วิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกับ วิทยุจุฬาฯ และ กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ชวนน้อง ๆ ร่วมประกวดในโครงการ Green Mission by Chula X Gulf : ภารกิจรักษ์ยั่งยืน หัวข้อ “Beware Your Step : ก้าวต่อไป ไร้รอยเท้า” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 100,000 บาท

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย FM 101.5 MHz. และ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เชิญชวนนักเรียนมัธยมศึกษา หรือ เทียบเท่า สมัครเข้าร่วมประกวด โครงการ “Green Mission by Chula X Gulf : ภารกิจรักษ์ยั่งยืน” ในหัวข้อ “Beware Your Step : ก้าวต่อไป ไร้รอยเท้า” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 100,000 บาท พร้อมประกาศเกียรติคุณ

วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ เกี่ยวกับสภาพปัญหา ความสำคัญและแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามบริบททางสิ่งแวดล้อม และสังคมวัฒนธรรมของประเทศไทย
2. เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในบริบทที่เหมาะสม สำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไป ผ่านโครงการฯ และสื่อประชาสัมพันธ์ของโครงการฯ

กลุ่มเป้าหมาย
เยาวชน อายุ 15-18 ปี จากทุกภูมิภาคของประเทศไทย ส่งใบสมัครเป็นทีม ๆ ละ 3 คน พร้อมตอบคำถามเพื่อรับการคัดเลือก

การดำเนินโครงการ
1. รับสมัครเป็นทีม โดย ใน 1 ทีม สมาชิก จำนวน 4 คน ประกอบด้วย
(1) นักเรียน (เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ ไม่เกินระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ เทียบเท่า และมีอายุไม่เกิน 18 ปี) จำนวน 3 คน
(2) ครูและ/หรือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ จำนวน 1 คน โดยทีมที่ต้องการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ จะต้องกรอกข้อมูลและตอบคำถามในใบสมัครให้ครบถ้วน และส่งใบสมัครภายในวันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน 2567 ทั้งนี้ ผู้สมัคร 1 คน สามารถเป็นสมาชิกทีมได้เพียง 1 ทีม เท่านั้น

2. คัดเลือกทีมผู้สมัครจากการตอบคำถามในใบสมัคร จำนวน 20 ทีม เพื่อเข้าร่วมโครงการฯ
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 20 ทีม (จำนวน 80 คน) เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ ของ โครงการ Green Mission by Chula X Gulf ภารกิจรักษ์ยั่งยืน หัวข้อ “Beware Your Step: ก้าวต่อไป ไร้รอยเท้า” เป็นเวลา 4 วัน 3 คืน ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี (ทั้งนี้ ผู้สมัครแต่ละทีมจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเข้าร่วมอบรม และค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนา)

ประกาศผลการคัดเลือก 20 ทีม วันที่ 7 ตุลาคม 2567
ทีมที่ผ่านการคัดเลือก 20 ทีม เข้าร่วมกิจกรรม ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ.สระบุรี
วันที่ 22 ตุลาคม 2567 เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าอุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันที่ 22-24 ตุลาคม 2567 อบรม Boot Camp
วันที่ 25 ตุลาคม 2567 การแข่งขัน Hackathon รอบชิงชนะเลิศ
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 20 ทีม จะต้องเข้าร่วมกิจกรรมการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกระบวนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization) ของโครงการฯ จึงจะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ

3. การคัดเลือกทีมผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย จำนวน 8 ทีม ผ่านแบบทดสอบภายในกิจกรรม โดยใช้เกณฑ์ตัดสิน ดังนี้
– ความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
– ความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
– การคิดเชิงวิเคราะห์ และการจัดการกับสถานการณ์เฉพาะหน้า
– การสร้างการมีส่วนร่วม
– ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

4. การแข่งขันการสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน (Hackathon) รอบชิงชนะเลิศ ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
(1) ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้าย ทั้ง 8 ทีม จะต้องเข้าร่วมการแข่งขันการสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน (Hackathon) รอบชิงชนะเลิศ
(2) คณะกรรมการโครงการฯ ตัดสินผลการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ จากการนำเสนอผลการดำเนินงาน (oral presentation) โดยมีเกณฑ์ในการตัดสิน ดังนี้
– ความรู้ ความเข้าใจ ด้านการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (15%)
– แนวทางการจัดการ และนวัตกรรมสามารถนำไปใช้ได้จริง (20%)
– แนวทางการจัดการ และนวัตกรรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในบริบทอื่น (20%)
– ความโดดเด่นของแนวทางการจัดการ และนวัตกรรม (30%)
– ความน่าสนใจของการนำเสนอ (15%)
*หมายเหตุ การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

5. ทีมที่ชนะการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ จะได้รับรางวัล ดังรายละเอียดต่อไปนี้
รางวัลที่ 1 : เงินรางวัล 40,000 บาท จำนวน 1 รางวัล พร้อมประกาศเกียรติคุณ
รางวัลที่ 2 : เงินรางวัล 20,000 บาท จำนวน 1 รางวัล พร้อมประกาศเกียรติคุณ
รางวัลที่ 3 : เงินรางวัล 10,000 บาท จำนวน 1 รางวัล พร้อมประกาศเกียรติคุณ
รางวัลชมเชย : เงินรางวัลทีมละ 5,000 บาท จำนวน 5 รางวัล พร้อมประกาศเกียรติคุณ
รางวัล Popular Vote by Gulf : เงินรางวัล 10,000 บาท จำนวน 1 รางวัล
รางวัลรวมมูลค่า 105,000 บาท

6. ระยะเวลาการดำเนินโครงการ
– เดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2567
– เปิดรับสมัครวันที่ 1 สิงหาคม 2567
– ปิดรับสมัคร วันที่ 30 กันยายน 2567
– ประกาศผลการคัดเลือก 20 ทีม วันที่ 7 ตุลาคม 2567
– ทีมที่ผ่านการคัดเลือก 20 ทีม เข้าร่วมอบรม Boot camp และ แข่งขัน Hackathon วันที่ 22-25 ตุลาคม 2567

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 
คุณวลีรัตน์ มีกุล โทร. 02-218-0685 waleerat.m@chula.ac.th
คุณอติภา ต่วนชื่น โทร. 02 -18-0686 atipa.t@chula.ac.th
Inbox Facebook/curadio
Facebook/EnviInsider
Line@chularadioplus

สมัครเข้าร่วมกิจกรรม https://shorturl.asia/joLIF

อ้างอิงจาก https://shorturl.asia/5bLmq

RANDOM

เดลินิวส์ จัดแข่งกอล์ฟการกุศล 60 ปี ชิงถ้วยรางวัลของ “องคมนตรี-พลากร สุวรรณรัฐ” และนายกฯเศรษฐา ทวีสิน ที่สนามราชพฤกษ์ กำหนดมีขึ้นในวันจันทร์ที่ 4 มี.ค.นี้ หารายได้เข้ามูลนิธิแสง-ไซกี เหตระกูล เพื่อออกหน่วยแพทย์และช่วยโรงพยาบาลขาดแคลน รวมถึงสาธารณกุศลด้านการศึกษาและอื่นๆด้วย

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!