รู้หรือไม่…14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” ชื่อนี้มีที่มาอย่างไร

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

เมื่อครั้งที่ ในหลวง ร.9 เสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่แห้งแล้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ทรงรับทราบถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และ การเกษตร ขณะเดียวกัน ก็ทรงสังเกตเห็นปริมาณเมฆที่ปกคลุมท้องฟ้าจำนวนมาก แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวจนเกิดเป็นฝนได้ ทั้งที่อยู่ในช่วงฤดูฝน พระองค์จึงดำริว่า น่าจะมีวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อตัวรวมเป็นเม็ดฝนได้

พระองค์จึงทรงค้นคว้าและวิจัยทางด้านอุตุนิยมวิทยาเพิ่มเติม แล้วจึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรวิศวกรรม ของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในขณะนั้น เพื่อหาลู่ทางให้เกิดการทดลองปฏิบัติการจริงบนท้องฟ้า

ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทดลองทำปฏิบัติการฝนหลวง โดยเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองแห่งแรก การทดลองดังกล่าว เป็นตัวบ่งชี้ว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนนั้นทำได้ และความสำเร็จดังกล่าว ส่งผลให้มีการพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอดโครงการฝนหลวง มาจนถึงปัจจุบัน

คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” เพื่อเฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.9 ให้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” และจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย ให้ประชาชนคนรุ่นหลังได้มีโอกาสแสดงความจงรักภักดี และชื่นชมในพระปรีชาสามารถของพระองค์สืบไป

ขอบคุณข้อมูลจาก สสวท.

 

RANDOM

“เครือซีพี” ร่วมเคียงข้างทุกการต่อสู้นักกีฬาไทย ด้วยอาหารและการสื่อสาร ในศึกเอเชียนเกมส์ และเอเชียนพาราเกมส์ 2022 ต่อเนื่องปีที่ 7 รวมทั้งยกทัพ ซูเปอร์สตาร์ ทีมชาติไทย ร่วมยืนยันความพร้อมสุดคึกคัก!

วธ. เดินหน้าจัดกิจกรรม “ขับเคลื่อนวัฒนธรรมสร้างสรรค์สัญจร” ปี 2 ออนทัวร์สู่สถานศึกษา 4 ภูมิภาค สร้างภูมิคุ้มกันรู้เท่าทันสื่อและภัยคุกคาม ตั้งเป้าขยายเครือข่ายเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมครอบคลุมทั่วประเทศ

NEWS

ประกวดภาพถ่าย ร่วมฉลอง 60 ปี ม.เชียงใหม่ ในโครงการ “ภาพแห่งความทรงจำ ความสวยงามที่ยั่งยืนผ่านเลนส์” หัวข้อ “ภาพแห่งความทรงจำ ความสวยงามที่ยั่งยืนผ่านเลนส์” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 140,000 บาท ส่งผลงานได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 20 ธ.ค. 2567

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!