับรองข้อเสนอโครงการผ่านระบบ NRIIS ภายใน วันที่ 6 กันยายน 2567 เวลา 16.30 น.

สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ
โทร. 02-580-9729 – 31 ต่อ 502 (คุณอัญญรัตน์) หรือ ต่อ 508 (คุณณัฐญา) หรือ ต่อ 505 (คุณบัณฑิตา) หรือ ทางอีเมล pmu@nvi.go.th กรณีมีข้อขัดข้องทางเทคนิคในการกรอกข้อมูลผ่านระบบ NRIIS สามารถติดต่อผ่านช่องทางสายด่วน Hotline 097-107-9090 ทีมพัฒนาระบบ NRIIS หรือ อีเมล nriis@nrct.go.th

อ้างอิงและอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://shorturl.asia/K70GS

RANDOM

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เปิดรับสมัครบุคคลเข้ารับการสรรหา ตำแหน่ง ‘กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ’ ในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย 8 อัตรา ผู้สนใจสมัครด้วยตนเองได้ ตั้งแต่บัดนี้ – 5 ก.พ. 67

ม.ธรรมศาสตร์ จับมือ ธ.ไทยพาณิชย์ และ กูเกิ้ล พัฒนาหลักสูตรออนไลน์ “เศรษฐกิจดิจิทัล” สำหรับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป เสริมทักษะจำเป็น ปั้นกำลังคนคุณภาพ รองรับการทำงานยุคดิจิทัล

NEWS

ม.หอการค้าไทย ชวนน้อง ๆ มัธยมปลายร่วมโครงการ “แคมป์เด็กหัวการค้า ปีที่ 11 จุดประกายความฝัน…ปั้นผู้นำธุรกิจ” บ่มเพาะนักธุรกิจรุ่นเยาว์ ต่อยอดพัฒนาเศรษฐกิจประเทศในอนาคต เปิดรับสมัครแล้ว ถึง 3 ตุลาคม

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!