ไม้หวงห้าม ประเภท ก ตัดอย่างไร ไม่ติดคุก !

แชร์บทความ

Share on facebook
Share on twitter

Station Thai วันนี้ เอาเรื่องการตัดไม้หวงห้ามมาฝากครับ สืบเนื่องมาจากช่วงนี้ มีฝนตกหนักบ่อยครั้ง ส่งผลให้ต้นไม้ที่ปลูกไว้ตามบ้านเรือน รวมทั้งวัชพืญเติบโตเร็วมาก รวมทั้งบ้านของแอดมินด้วย เลยต้องใช้บริการช่างให้มาตัดแต่งต้นไม้ให้ โชคดีที่บ้านแอดมินไม่มีไม้หวงห้ามเลย แต่ถ้าบ้านของท่านใดปลูกไม้หวงห้ามเอาไว้ ก่อนจะตัดแต่งต้นไม้ อย่าลืมแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนนะครับ ไม่เช่นนั้นอาจต้องรับโทษได้

ชนิดของต้นไม้ในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ก่อนตัดจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อน

ไม้หวงห้ามประเภท ก ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดในประเทศไทย แม้จะปลูกไว้ในที่ดินของตนเอง หรือจะกระทำการใด ๆ ต่อไม้ ต้องยื่นคำขออนุญาตทำไม้ เพื่อการใช้สอยส่วนตัวต่ออำเภอ หรือสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดในท้องที่ ตามขั้นตอนการขออนุญาตทำไม้สักและไม้ยางในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ตามข้อกำหนดฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2530)

ทั้งนี้ ไม้หวงห้ามประเภท ก ได้แก่ ไม้พะยูง ไม้สัก ไม้กระพี้เขาควาย ไม้ชิงชัน ไม้ยาง เป็นต้น เป็นไม้ที่ห้ามตัดเอง ต้องได้รับอนุญาตจากทางการเสียก่อน ถึงจะดำเนินการได้ ไม่ว่าต้นไม้เหล่านั้น จะขึ้นอยู่ที่ใดในผืนแผ่นดินประเทศไทยก็ตาม หรือปลูกไว้ในบริเวณที่ของตนเอง หรือจะทำอะไรกับไม้ก็ตาม เช่น ตัด ฟัน โค่น เลื่อย ถอน ขุด เป็นต้น ถ้าหากฝ่าฝืนมีความผิด มีโทษจำคุก 1 – 20 ปี และถูกปรับ ตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 2,000,000 บาท

กรณีขออนุญาตตัดไม้

หากมีความจำเป็นจะต้องตัดไม้ในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งมีเอกสารสิทธิ ต้องแจ้ง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งอยู่ที่ศาลากลางทุกจังหวัด โดยให้เตรียมเอกสาร ดังนี้

1.สำเนาทะเบียนบ้าน

2.สำเนาบัตรประชาชน

3.หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน

4.แผนที่ โดยสังเขป (ถ้ามี)

กรณีเหตุจากภัยธรรมชาติ

หากต้นไม้หวงห้าม เกิดโค่นล้มตามภัยพิบัติตามธรรมชาติ หรือ ไม้ล้มขอนนอนไพร คือ ไม้ที่ล้มตายเอง และอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เช่น กีดขวางทางเดิน หรือล้มทับบ้านเรือน ในบริเวณเขตที่ดินสาธารณะหรือของตนเอง ให้แจ้งกำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน ไปติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ ร่วมกันให้ความช่วยเหลือ

ขั้นตอนการขออนุญาต ตัดไม้หวงห้าม 5 ชนิด

1. ผู้ขอยื่นคำร้อง

2. นายอำเภอท้องที่ ส่งเรื่องให้จังหวัดพิจารณา ภายใน 7 วัน เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่ดินกับกรมที่ดิน

3.ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา (ผ่านสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) แจ้งสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ท้องที่เพื่อพิจารณา เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสถานที่ และตำแหน่งของไม้ พร้อมความเห็นตามหลักเกณฑ์

4. กรณีอนุญาต ให้รับใบอนุญาตทำไม้ ไม่ต้องเสียค่าภาคหลวง แต่เสียค่าธรรมเนียม (20 บาท และ 5 บาท) ออกใบเบิกทางนำไม้ไปใช้ประโยชน์ตามคำขอ กรณีไม่อนุญาต แจ้งผู้ขอให้ทราบ

5.รายงานกรมป่าไม้

ที่มา : กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สายด่วนกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โทร. 1111 กด 77
สายด่วนกรมป่าไม้ โทร. 1310 กด 3

ขอบคุณข้อมูล จาก สำนักงานกิจการยุติธรรม

RANDOM

APCO ร่วมกับ มูลนิธิพอ จัดกิจกรรมส่งความสุขมอบพลังบวกให้น้อง ๆ บ้านโฮมฮัก ต้อนรับเทศกาลปีใหม่ หนุนใช้นวัตกรรมภูมิคุ้มกันบำบัด เพื่อฟื้นฟูและบำบัดเด็กติดเชื้อ มุ่งสู่เป้าหมาย Bye Bye HIV

กกท.และเจ้าภาพกาญจนบุรี ร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 48 และกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 38 “กาญจนบุรีเกมส์” เพื่อแบ่งสายแข่งกีฬาเรียบร้อยและวางงานทุกด้านครบครันแล้ว

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!