Piyanuch Meemuang

นักกอล์ฟเยาวชนไทย เข้าพบผู้ว่า กกท. ก่อนลุยศึกสวิงเยาวชนนานาชาติเวิลด์สตาร์ ที่ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา

เมื่อวันพุธที่ 8 มิถุนายน 2565 ดร.อมร นันทวกุล รองประธานชมรมนักกอล์ฟเยาวชนไทย หรือ  Junior Golf of Thailand Club และโปรลิขิต ชัยกิจ ผู้อำนวยการ การแข่งขัน ได้นำคณะนักกอล์ฟเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกให้ได้รับทุนไปแข่งขันกอล์ฟเยาวชนนานาชาติ “เวิลด์ สตาร์ ออฟ จูเนียร์ กอล์ฟ ทัวร์นาเม้นท์” ซึ่งจะทำการแข่งขันระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน นี้ ณ สนามแองเจิล ปาร์ค กอล์ฟคลับ เมืองลาสเวกัส รัฐเนวาด้า สหรัฐอเมริกา เข้าพบ ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อรับฟังโอวาทก่อนเดินทางไปแข่งขัน ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา การกีฬาแห่งประเทศไทย โดย ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ให้โอวาทว่า “พวกเราเป็นนักกีฬาที่เก่ง อยากจะให้เราทั้งเก่ง …

นักกอล์ฟเยาวชนไทย เข้าพบผู้ว่า กกท. ก่อนลุยศึกสวิงเยาวชนนานาชาติเวิลด์สตาร์ ที่ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา Read More »

12 กระทรวง ผนึกกำลัง พัฒนาศักยภาพเด็กไทย “เก่งดี มีทักษะ แข็งแรง” เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 65 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพเด็กไทย “เก่งดี มีทักษะ แข็งแรง” ในศตวรรษที่ 21 พ.ศ. 2565 – 2570 ภายใต้ความร่วมมือจาก 12 กระทรวง ซึ่งความร่วมมือดังกล่าว จะทำให้เด็กไทยสามารถเข้าถึงการบริการทางสาธารณสุข การศึกษา และการปกป้องคุ้มครองที่จำเป็น พัฒนาไปสู่การเป็น “คนคุณภาพ” ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต อย่างไรก็ตาม การเสริมสร้างให้เด็กไทยทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพในทุกมิติ เป็นสิ่งที่รัฐบาลตั้งใจขับเคลื่อน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนเป็นหลัก ซึ่งสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ที่ส่งเสริมการพัฒนาคนทุกช่วงวัย ให้มีความพร้อมรอบด้าน และเติบโตอย่างสมดุล สามารถดำเนินชีวิตในโลกยุคใหม่ได้อย่างมั่นคง

ก.แรงงาน เปิดรับสมัครงานกว่า 300 อัตรา ตำแหน่งพยาบาล-ช่าง ไปทำงานที่ซาอุดีอาระเบีย รับสมัคร 15-23 มิ.ย. นี้

กระทรวงแรงงาน เปิดรับสมัครคนหางานเพื่อไปทำงานที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย กับ นายจ้าง บริษัท DR. SULAIMAN AL HABIB MEDICAL SERVICES GROUP CO. ซึ่งประกอบกิจการบริการทางการแพทย์ จำนวนกว่า 300 อัตรา แบ่งเป็น พยาบาลวิชาชีพ 100 อัตรา พยาบาลผู้ดูแล 100 อัตรา และผู้ช่วยพยาบาล 100 อัตรา นอกจากนี้ ยังเปิดรับสมัครตำแหน่งช่างเชื่อม 3 อัตรา ช่างไฟฟ้าอุตสาหกรรม 3 อัตรา และผู้ควบคุมเครื่องกลึง 3 อัตรา ทำงานกับนายจ้าง บริษัท AL-SHARQ POLYSTYRENE FACTORY COMPANY LTD. ผู้ที่ประสงค์จะสมัครงานไปทำงานที่ซาอุฯ สามารถยื่นใบสมัครด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 15 – 23 มิ.ย. 65 ได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัด , …

ก.แรงงาน เปิดรับสมัครงานกว่า 300 อัตรา ตำแหน่งพยาบาล-ช่าง ไปทำงานที่ซาอุดีอาระเบีย รับสมัคร 15-23 มิ.ย. นี้ Read More »

