บพท. ชู “ทุนพื้นที่ที่หลากหลาย” โจทย์ตั้งต้น สู่ “การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก” ให้อยู่รอดในยุคการแข่งขันสูง

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter
“เป้าใหญ่การทำงานของเรา คือ การหนุนเศรษฐกิจฐานราก เพราะเราพูดถึงโมเดลการพัฒนาประเทศแบบใหม่ ที่ไม่ใช่การสร้าง Growth Engine หรือ สร้าง New S-Curve แต่เป็นการไปเสริมและพัฒนาทักษะทั้ง Upskill และ Reskill ให้เศรษฐกิจฐานรากสามารถอยู่รอดในยุคที่ต้องแข่งขันกันสูง”
.
.
ส่วนหนึ่งจากเสียงสะท้อนของ ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่แสดงมุมมองต่องานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจฐานราก และความเข้มแข็งของชุมชน
.
นอกจากนี้ การใช้ Global Trend เข้ามาเป็นแรงหนุนในการขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงพื้นที่ ถือเป็นเรื่องที่ต้องทำควบคู่กันไป เพราะเป็นความก้าวหน้าของสายเทคโนโลยี และกลุ่มอุตสาหกรรม แต่พบว่า หากมุ่งแค่พัฒนาไปตามกระแสของโลก จะเกิดปัญหาที่ตามมา ได้แก่ 1. ผู้ประกอบการรายใหญ่เกิดขึ้นได้ แต่รายเล็กเกิดขึ้นยาก เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจในมุมนี้ จะเกิดความมั่งคั่งที่กระจุกตัว โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ กลุ่มคนที่เข้าถึงเทคโนโลยี เข้าถึงตลาด เข้าถึงทุน เกิดการจ้างงาน แต่กลับพบว่า โอกาสที่ผู้ประกอบการรายเล็ก จะเติบโตนั้นค่อนข้างยาก เพราะโดนควบคุมด้วยอุตสาหกรรมรายใหญ่  2. เกิดการจ้างงานน้อยลง เนื่องจากโดนควบคุมด้วยเทคโนโลยีเป็นหลัก และต้องใช้แรงงานที่มีทักษะขั้นสูงตามเทคโนโลยี
.
.
จากปัญหาดังกล่าว ดร.กิตติ แสดงทรรศนะว่า ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางทุนวัฒนธรรม ดังนั้น โมเดลสำหรับการพัฒนาประเทศ คือ ต้องใช้ทุนในประเทศที่มีอยู่มาต่อยอด แม้ว่าจะมีมวลรวมเศรษฐกิจไม่มาก แต่สามารถกระจายรายได้สูง ในรูปแบบ BCG Economy Model ซึ่งเป็นอีกกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโต สามารถกระจายโอกาส กระจายรายได้ไปสู่ชุมชนและท้องถิ่นอย่างทั่วถึง จากนั้นจึงหาเป้าหมายที่จะขับเคลื่อน หรือเรียกว่า ผู้ประกอบการชุมชน
.
ทั้งนี้ การสร้างให้ผู้ประกอบการรายย่อยเข้มแข็งได้ ต้องใช้งานวิจัยเชิงพื้นที่เข้าไปหนุนเสริม โดยไม่ทิ้งอัตลักษณ์ หรือ บริบทของพื้นที่นั้น ๆ ภายใต้ หลักการ “กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยต้องเติบโตและมีส่วนแบ่งกับตลาดได้ทุกระดับ แล้วขยายไปสู่ตลาดโลก”
.
จากการลงพื้นที่ที่นักวิจัยไปเจอ คือ มีกลุ่มอาชีพครัวเรือนแบบเศรษฐกิจพอเพียง ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน หรือ ยังไม่ได้ตั้งเป็นกลุ่มอย่างเป็นทางการ เช่น กลุ่มอาชีพการเลี้ยงกบ เลี้ยงปู เลี้ยงปลา กลุ่มจักสาน ฯลฯ พอเกิดกลุ่มหลาย ๆ กลุ่มรวมกันแล้ว เรียกว่า เครือข่ายธุรกิจชุมชน ซึ่งหากมีการเข้าไปหนุนเสริมจากทุนที่เขามีอยู่แล้ว จะเกิดการสร้างรายได้ สร้างคุณค่าได้มากขึ้น” 
.
.
ท้ายที่สุด สิ่งสำคัญของการฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก คือ การหนุนผู้ประกอบการรายย่อยที่ยังไม่เข้มแข็ง ให้สามารถลุกขึ้นมา สร้างงาน สร้างอาชีพ ที่จะเชื่อมโยงไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางการเงินในระดับท้องถิ่น มีรายได้เพียงพอสำหรับความต้องการพื้นฐาน สามารถพัฒนาตนเองได้ ดูแลครอบครัวชุมชนตัวเองต่อไปในอนาคต ที่จะนำไปสู่การลดความยากจน และเพิ่มโอกาสทางสังคม อีกทั้งโมเดลการพัฒนาแบบนี้สร้าง “สำนึกท้องถิ่น” ให้กับคนและกลไกในพื้นที่ให้รักษ์ถิ่นฐานบ้านเกิดของตัวเองอย่างยั่งยืนต่อไป
.
หน่วยบริหารและจัดการทุนเพื่อการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีเป้าหมายหลัก คือ การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและความเข้มแข็งของชุมชน ให้มีศักยภาพในการแข่งขัน สามารถพึ่งพาตนเองได้ และกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-109-5432 ต่อ 811 หรือที่  อีเมล pmua@nxpo.or.th

RANDOM

IBA (ไอบ้า) ปลดล็อกความกังวล เมื่อยอมอ่อนข้อ ปล่อยนักมวย เจ้าหน้าที่เทคนิค และโค้ช สังกัด IBA เข้าช่วยการแข่งขัน European Games 2023 เพื่อคัดสู่โอลิมปิกเกมส์ 2024 ภายใต้ การดำเนินการของโอลิมปิกสากลแล้ว

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!