สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เชิญชวนผู้สนใจร่วมแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร และการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 1
วัตถุประสงค์ของการแข่งขัน
1. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตร และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้านการเพาะปลูกและดูแลรักษาพืช
2. เพื่อเชิดชูเกียรติเกษตรกรหรือบุคคล ที่ประสบความสำเร็จในการใช้งานเทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตร
3. เพื่อยกระดับทักษะการควบคุมและซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร และประกอบอาชีพด้านการให้บริการโดรนเพื่อการเกษตร
1. การแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร
ประเภทการแข่งขัน รางวัล และเงินรางวัล
การแข่งเป็นประเภทการเก็บคะแนน จำนวน 2 รอบ โดยแบ่งเป็น
รอบแรก ระดับภูมิภาค โดย จำกัดทีมที่เข้าแข่งขัน จำนวน ภูมิภาคละ 100 ทีม ทีมละ 3-4 คน โดยแบ่งเป็น 5 สนามแข่งขัน ผู้ที่ได้อันดับ 1 ถึง 20 ของแต่ละภูมิภาค จะได้เข้ารอบสุดท้ายระดับประเทศ
* เมื่อมีการลงทะเบียนครบ 100 ทีม ในภูมิภาคนั้น ทีมที่สมัครมาทีหลังจะต้องทำการแข่งขันในภูมิภาคที่ยังมีจำนวนไม่ครบ ทางผู้จัดงานจะประกาศให้ทราบต่อไป
รอบสุดท้าย ระดับประเทศ โดย ทีมที่ผ่านการแข่งขันรอบแรก ระดับภูมิภาค จำนวนภูมิภาคละ 20 ทีม รวมทั้งหมด 100 ทีม จะได้เข้ามาแข่งขันรอบสุดท้ายที่พื้นที่ส่วนกลางที่ทางผู้จัดการแข่งขันกำหนด
รางวัลและเงินรางวัล
รอบแรก ระดับภูมิภาค 5 ภูมิภาค
อันดับที่ 1 เงินรางวัล 50,000 บาท
อันดับที่ 2 เงินรางวัล 30,000 บาท
อันดับที่ 3 เงินรางวัล 10,000 บาท
* จำนวนเงินดังกล่าวจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 5% ตามระเบียบของกรมสรรพากร
รอบสุดท้าย ระดับประเทศ
อันดับที่ 1 ถ้วยพระราชทานฯ จำนวน 1 ถ้วย และเหรียญทอง จำนวน 3 เหรียญ และเงินรางวัล 100,000 บาท
อันดับที่ 2 เหรียญเงิน จำนวน 3 เหรียญ และเงินรางวัล 50,000 บาท
อันดับที่ 3 เหรียญทองแดง จำนวน 3 เหรียญ และเงินรางวัล 20,000 บาท
* จำนวนเงินดังกล่าวจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 5% ตามระเบียบของกรมสรรพากร
** ทีมที่ได้รับเงินรางวัล สามารถรับได้ในพิธีรับถ้วยพระราชทานฯ การแข่งขันรอบสุดท้าย ระดับประเทศ ในวัน เวลา สถานที่ ที่ผู้จัดการแข่งขันกำหนด
การสมัครเข้าร่วมแข่งขัน
เปิดรับสมัครทั่วประเทศ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2567
– ภาคใต้ ปิดรับสมัคร วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2567
– ภาคกลาง และตะวันตก ปิดรับสมัคร วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2567
– ภาคตะวันออก ปิดรับสมัคร วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปิดรับสมัคร วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2567
– ภาคเหนือ ปิดรับสมัคร วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ ไลน์แอด : @TADC2024
ติดต่อสอบถาม อีเมล otodrace@gmail.com
โทร. 098-239-0784 , 098-239-0785
คุณสมบัติและสิทธิของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
– ผู้เข้าแข่งขัน ประชาชนทั่วไป สัญชาติไทย อายุ 20 ปี ถึง 60 ปี
– ผู้เข้าแข่งขันทีมละ 3-4 คน สำรอง 2 คน โดยมีการระบุหน้าที่ของแต่ละคนลงในใบสมัครเข้าร่วมแข่งขัน และจะต้องมีโดรนเพื่อการเกษตร ขนาด 16 ถึง 25 ลิตร ไม่กำหนดยี่ห้อและสัญชาติ จำนวนอย่างน้อย 1 ลำ
– ยื่นใบสมัครพร้อมหลักฐาน และลงทะเบียนเข้าร่วมแข่งขัน ประกอบด้วย
• บัตรประจำตัวประชาชน (ทุกคนภายในทีม)
• ใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ โดย คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)
• ใบแสดงการครอบครองของโดรนเพื่อการเกษตรถูกต้องตามกฎหมาย
• ใบสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน
คุณสมบัติของโดรนเพื่อการเกษตร
