PIM Career Academy เชิญชวนน้อง ๆ มัธยมศึกษาตอนปลาย ส่งผลงานร่วมประกวดในโครงการ PIM AI Junior Challenge 2024 ตอน “AI for ALL แก้ปัญหาชีวิตประจำวัน ด้วย Computer vision” ชิงรางวัลและทุนการศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ สนใจสมัครได้ถึง 8 กันยายน นี้

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

ศูนย์ PIM Career Academy โดย สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ได้จัดการประกวด PIM AI Junior Challenge 2024 ตอน “AI for ALL แก้ปัญหาชีวิตประจำวัน ด้วย Computer vision” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชนได้มีโอกาสแสดงความรู้ความสามารถอย่างสร้างสรรค์ มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้ คิดค้น ออกแบบให้เกิดปัญญาประดิษฐ์และซอฟแวร์ใหม่ ๆ รวมถึงการทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชิงรางวัลและทุนการศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี รวมมูลค่ากว่า 5 ล้านบาท พร้อมใบเกียรติบัตรรับรองการเข้าประกวด

ซึ่งในรอบคัดเลือก ทีมผู้เข้าประกวดจะต้องส่งแนวคิดนำเสนอไอเดียในรูปแบบคลิป VDO ความยาวไม่เกิน 5 นาที ภายใต้หัวข้อ “AI for ALL แก้ปัญหาชีวิตประจำวัน ด้วย Computer vision” ภายใน วันที่ 8 กันยายน 2567 เพื่อคัดเลือกทีมที่ผ่านการพิจารณาเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ และทางสถาบันฯ จะทำการประกาศรายชื่อทีมผู้มีสิทธิ์เข้าประกวดรอบชิงชนะเลิศ ในวันที่ 16 กันยายน 2567 โดยผู้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศจะได้รับข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ เพื่อนำไปพัฒนาผลงาน พร้อมเข้าร่วมประกวดรอบชิงชนะเลิศ ในวันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ณ Convention Hall 1-6 อาคารหอประชุม ชั้น 3 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถนนแจ้งวัฒนะ จ.นนทบุรี โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

คุณสมบัติผู้เข้าประกวด
– กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ เทียบเท่า
– มีสมาชิกในทีม 2-4 คน/ทีม
– สมาชิกในทีมต้องศึกษาอยู่ในสถานศึกษาเดียวกัน สามารถคละระดับชั้นได้
– แต่ละทีมต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษา 1 ท่าน

เงื่อนไขในการส่งผลงาน (รอบคัดเลือก)
คณะกรรมการจะทำการพิจารณาคัดเลือกผลงานผ่านคลิปวิดีโอนำเสนอแนวคิดสิ่งประดิษฐ์ความยาวไม่เกิน 5 นาที โดยกำหนดประเด็นพิจารณาไว้ 4 ด้าน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับพิจารณา โดยการพิจารณาจากหลักเกณฑ์ด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการนำเสนอโครงงาน ชื่อผลงาน, อธิบายแนวคิดและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์, อธิบายประโยชน์และคุณค่าของผลงานสิ่งประดิษฐ์ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย(ผู้ใช้), แก้ปัญหาด้านใดหรือช่วยอำนวยความสะดวกอย่างไร
2. ด้านความคิดสร้างสรรค์ เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ แปลกใหม่ ยังไม่มีผู้พัฒนาหรือคิดค้นมาก่อน หรือมีผู้พัฒนาแล้ว แต่นำมาเสนอ หรือพัฒนาในแนวทางที่แตกต่างออกไป
3. ความยากง่ายในการพัฒนา ซอฟแวร์ที่คาดว่าจะใช้ (เฉพาะที่เกี่ยวข้อง) และเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา อาทิ Computer Graphic แบบวงจรไฟฟ้า และ อิเล็กทรอนิกส์ Source Code โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เทคนิคที่ใช้มีความซับซ้อน หรือเทคโนโลยีใหม่ หรือ ใช้เทคนิคที่ไม่ซับซ้อน แต่ถ่ายทอดได้น่าสนใจ
4. ความเป็นไปได้และประโยชน์ในการใช้งาน สามารถนำไปใช้งานได้จริง สามารถพัฒนาต่อยอดได้

รายละเอียดการส่งผลงาน
1. ทีมผู้สมัครจัดทำคลิปวิดีโอนำเสนอความยาวไม่เกิน 5 นาที จากนั้นอัพโหลดลง Google Drive (ของตนเอง) พร้อมเปิดสาธารณะ แล้วคัดลอก Link เพื่อแนบในแบบฟอร์มสมัครทาง Google Form หรือ ส่งมายัง E-Mail : awasayapor@pim.ac.th เพื่อให้คณะกรรมการรับชมและพิจารณาคัดเลือกต่อไป
2. ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นมา ต้องเป็นผลงานที่ต่อยอด หรือ สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ ไม่ได้ลอกเลียนแบบแนวความคิดมาจากบุคคล หรือคณะบุคคลใดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
3. ชิ้นงานต้องอยู่ในขั้นทำแบบจำลอง แต่มีความเป็นไปได้ในทางการสร้างชิ้นงานที่สามารถทำงานได้จริง
4. ซอฟแวร์ที่คาดว่าจะใช้ (เฉพาะที่เกี่ยวข้อง) พร้อมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาต้องชี้แจงโดยละเอียด เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่ผลงานจะสำเร็จ และเพื่อให้กรรมการสามารถให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาผลงานต่อไป

