อยากรู้มั้ย…สีพลุเกิดจากอะไร?

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

เทศกาลปีใหม่ ถือเป็นงานเฉลิมฉลองวันแห่งความสุขของทุกคน หนึ่งไฮไลท์ของงาน คือ การจุดพลุเฉลิมฉลองการก้าวเข้าสู่ปีใหม่ ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจทุกครั้งที่ได้รับชม แต่เคยสงสัยมั้ย สีสันต่าง ๆ ของพลุนั้น เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เรามาค้นหาคำตอบกันดีกว่า

กลไกที่เกิดขึ้นในพลุ
พลุมีส่วนผสมหลัก คือ ดินปืน กับ เม็ดดาวที่เป็นก้อนกลมเล็ก ๆ ของเกล็ดสารประกอบทางเคมี เมื่อเราจุดไฟที่ชนวนของพลุ ไฟจะลุกไหม้จนถึงดินปืน ทำให้ปลดปล่อยแก๊สออกซิเจนออกมา และทำให้ไฟติด การเผาไหม้ส่งแรงปะทุให้ไส้พลุพุ่งทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า เมื่อไส้พลุเดินทางขึ้นสู่ท้องฟ้า ชนวนควบคุมเวลาการระเบิดจะเกิดการเผาไหม้ และเมื่อสัมผัสกับส่วนผสมต่าง ๆ ภายใน ทำให้ไส้พลุระเบิดออก เม็ดดาวแตกกระจายออกมา และให้สีสันสวยงามอย่างที่เราเห็นบนท้องฟ้า

สารประกอบทางเคมีแต่ละชนิดที่บรรจุอยู่ภายในพลุ ประกอบด้วย ไอออนโลหะต่างชนิดกัน และให้สีสันที่แตกต่างกัน เช่น
สีเหลือง >> โซเดียม (Na)
สีส้ม >> แคลเซียม (Ca)
สีแดง >> สตรอนเซียม (Sr)
สีเขียว >> แบเรียม (Ba)
สีน้ำเงิน >> ทองแดง (Cu)
สีเงิน >> อะลูมิเนียม (Al) หรือ แมกนีเซียม (Mg)
สีม่วง >> สตรอนเซียม (Sr) + ทองแดง (Cu)

หลักการที่เกิดขึ้นภายในอะตอม
เมื่อจุดพลุ ไอออนโลหะที่เป็นส่วนประกอบภายใน จะได้รับพลังงานความร้อน พลังงานที่เพิ่มขึ้นไปกระตุ้นให้อิเล็กตรอนมีพลังงานสูงขึ้น และเปลี่ยนจากสถานะพื้น (ground state) ขึ้นไปอยู่ในสถานะกระตุ้น (excited state) ที่สถานะนี้อะตอมจะไม่เสถียร เนื่องจากมีพลังงานสูง อิเล็กตรอนจึงคายพลังงานออกมา เพื่อกลับสู่สถานะที่อะตอมมีพลังงานต่ำลง และเสถียรมากขึ้น โดยพลังงานส่วนใหญ่ที่คายออกมา จะปรากฏในรูปพลังงานแสง ทำให้เราเห็นเป็นสีพลุที่สวยงามแตกต่างกันนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก สสวท.

RANDOM

มูลนิธิเอสซีจี ชวนเยาวชนไทยหัวใจศิลป์ มาปลดปล่อยพลังสร้างสรรค์ ในโครงการประกวด “รางวัลยุวศิลปินไทย 2567” ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และเงินรางวัลรวม 3,300,000 บาท

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!