– โดรนเพื่อการเกษตร ขนาด 16 ถึง 25 ลิตร ไม่กำหนดรุ่น ยี่ห้อ และสัญชาติ
– ผ่านการขึ้นทะเบียนใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ โดย คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
– รองรับการควบคุมโดยรีโมท และ/หรือ ระบบโปรแกรมบังคับการบินผ่านอุปกรณ์ Smart Phone หรือ Tablet
– รองรับระบบการควบคุมการบินอัตโนมัติ
– มีระบบเรดาร์ หรือ เซนเซอร์กันชน และ เรดาร์ หรือ เซนเซอร์พื้น เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการบิน
– มีจำนวนใบพัด ไม่น้อยกว่า 4 ใบพัด และจำนวนหัวฉีด ไม่เกินกว่า 8 หัวฉีด
– จัดเตรียมแบตเตอรี่หลัก แบตเตอรี่สำรอง เครื่องชาร์จแบตเตอรี่
– มีกล้องติดด้านหน้า เพื่อช่วยการควบคุม ตรวจสอบการทำงานโดยผู้บังคับ
– มีการตรวจสภาพความพร้อมในการบิน
2. การแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร
ประเภทการแข่งขัน รางวัลและเงินรางวัล
การแข่งเป็นประเภทการเก็บคะแนน จำนวน 2 รอบ โดยแบ่งเป็น
รอบแรก ระดับภูมิภาค โดย จำกัดทีมที่เข้าแข่งขัน จำนวน ภูมิภาคละ 20 ทีม ทีมละ 2 คน โดยแบ่งเป็น 5 สนามแข่งขัน ผู้ที่ได้อันดับ 1 ถึง 10 ของแต่ละภูมิภาค จะได้เข้ารอบสุดท้ายระดับประเทศ
* เมื่อมีการลงทะเบียนครบ 20 ทีม ในภูมิภาคนั้น ทีมที่สมัครมาทีหลังจะต้องทำการแข่งขันในภูมิภาคที่ยังมีจำนวนไม่ครบ ทางผู้จัดงานจะประกาศให้ทราบต่อไป
รอบสุดท้าย ระดับประเทศ โดย ทีมที่ผ่านการแข่งขันรอบแรก ระดับภูมิภาค จำนวนภูมิภาคละ 10 ทีม รวมทั้งหมด 50 ทีม จะได้เข้ามาแข่งขันรอบสุดท้ายที่พื้นที่ส่วนกลางที่ทางผู้จัดการแข่งขันกำหนด
รางวัลและเงินรางวัล
รอบแรก ระดับภูมิภาค 5 ภูมิภาค
อันดับที่ 1 เงินรางวัล 30,000 บาท
อันดับที่ 2 เงินรางวัล 20,000 บาท
อันดับที่ 3 เงินรางวัล 10,000 บาท
* จำนวนเงินดังกล่าวจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 5% ตามระเบียบของกรมสรรพากร
รอบสุดท้าย ระดับประเทศ
อันดับที่ 1 ถ้วยพระราชทานฯ จำนวน 1 ถ้วย และ เหรียญทอง จำนวน 3 เหรียญ และเงินรางวัล 50,000 บาท
อันดับที่ 2 เหรียญเงิน จำนวน 3 เหรียญ และเงินรางวัล 30,000 บาท
อันดับที่ 3 เหรียญทองแดง จำนวน 3 เหรียญ และเงินรางวัล 10,000 บาท
* จำนวนเงินดังกล่าวจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 5% ตามระเบียบของกรมสรรพากร
** ทีมที่ได้รับเงินรางวัล สามารถรับได้ในพิธีรับถ้วยพระราชทานฯ การแข่งขัน
รอบสุดท้าย ระดับประเทศ ในวัน เวลา สถานที่ ที่ผู้จัดการแข่งขันกำหนด
การสมัครเข้าร่วมแข่งขัน
เปิดรับสมัครทั่วประเทศ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2567
– ภาคใต้ ปิดรับสมัคร วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2567
– ภาคกลาง และตะวันตก ปิดรับสมัคร วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2567
– ภาคตะวันออก ปิดรับสมัคร วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปิดรับสมัคร วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2567
– ภาคเหนือ ปิดรับสมัคร วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ ไลน์แอด : @TADC2024
ติดต่อสอบถาม อีเมล otodrace@gmail.com
โทร. 098-239-0784, 098-239-0785
คุณสมบัติและสิทธิของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
– ผู้เข้าแข่งขัน ประชาชนทั่วไป สัญชาติไทย อายุ 20 ปี ถึง 60 ปี
– ผู้เข้าแข่งขันทีมละ 3 คน สำรอง 2 คน
– ยื่นใบสมัครพร้อมหลักฐาน และลงทะเบียนเข้าร่วมแข่งขัน ประกอบด้วย
• บัตรประชาชน (ทุกคนภายในทีม)
• ใบสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน
– อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1) สว่านไร้สาย 2) คีมย้ำรีเวท 3) คีมปากจิ้งจก 4) คีมปากแบน 5) ค้อนยาง 6) ชุดกุญแจปากตาย 7) ชุดหกเหลี่ยม 8) เครื่องเป่าลม 9) ชุดไขควง 10) อื่น ๆ ที่จำเป็น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://shorturl.asia/RJ0Sg
อ้างอิงจาก https://shorturl.asia/qcL6j