อาชีวะอุบลฯ สร้างต้นแบบ 5 บุปผาราชินี เตรียมประดิษฐ์ตกแต่งในนิทรรศการเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการฝึกอบรม ประดิษฐ์ดอกไม้ป่าพระราชทาน 5 ชนิด ดำเนินงานโดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ทั้งนี้ นางลฎาภา แสวงทรัพย์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ได้รับมอบหมายจากทางจังหวัดอุบลราชธานี ให้ดำเนินการออกแบบและประดิษฐ์ดอกไม้ป่าที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานนาม ให้กับอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ 1. ดุสิตา ชื่อท้องถิ่น หญ้าข้าวก่ำน้อย 2. ทิพย์เกสร ชื่อท้องถิ่น หญ้าฝอยเล็ก 3. สรัสจันทร ชื่อท้องถิ่น หญ้าหนวดเสือ 4. สร้อยสุวรรณา ชื่อท้องถิ่น หญ้าสีทอง และ 5. มณีเทวา ชื่อท้องถิ่น กระดุมเงิน สำหรับกิจกรรมในการฝึกอบรมนั้น มีตัวแทนหน่วยงานเครือข่ายต้นแบบ จำนวน 6 หน่วยงาน รวม 30 คน ประกอบด้วย …

อาชีวะอุบลฯ สร้างต้นแบบ 5 บุปผาราชินี เตรียมประดิษฐ์ตกแต่งในนิทรรศการเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา พระบรมราชชนนีพันปีหลวง Read More »

วท.นิคมอุตสาหกรรมระยอง ร่วมมือ ชุมชนวัดชากลูกหญ้า ทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิลเพื่อการศึกษา

ชุมชนวัดชากลูกหญ้า จับมือ วิทยาลัยเทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จัดกิจกรรมทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิล เพื่อการศึกษา โดยได้รับเกียรติจาก นายสุเมธ คนทา รองนายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด เป็นประธานนำชุมชนวัดชากลูกหญ้า ครู และนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง เจ้าหน้าที่สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิล เพื่อการศึกษา โดยมี พระสมุห์เมธา สุเมโธ เจ้าอาวาสวัดซอยคีรี ประธานฝ่ายสงฆ์ นำพระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุลกองผ้าป่า พร้อมด้วย นายกิตติพงค์ อุตตะเมเวทิน ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง นายวัชระ กันตังกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นางสาวนภาพัฒน์ อู่เจริญ ประธานชุมชนวัดชากลูกหญ้า และนางสาวบุปผาพรรณ พานทอน ผู้แทนผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ร่วมกิจกรรม ณ วิทยาลัยเทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง จ.ระยอง ภายในงานมีกิจกรรมซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักรกลการเกษตรให้กับประชาชน และมีการเปิดประมูลเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์สำนักงาน ซึ่งได้รับบริจาคมา เพื่อนำเงินส่วนหนึ่งเป็นทุนการศึกษาด้วย โดยกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการคัดแยกขยะ รวมทั้งสร้างจิตสำนึก และวินัยในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน การลดขยะต้นทางให้กับทุกภาคส่วน  

นิติศาสตร์ จุฬาฯ จับมือ Chandler MHM บริษัทกฎหมายยักษ์ใหญ่ เปิดโครงการ “THE LAWNCH PAD for lawyers” พัฒนาทักษะนักศึกษากฎหมายทั่วประเทศ

คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บริษัท แชนด์เล่อร์ เอ็มเอชเอ็ม ซึ่งเป็นบริษัทกฏหมายขนาดใหญ่ ร่วมกันจัดโครงการ “THE LAWNCH PAD for lawyers” เพื่อเปิดโอกาสให้แก่นิสิตนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายในคณะนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งมีความสนใจในการประกอบอาชีพเป็นที่ปรึกษากฎหมายใน law firms ได้มีโอกาสเสริมสร้างและฝึกฝนทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงาน ทั้งในส่วนของทักษะทางกฎหมายในเนื้องานในแผนกต่าง ๆ (Legal Skills) และทักษะอื่น ๆ ที่จำเป็นในการทำงาน (Essential Non- Legal Skills) ผ่านการฝึกปฏิบัติจากกรณีศึกษา เพื่อก้าวเข้าสู่ชีวิตการทำงานด้วยความพร้อมทั้งความรู้และทักษะในการทำงานได้จริง ผศ. ดร. ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงโครงการดังกล่าวว่า “โครงการนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากโครงการทักษะสำคัญในการทำงานด้านกฎหมาย (Essential Skills for Legal Practice) ซึ่งทางคณะฯ ได้ร่วมกับหน่วยงานชั้นนำในวิชาชีพทางกฎหมายต่าง ๆ ในการเตรียมพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการทำงานด้านกฎหมายให้แก่นิสิตชั้นปีสุดท้ายของคณะฯ ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ถึง ต้นเดือนพฤษภาคม 2565 …

นิติศาสตร์ จุฬาฯ จับมือ Chandler MHM บริษัทกฎหมายยักษ์ใหญ่ เปิดโครงการ “THE LAWNCH PAD for lawyers” พัฒนาทักษะนักศึกษากฎหมายทั่วประเทศ Read More »

