ชัยชนะของนักกีฬาสตรีของสหรัฐ จากการเรียกร้องความเสมอภาค

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

22 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมามีความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สะท้อนถึงความเท่าเทียมกันในวงการกีฬา เมื่อทีมฟุตบอลหญิงของสหรัฐอเมริกาสามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนที่เท่ากัน (Equal pay) ที่มีสหพันธ์ฟุตบอลแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Soccer Federation) โดยสหพันธ์ฟุตบอลแห่งสหรัฐอเมริกายินยอมที่จะจ่ายเงิน 22 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับนักฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐอเมริกา (มีคนเข้าร่วมฟ้องร้อง 28 คน) และจะมีการจัดสรรเงินจำนวน 2 ล้านเหรียญ (เพิ่มเติมจากวงเงิน 22 ล้านเหรียญสหรัฐ) จะถูกกันไว้สำหรับเป็นกองทุนให้นักฟุตบอลหญิงสามารถกู้ยืมในภาวะฉุกเฉินได้คนละไม่เกิน 50,000 เหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้ยังได้มีการบรรลุข้อตกลงที่สหพันธ์ฟุตบอลแห่งสหรัฐอเมริกายินยอมที่จะจ่ายเบี้ยเลี้ยงและโบนัสที่เท่ากันระหว่างนักฟุตบอลชายและนักฟุตบอลหญิงในการแข่งขันฟุตบอลนัดกระชับมิตรและการแข่งขันฟุตบอลโลกอีกด้วย

ปัญหาเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันเป็นปัญหาใหญ่ในวงการกีฬามาอย่างยาวนาน ถึงแม้ว่าจะมีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มจำนวนนักกีฬาหญิงจะทำให้เกิดการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆได้มากขึ้น จากรายงานของ Pew Research Center พบว่าในสหรัฐอเมริกาค่าตอบแทนของผู้หญิงอยู่ที่ 84% ของผู้ชาย ทำให้ผู้หญิงต้องทำงานเพิ่มมากถึงประมาณ 1 เดือนครึ่ง (42 วัน) จึงจะมีค่าตอบแทนเท่ากับผู้ชาย ซึ่งความห่างระหว่างค่าตอบแทนที่ได้รับของผู้ชายและผู้หญิงมีแนวโน้มคงที่ช่วงปี 2020 ที่ผ่านไป

แต่สำหรับในวงการกีฬาความห่างระหว่างค่าตอบแทนของนักกีฬาชายและนักกีฬาหญิงไม่ได้มีแนวโน้มที่ลดลงแต่อย่างใด เช่นในปี 2019-2020 Stephen Curry นักบาส NBA ที่ทำรายได้สูงสุดมีรายได้มากถึง 40 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ De Wanna Bonner นักบาส WNBA ที่ทำรายได้สูงสุดมีรายได้เพียง 127,000 เหรียญสหรัฐ Lionel Messi นักฟุตบอลชายที่มีรายได้สูงสุดมีรายได้มากกว่า Carli Lloyd นักฟุตบอลหญิงที่มีรายได้สูงสุด ซึ่ง Carli Lloyd มีรายได้เพียงแค่ 0.3% ของ Lionel Messi เท่านั้น

นักวิชาการหลายท่านออกมาชี้ประเด็นว่าเนื่องจากการแข่งขันของนักกีฬาเพศหญิงไม่ได้รับการติดตามจึงทำให้ตลาดของนักกีฬาหญิงเล็กกว่าตลาดของนักกีฬาชาย ทำให้นักกีฬาหญิงมีรายได้น้อยกว่านักกีฬาชายมาก แต่ Dr. Laura Claus กล่าวว่ารายได้ของนักกีฬาเป็นตัวชี้นำตลาดดังนั้นถ้านักกีฬาหญิงมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้ตลาดของการแข่งขันนักกีฬาหญิงเป็นที่ติดตามเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ซึ่งความเห็นดังกล่าวสะท้อนกับการจัดการของ NCAA องค์กรการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกาที่พบว่าการแข่งขันของนักกีฬาหญิงได้รับการประเมินคุณค่าต่ำเกินไป (undervalue) เมื่อเทียบกับการแข่งขันของนักกีฬาชายทำให้โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ห้อง weight training ห้องพักนักกีฬาของนักกีฬาหญิงมีสภาพที่แตกต่างจากนักกีฬาชายอย่างมาก ทำให้ NCAA จะเข้ามาสนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียมกันเพิ่มมากขึ้น

Dr. Laura Claus ยังได้ถอดบทเรียนของกีฬาเทนนิสว่ากีฬาเทนนิสทำอย่างไรจึงสามารถจ่ายค่าตอบแทนหรือเงินรางวัลที่เท่ากันระหว่างนักเทนนิสชายและนักเทนนิสหญิงได้ โดยมีบทเรียนของกีฬาเทนนิสที่ เช่นการเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหว (movement) ในกลุ่มต่างๆ เช่นในกรณีของเทนนิสที่ Billie Jean King ที่สนับสนุนให้เกิด WTA และเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวของสิทธิสตรี หรือแม้กระทั่งในการเคลื่อนไหวของนักฟุตบอลหญิงของสหรัฐที่เรียกร้องไปยังสาธารณชน การสร้างองค์กรที่ดูแลการแข่งขันของนักกีฬาหญิงโดยเฉพาะเช่น WTA ที่เน้นว่าเป็นกีฬาเดียวกันแต่การแข่งขันคนละประเภท

แต่ที่สำคัญที่สุดคือการสร้างต้นแบบนักกีฬา (Role Model) ให้กับสาธารณชน ซึ่งในกรณีนี้ประเทศไทยก็เคยประสบความสำเร็จมาแล้วกับการสร้างต้นแบบนักกีฬาหญิง ไม่ว่าจะเป็นนักวอลเลย์บอลหญิง เช่นคุณปลื้มจิต ถินขาว คุณวิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์ หรือจะเป็นเร็วๆนี้ในกรณีของคุณเทนนิส พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ ซึ่งต้นแบบนักกีฬาเหล่านี้ทำให้กีฬาหญิงของประเทศไทยประสบความสำเร็จในระดับโลกอย่างต่อเนื่อง

 

                                                                                                                                รศ.ดร. ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์

                                                                                                                                คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

                                                                                                                                จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

RANDOM

สพฐ. เดินหน้าหนุนการเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) เฟส 2 ขับเคลื่อนการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มเทคโนโลยีดิจิทัลต่อเนื่อง พร้อมเช่าอุปกรณ์การเรียนการสอน รองรับ 29,312 โรงเรียนในสังกัดทั่วประเทศ

กรมพลศึกษา ขอเชิญสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สมัครเข้าร่วมการประกวดต้นแบบบริหารกายหน้าเสาธง ประจําปี 2567 ชิงเงินรางวัล พร้อมโล่รางวัล รับสมัครและส่งคลิปการออกกําลังกายได้ ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 14 มิถุนายน 2567 

NEWS

สสส. ร่วมกับ สคล. เชิญชวนโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม “มารู้จักเจ้าชายภูมิพลกันเถอะ” ดาวน์โหลดรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ ‘โรงเรียนคำพ่อสอน.com’ พร้อมรับเกียรติบัตรจากทางโครงการฯ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกวดเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ “ASEAN-IPR Cybersecurity Youth Essay Competition” ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการประชุม ASEAN-IPR Regional Conference on Cybersecurity และมีโอกาสนำเสนอเรียงความในที่ประชุมดังกล่าว สมัครด่วน หมดเขต 22 พ.ย. นี้

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!