รางวัลรอบชิงชนะเลิศ
– ชนะเลิศ เงินรางวัล 30,000 บาท และทุนการศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี **(เลือกเรียนได้ทุกสาขา) ประเภททุนพีไอเอ็ม 50% มูลค่า 251,250 บาท และเกียรติบัตร
– รองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 20,000 บาท และทุนการศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี **(เลือกเรียนได้ทุกสาขา) ประเภททุนพีไอเอ็ม 50% มูลค่า 251,250 บาท และเกียรติบัตร
– รองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 10,000 บาท และทุนการศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี **(เลือกเรียนได้ทุกสาขา)
ประเภททุนพีไอเอ็ม 50% RAE
ประเภททุนพีไอเอ็ม 40% IEM CAI AME
ประเภททุนพีไอเอ็ม 30% DIT
(มูลค่าทุนขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของทุนแต่ละสาขา) และเกียรติบัตร
– ชมเชย
เงินรางวัล 5,000 บาท และทุนการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี **(เลือกเรียนได้ทุกสาขา)
ประเภททุนพีไอเอ็ม 50% RAE
ประเภททุนพีไอเอ็ม 40% IEM CAI AME
ประเภททุนพีไอเอ็ม 30% DIT
(มูลค่าทุนขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของทุนแต่ละสาขา) และเกียรติบัตร
**หมายเหตุ คณะวิศกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี 5 สาขาวิชา ได้แก่
1. DIT : เทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ
2. CAI : วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์
3. RAE : วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
4. IEM : วิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะ
5. AME : วิศวกรรมการผลิตยานยนต์
หมายเหตุ
– ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ที่มีเงินได้จากการประกวดไม่ว่ากิจใดๆ จะต้องชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 5% ของเงินรางวัลที่ได้รับ
– ทุนการศึกษาที่ได้รับ ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงิน/ทรัพย์สิน หรือ บริการใด ๆ และไม่สามารถมอบหรือโอนให้ผู้อื่น ไม่ว่ากรณีใด ๆ
– การพิจารณาทุนการศึกษาของคณะกรรมการสถาบันฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด
– ผู้เข้าประกวดและอาจารย์ที่ปรึกษาทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ จะได้รับใบเกียรติบัตรจากสถาบันฯ ทุกท่าน

วิธีการสมัคร
1. ผู้สมัครทำการแสกน QR Code เพื่อดูรายละเอียด กติกา และกรอกข้อมูลการสมัคร

2. ทีมผู้สมัครจัดทำคลิปวิดีโอนำเสนอความยาวไม่เกิน 5 นาที จากนั้นอัพโหลดลง Google Drive (ของตนเอง) โดยบันทึกชื่อ ชื่อทีม_ชื่อโรงเรียน ตัวอย่าง ทีมพีไอเอ็ม_สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ พร้อมเปิดสาธารณะ แล้วคัดลอก Link เพื่อแนบในแบบฟอร์มสมัครทาง Google Form หรือ ส่งมายัง E-Mail : awasayapor@pim.ac.th เพื่อให้คณะกรรมการรับชมและพิจารณาคัดเลือกต่อไป (สามารถส่งไฟล์การสมัครได้ ถึง วันที่ 8 กันยายน 2567 ก่อนเวลา 17.00 น. เท่านั้น)
3. โทรแจ้งผู้ประสานงานโครงการฯ เพื่อยืนยันการสมัคร ได้ที่ คุณอวัศยา (พี่น้ำฝน) โทร. 02-855-1475 , 062-553-5619

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและลิงค์สมัครแข่งขันได้ที่ https://shorturl.asia/WlUuV

สอบถามข้อมูลได้ที่ ผู้ประสาน นางสาวอวัศยา พรเจริญ (น้ำฝน) โทร. 02-855-1475 , 062-553-5619 E-mail : awasayapor@pim.ac.th

RANDOM

NEWS

ม.หอการค้าไทย ชวนน้อง ๆ มัธยมปลายร่วมโครงการ “แคมป์เด็กหัวการค้า ปีที่ 11 จุดประกายความฝัน…ปั้นผู้นำธุรกิจ” บ่มเพาะนักธุรกิจรุ่นเยาว์ ต่อยอดพัฒนาเศรษฐกิจประเทศในอนาคต เปิดรับสมัครแล้ว ถึง 3 ตุลาคม

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!