นันทนาการภายหลังโควิด19

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

 

การระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก คือ รูปแบบของกิจกรรมนันทนาการที่หลายกิจกรรมถูกยกเลิกการจัดไป ไม่สามารถจัดได้ และหลายกิจกรรมถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการจัดออนไลน์ รวมทั้งกิจกรรมที่จัดแบบกลุ่มก็ถูกปรับเป็นแบบกลุ่มที่เล็กลง หรือบางกิจกรรมใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาทดแทนการพบกันแบบเผชิญหน้า (Face to Face)

แม้รูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการแบบใหม่นี้ จะสามารถทดแทนได้บ้าง แต่จะทำให้คุณค่าของกิจกรรมนันทนาการนั้นๆ ลดลงไปอย่างน่าเสียดาย เช่น ด้านสุขภาพกาย มนุษย์ยังคงต้องการการเคลื่อนไหว  การขาดกิจกรรมทางกายเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้ระบบกล้ามเนื้อไม่พัฒนา เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Disease, NCD) ต่างๆ ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 พบว่า ประชากรทั่วโลกมีกิจกรรมทางกายลดลง โดยเฉพาะในประเทศไทยลดลงถึงร้อยละ 19.1 (ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิยาลัยมหิดล, 2563) ดังนั้น กิจกรรมทางกาย (Physical Activity, PA) ที่คนได้เคลื่อนไหวเต็มที่ทั้งในร่มและกลางแจ้งยังคงมีความจำเป็นสำหรับคนทุกวัย

ด้านสุขภาพจิต ในช่วงยากลำบากนี้ คนยิ่งจำเป็นต้องมีกิจกรรมนันทนาการเพื่อบรรเทาความเครียดและสร้างแรงบันดาลใจ แต่ด้วยความเสี่ยงต่อการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดมาตรการที่ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวได้ ทำให้คนต้องเผชิญกับปัญหาความกังวล หวาดกลัวทั้งเรื่องสุขภาพและเศรษฐกิจก่อให้เกิดความเครียดเรื้อรัง (Chronic Stress) อันเป็นสาเหตุสำคัญของโรค NCD ต่างๆ ซึ่งอันที่จริงแล้วในภาวะเช่นนี้ กิจกรรมนันทนาการที่ทำเพื่อความบันเทิง รื่นเริง ยังคงต้องมีเพื่อปรับสมดุลของอารมณ์ และสร้างพลังในการดำรงชีวิตในแต่ละวันให้กับประชาชน

ด้านสุขภาพสังคม กิจกรรมนันทนาการหลายกิจกรรมถูกปรับให้จัดเป็นออนไลน์ หรือจัดในรูปแบบกลุ่มเล็กๆ ทำให้โอกาสในการเข้าสังคมลดลงอย่างมาก ซึ่งอันที่จริงมนุษย์เป็นสัตว์สังคม และการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมยังคงจำเป็นต่อการปรับตัว เรียนรู้กฎของสังคมที่เหมาะสมของเด็กและก่อให้เกิดความสุขไม่เงียบเหงาเบื่อหน่ายกับชีวิตในแต่ละวันของผู้สูงอายุ ดังนั้น กิจกรรมทางสังคมจึงมีความจำเป็นต่อมนุษย์อันไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การปรับมาใช้เทคโนโลยีออนไลน์ทดแทนนั้นก็ไม่สามารถทำให้เกิดคุณค่าที่เหมือนกันได้ และสุดท้ายการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการที่ก่อให้เกิดการพัฒนาสุขภาพทั้งสามด้านที่กล่าวมาแล้วจะช่วยพัฒนา สุขภาพจิตวิญญาณ ตามมา ทำให้เกิดการเห็นคุณค่ากับการมีชีวิตอยู่ รักเพื่อนมนุษย์ เกิดความมั่นใจความภาคภูมิใจในตนเอง ลดปัญหาการฆ่าตัวตาย เกิดสังคมที่มีคุณภาพตามมา

ดังนั้น แม้ว่าเชื้อไวรัสนี้จะกลายพันธุ์และอยู่กับเราไปอีกแสนนานหรืออาจมีโรคระบาดอื่นๆ เข้ามาอีกในอนาคตแต่กิจกรรมนันทนาการที่จัดในรูปแบบที่หลากหลายทั้งแบบดั้งเดิมและNew Normal ให้คนได้มีความสุขได้พบปะกันยังคงเป็นสิ่งจำเป็น ไม่สามารถจะระงับได้เป็นระยะเวลานานๆ ทั้งนี้รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ จะต้องหาวิธีให้คนในประเทศได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติให้เร็วที่สุดและปลอดภัยที่สุดเพื่อป้องกันการเกิดความเจ็บป่วยของประชาชนที่อาจเกิดตามมาจากการขาดกิจกรรมนันทนาการหลังจากหมดช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อไป

 

RANDOM

มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ เดินหน้าโรงเรียนต้นแบบอาหารและโภชนาการ S.M.A.R.T.S. Model school ในโครงการ “อายิโนะโมะโต๊ะ โภชนาการเพื่อเด็กไทย ก้าวไกลสร้างชาติ” เสริมแกร่งโครงการอาหารกลางวันเด็กไทย โรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สมัครด่วน! หมดเขต 31 ธ.ค. นี้

มูลนิธิเอสซีจี ชวนเยาวชนไทยหัวใจศิลป์ มาปลดปล่อยพลังสร้างสรรค์ ในโครงการประกวด “รางวัลยุวศิลปินไทย 2567” ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และเงินรางวัลรวม 3,300,000 บาท

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!