จุฬาฯ จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ‘Together for Sustainable Tomorrow’ ตั้งเป้าพัฒนางานวิจัยเชิงลึก พร้อมจัดกิจกรรมเพื่อความยั่งยืน ที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน “จุฬาฯ – มหาวิทยาลัยมหิดล” Together for Sustainable Tomorrow เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ส่งเสริมงานวิจัย นวัตกรรม จัดกิจกรรมเพื่อสร้างสรรค์สังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน 

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการศึกษา การวิจัย และนวัตกรรม เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาบุคลากร นิสิต นักศึกษา รวมถึงการพัฒนาทักษะชีวิต และความเป็นผู้นำ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมด้านวิชาการ กิจกรรมสำหรับนิสิต นักศึกษา และการประชุมสัมมนาระดับชาติและนานาชาติ ตลอดจนสนับสนุนโครงการวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและเศรษฐกิจ และสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน ส่งเสริมกิจกรรมอาสาสมัคร และกิจกรรมเพื่อสังคมที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต และสร้างประโยชน์ให้กับสังคม และการพัฒนาความยั่งยืน รวมทั้งพัฒนากิจกรรมที่สร้างสรรค์สำหรับนิสิต นักศึกษาในการเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม และการมีส่วนร่วมในชุมชน

ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของคณาจารย์และบุคลากรเท่านั้น แต่นิสิตมีส่วนร่วมที่สำคัญในเรื่องนี้ โครงการความร่วมมือระหว่างทั้งสองมหาวิทยาลัยนี้ นอกเหนือจากโครงการวิจัยร่วมกัน ซึ่ง จุฬาฯ และ มหิดล ได้ดำเนินการอยู่แล้ว และภายใต้โครงการความร่วมมือในครั้งนี้ จะมีโครงการวิจัยในระดับลึกมากขึ้น โดยมีนวัตกรรม และ AI ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน นอกจากนี้จะมีกิจกรรมในลักษณะกิจกรรมประเพณีเพื่อสังคมระหว่าง จุฬาฯ และ มหิดล ซึ่งจะจัดในเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2568 ซึ่งความร่วมมือกันในครั้งนี้ทั้งสองมหาวิทยาลัย เล็งเห็นว่า การสร้างพลังระหว่างนิสิตนักศึกษาทั้งสองมหาวิทยาลัย จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นิสิตเกิดการเรียนรู้การทำงานร่วมกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของความยั่งยืน คือ การพัฒนาประชาคมโลก (Global Citizen)

ด้าน ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดล มีความโดดเด่นด้าน Health Science และ Science and Technology การที่สองมหาวิทยาลัยมาร่วมมือกัน จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างนิสิต นักศึกษา รวมถึงนักวิจัยของสองมหาวิทยาลัย อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคม โดยมุ่งเน้นเรื่องความยั่งยืนและ SDGs ความร่วมมือระหว่างสองมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ มีเป้าหมายในการผลิตคนที่มีคุณสมบัติตอบโจทย์โลกยุคใหม่ โดยเฉพาะทักษะจำเป็นในอนาคต หรือที่เรียกว่า Transferable Skills ที่เป็นแนวทางการจัดการศึกษาในโลกยุคใหม่ มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่จำเป็น และฝึกฝน Soft Skill ตลอดจนความร่วมมือทางวิชาการ งานวิจัย และกิจกรรมเพื่อสังคมและความยั่งยืน ที่จะช่วยสานพลังในการสร้างผลกระทบเชิงบวก และความยั่งยืนให้กับประเทศ

อ้างอิงจาก https://shorturl.asia/XmUu3

RANDOM

NEWS

มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ ร.6 ชวนน้อง ๆ และผู้ปกครองเที่ยวงานวันเด็ก ย้อนอดีตเรียนรู้วิถีไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 พร้อมร่วมสนุกกับกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เข้าชมงานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย พบกัน เสาร์ที่ 11 ม.ค. นี้ ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ภายในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี

สาขาวิทยาการหุ่นยนต์สุขภาพ ม.หัวเฉียว มอบทุนเรียนฟรี จำนวน 10 ทุน เรียนที่เดียว ได้รับ 2 ปริญญา ทั้ง วิทยาศาสตรบัณฑิต ม.หัวเฉียว และ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สจล. เปิดรับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 31 ม.ค. 68

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!