สถาบันฯ iNT ม.มหิดล เดินหน้าขับเคลื่อนต่อยอดนวัตกรรมและงานวิจัย ตั้งเป้าสร้างผลกระทบเชิงบวกด้วยองค์ความรู้ ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้สังคม

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

มหาวิทยาลัยมหิดล เดินหน้าขับเคลื่อนกลยุทธ์ MU Synergy ต่อยอดความสำเร็จทางการศึกษาและงานวิจัยที่เป็น Real World Impact และ Academic Impact สร้างผลกระทบเชิงบวกบนแนวทางการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรรักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การต่อยอดการศึกษาและการวิจัยไปสู่ความสำเร็จใน Real World Impact ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science) และการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแบบองค์รวม (Holistic well-being) ระดับโลกเป็นโจทย์สำคัญ ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดด รวมถึงภาคสังคมที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aging Society) จึงจำเป็นต้องพัฒนาในเรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม Health Aging และความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดกลุ่มโรคใหม่ หรือ การเพิ่มขึ้นของโรคติดเชื้อ NCDs ดังนั้น จากจุดแข็งของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีอยู่ 37 คณะ จัดการเรียนการสอนใน 3 ส่วน คือ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสังคมศาสตร์มนุษยวิทยาและการจัดการ เป็นจุดแข็งในความเชี่ยวชาญที่ครบถ้วนในสหสาขาวิชา จึงมีหน้าที่นำโจทย์ต่าง ๆ มาคิดและหาคำตอบ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อหาทางออกให้กับสังคมในด้านต่าง ๆ จึงได้สร้างกลไกเชื่อมโยงและกำหนดทิศทางการประสานความร่วมมือ ทั้งในด้านสานภารกิจวิจัย (Synergy Research) เพิ่มอำนาจผู้เรียน (Empowering Learners) และขยายผลสัมฤทธิ์ (Amplifying Operation) ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs) ซึ่งการจะทำให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือและบูรณาการร่วมกันในทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสนับสนุนการทำงานให้ก้าวหน้าได้อย่างมั่นคง และเกิดประโยชน์กับสังคมทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

จากมหาวิทยาลัยสู่ศูนย์กลาง สร้างนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติ

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT เป็นส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีเป้าหมายในการนำเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย ไปสู่ศูนย์กลางด้านนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติ

รศ.ดร. ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ รักษาการแทน ผู้อำนวยการสถาบันฯ iNT เปิดเผยถึงจุดยืนและเป้าหมายที่ชัดเจนว่า เราเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่สนับสนุนงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการต่อยอดเชิงพาณิชย์ งานบริการวิจัยและวิชาการ ส่งเสริมการสร้าง Entrepreneurial Ecosystem รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับ หน่วยงานในทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมและบ่มเพาะให้เกิดงานนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงสังคมและพาณิชย์ ซึ่งการจัดตั้งสถาบันฯ เป็นการสร้างกลไกที่ใช้ขับเคลื่อนการดำเนินงานภายในมหาวิทยาลัย ให้สามารถช่วยเหลือสังคมและชุมชน ผ่านการต่อยอดสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม บริหารจัดการเทคโนโลยี เพื่อประโยชน์สุขแก่มนุษยชาติ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

ฟันเฟืองสำคัญ ผลักดัน ขับเคลื่อน เชื่อมโยง

ถ้าจะโฟกัสให้เห็นภาพ จะเห็นว่า iNT ทำหน้าที่เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญ ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย หากจะมองมวลรวมความสำเร็จกับผลงาน 4 ปีที่ผ่านมา ของ iNT (2564 – 2567) กับ การบ่มเพาะ Startup / Spin-Off กว่า 120 ทีม จำนวนทรัพย์สินทางปัญญาจากผลงานวิจัย สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายทางการค้า รวมกว่า 2,800 ผลงาน รายได้จากผลงาน หรือ ทรัพย์สินทางปัญญา จากการอนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ มูลค่ารวมกว่า 120 ล้านบาท และโครงการบริการวิจัยและให้บริการทางวิชาการ มากกว่า 1,300 ล้านบาท

ไม่ใช่แค่มหาวิทยาลัย แต่เป็นที่สร้าง Real World Impact

iNT ชูยุทธศาสตร์เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนว่า เราไม่ใช่แค่มหาวิทยาลัย แต่เป็นที่สร้าง Real World Impact เตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ผลักดันสร้างสรรค์โครงการมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การจัดตั้งศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักวิจัยของมหาวิทยาลัย และ ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม โครงการ iNT Accelerate จาก การสนับสนุนของ บพข. เพื่อพัฒนาต่อยอดนวัตกรรม โดยเฉพาะ Deep Tech ผ่านกระบวนการ Acceleration Program โดยจะโฟกัสทางด้าน Health and Wellness โครงการ Mahidol Entrepreneurship Technology & Innovation (METI SCHOOL) สนับสนุนการพัฒนาทักษะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ส่งผลต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต โครงการ Mahidol Innovation Valley การพัฒนาพื้นที่ย่านนวัตกรรม เชื่อมโยงความร่วมมือ เกิดการผลิตและแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน นำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมและสิ่งใหม่ต่อไป

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) จะร่วมผลักดันการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยสู่การนำไปใช้ประโยชน์ สร้าง Real World Impact สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คนและโลกยุคใหม่ในอนาคตต่อไป

RANDOM

มูลนิธิสัมมาชีพคัดเลือก 5 บุคคลรับรางวัล “ปราชญ์ชาวบ้านต้นแบบ”ปี 2565 เพื่อเชิดชูปราชญ์ท้องถิ่นที่นำความรู้ ประสบการณ์ สร้างสรรค์งานที่ก่อให้เกิดคุณค่าและเผยแพร่ความรู้ต่อสังคม ก่อให้เกิดการนำไปปฏิบัติในวงกว้าง

NEWS

“ส.ส.ดร๊าฟ” ยื่นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับรวมไทยสร้างชาติ รื้อ ลด ปลด สร้างการศึกษาที่ตอบโจทย์ ต่อประธานสภา เชื่อหากผ่านสภาฯ จะเป็นประโยชน์ต่อ ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น สังคม และประเทศชาติต่อไป

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!