แนะวิธีป้องกันอันตรายจาก “ไฟฟ้าดูด” “ไฟฟ้าช็อต” ภายในบ้าน ป้องกันการสูญเสีย

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

“ไฟฟ้าช็อต” และ “ไฟฟ้าดูด” ถือเป็นอันตรายใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ง่ายในบ้านของเรา หากเพื่อน ๆ ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างไม่ระมัดระวัง หรือ ใช้ไม่ถูกวิธี ก็มีโอกาสที่จะได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากไฟฟ้าช็อต หรือ ไฟฟ้าดูดได้ โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนแบบนี้ ยิ่งต้องระวังให้ดี

ไฟดูด –> เกิดเมื่อร่างกายสัมผัสกับชิ้นส่วน หรือ อุปกรณ์ที่มีไฟฟ้ารั่ว ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าสู่ร่างกายลงไปยังพื้นดิน ทำให้กล้ามเนื้อภายในร่างกายได้รับความเสียหาย มีแผลไหม้ มีอาการเกร็ง ชัก หมดสติ อาจส่งผลให้หัวใจทำงานผิดจังหวะ หัวใจเต้นอ่อนลงจนหยุดเต้น และเสียชีวิตได้ในที่สุด

ไฟช็อต –> คือ ไฟฟ้าลัดวงจร เกิดจากการโอนกระแสไฟฟ้าจากสายไฟเส้นหนึ่งไปยังเส้นอื่น ๆ โดยไม่ผ่านอุปกรณ์โหลด หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าใด ๆ ทำให้เกิดความร้อนสูงในจุดที่มีการลัดวงจร อาจทำให้เกิดประกายไฟขึ้น และเป็นเหตุให้ไฟไหม้บ้านเรือนได้

วันนี้ มีวิธีป้องกันอันตรายจาก “ไฟฟ้าช็อต” และ “ไฟฟ้าดูด” ที่เพื่อน ๆ สามารถเรียนรู้และปฏิบัติตามได้ง่าย ๆ เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินภายในบ้าน

1. หมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ
2. ระวังอย่าให้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟ เปียกน้ำ หรือ มีความชื้นสะสม
3. มือเปียก หรือ ตัวเปียก ห้ามจับอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยเด็ดขาด
4. ติดตั้งสายดิน และเครื่องตัดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้านให้เรียบร้อย
5. ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่าง กับ ปลั๊กไฟตัวเดียว
6. วางสายไฟให้พ้นทางเดิน และไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากทับสายไฟ
7. ควรซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุดให้เรียบร้อย ห้ามซ่อมเอง โดยที่ไม่มีความรู้
8. เลือกอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
กรณีเกิดน้ำท่วมบ้าน
1. ควรตัดการจ่ายกระแสไฟฟ้าภายในบ้าน และงดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด เพราะอาจเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วได้
2. หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำเข้าใกล้ปลั๊กไฟ สายไฟอุปกรณ์ที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า หรือ เสาไฟฟ้า เพราะอาจมีไฟฟ้ารั่วกระจายออกมาเป็นวงกว้างได้
3. อย่าแตะอุปกรณ์ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียบปลั๊กอยู่ ในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น หรือ สัมผัสน้ำที่พื้น

ขอบคุณข้อมูลจาก สสวท.

RANDOM

มจธ.ร่วมมือ ม.เกียวโต จัดเวทีที่มุ่งเน้นการนำเสนอความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

คณะมนุษยศาสตร์ ม.เกษตรฯ รับสมัครงาน ตำแหน่ง “อาจารย์ภาษาเยอรมัน – เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป” สำหรับ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เปิดรับสมัครถึง 17 ต.ค. 66 และ ตำแหน่ง อาจารย์ภาษาเยอรมัน เปิดรับสมัครถึง 3 พ.ย. 66

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล รับสมัครคัดเลือก ‘ผู้ช่วยวิจัย’ คุณวุฒิป.โท ด้านวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ชีวเคมี ชีววิทยา หรือ วิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดรับสมัครแล้ว – 14 ตุลาคม นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!