การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ไม่เพียงแต่ต้องเข้าใจพื้นฐาน และปัญหาของชุมชน แต่ยังต้องใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ นี่คือสิ่งที่นวัตกรชุมชน จาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และชาวบ้านในจังหวัดแพร่ได้ร่วมกันทำ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมห้อมพื้นบ้านให้มีคุณภาพดีขึ้น คงทนยิ่งขึ้น และมีอัตลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้น นายวิทวัส นวลอินทร์ หรือ “พี่เค” นวัตกรชุมชนจากชุดโครงการกรุ่นกลิ่นเสน่ห์ห้อมย้อมห้อมธรรมชาติ สร้างเศรษฐกิจท่องเที่ยววัฒนธรรมเวียงโกศัย ที่ได้รับการสนับสนุนจาก บพท. อธิบายว่า เราเริ่มต้นโครงการวิจัยนี้ เพราะพบว่าผ้าย้อมห้อมธรรมชาติที่ผู้บริโภคซื้อใช้งาน มักมีปัญหาสีตก สีซีดเร็ว ซึ่งทำให้ไม่ได้รับความนิยม และถูกแทนที่ด้วยการย้อมเคมี ซึ่งเป็นที่นิยม เนื่องจากต้นทุนถูก และมีกระบวนการที่รวดเร็ว แต่ขณะเดียวกัน การใช้สารเคมีบางชนิดในการย้อม อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ผลิต หากไม่มีการป้องกันที่ดีเพียงพอ ดังนั้น การผลิตห้อมจากธรรมชาติ ที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม จึงเป็นทางออกทั้งในเรื่องของสุขภาพ ระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม และการรักษาคุณค่าทางวัฒนธรรม จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ผ้าย้อมห้อมมีคุณภาพดีขึ้น มาจากการใช้เทคโนโลยีพลาสมา เป็นการนำอากาศมาทำให้แตกตัว และปล่อยอนุมูลอิสระออกมา เพื่อปรับปรุงพื้นผิวของเส้นใยผ้า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีของเส้นใย ทำให้ผ้ามีความสามารถในการดูดซึมสีได้ดีขึ้น สีติดทนนานกว่าเดิม และยังช่วยป้องกันการซีดและป้องกันแสง UV ได้อีกด้วย พี่เค กล่าวถึงกระบวนการนี้ว่า เมื่อเราเอาพลาสมามาใช้กับเส้นใยธรรมชาติ จะเกิดคุณสมบัติที่เรียกว่า …
ฟื้นอัตลักษณ์ ‘ผ้าย้อมห้อมเมืองแพร่’ ด้วย นวัตกรรม ‘เครื่องมือพลาสมา’ ยกระดับรายได้ชุมชน อนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านให้คงอยู่ต่อไป Read More »