จุฬาฯ รักษาแชมป์ ครองที่ 1 มหาวิทยาลัยไทย 14 ปีติดต่อกัน จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก 2023

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก QS World University Rankings 2023 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทยอีกครั้ง เป็นการครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยเป็นปีที่ 14 ติดต่อกัน (ตั้งแต่ปี 2009) และติดอันดับ 224 ของโลก QS World University Rankings 2023 จัดโดย QS Quacquarelli Symonds สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย เมื่อ 9 มิถุนายน 2565 มีสถาบันอุดมศึกษาร่วมการจัดอันดับ 1,422 แห่งจากทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 122 แห่ง โดยตัวชี้วัดในด้านสัดส่วนของอาจารย์ต่อนิสิต และสัดส่วนของนิสิตชาวต่างชาติ จุฬาฯ ได้คะแนนในปีนี้สูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว การจัดอันดับ QS World University Rankings 2023 พิจารณาจากตัวชี้วัด 6 ด้าน ที่มีการคำนวณค่าน้ำหนักที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย …

จุฬาฯ รักษาแชมป์ ครองที่ 1 มหาวิทยาลัยไทย 14 ปีติดต่อกัน จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก 2023 Read More »

ศธ. ผนึกกำลัง คุรุสภา เตรียมปรับหลักสูตรผลิตครู ลดปัญหาสอบไม่ผ่านใบประกอบวิชาชีพ

วันที่ 8 มิถุนายน 2565 ที่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคุรุสภา มอบนโยบายและรับฟังความคิดเห็นในการประชุมสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 เพื่อหารือเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของคุรุสภา โดยมี รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย รศ.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และ รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รักษาการเลขาธิการคุรุสภา เข้าร่วมด้วย รมว.ศธ. เปิดเผยว่า การประชุมในวันนี้ได้หารือเกี่ยวกับการปรับระบบขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งเป็นเหมือนจุดคัดกรองมาตรฐานของครู ให้ผู้ปกครองมั่นใจได้ว่าโรงเรียนจะมีครูที่มีคุณภาพให้บุตรหลาน แต่ในช่วงที่ผ่านมา มีอัตราการสอบผ่านลดลง เนื่องจากสอบไม่ผ่านในบางวิชา เช่น วิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องมองในสภาพความเป็นจริงว่า ครูในบางสาขาวิชาเอกที่ไม่ใช่วิชาภาษาอังกฤษอาจจะไม่ได้มีความถนัด และอาจเป็นการจำกัดโอกาสของนิสิตนักศึกษาครูที่เรียนจบมาแล้ว ไม่สามารถสอบผ่านใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ แต่เกณฑ์การคัดเลือกก็ยังจำเป็นต่อการรักษาคุณภาพไว้ ทาง ศธ.จึงหารือร่วมกับ สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในฐานะต้นทางของการผลิตครู เพื่อปรับหลักสูตรการสอนให้เสริมย้ำความรู้ที่จำเป็นให้แก่นิสิตนักศึกษาครู เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการประกอบอาชีพ โดยกระทรวงศึกษาธิการ และ คุรุสภา จะปรับระบบและกฎระเบียบการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ให้มีความยืดหยุ่นเหมาะสมยิ่งขึ้น …

ศธ. ผนึกกำลัง คุรุสภา เตรียมปรับหลักสูตรผลิตครู ลดปัญหาสอบไม่ผ่านใบประกอบวิชาชีพ Read More »

ครม. เห็นชอบโครงการ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” รองรับนักเรียนตกหล่นจากระบบการศึกษา และผู้ที่ขาดโอกาสทางการศึกษา

เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 65 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” ในสถานศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) 88 แห่งทั่วประเทศ รองรับนักเรียนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา และเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล จำนวน 5,280 คน สถานศึกษา 88 แห่ง แห่งละ 60 คน ทั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย และส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาศักยภาพกำลังคน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งปลูกฝังค่านิยมด้านคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักเรียนสายอาชีพ ที่มีฐานะยากจน ขาดโอกาสทางการศึกษา หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล ให้มีทักษะวิชาชีพ สามารถทำงานประกอบอาชีพได้ และเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มปริมาณผู้เรียน สร้างทางเลือกสำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีความสนใจในการเรียนต่อสายอาชีพให้เข้าสู่การศึกษาระดับอาชีวศึกษา และเมื่อนักเรียนจบการศึกษาแล้วจะได้รับวุฒิการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และสามารถสร้างความมั่นคงในการประกอบวิชาชีพได้ พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาสายอาชีพที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 …

ครม. เห็นชอบโครงการ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” รองรับนักเรียนตกหล่นจากระบบการศึกษา และผู้ที่ขาดโอกาสทางการศึกษา Read More »

ไทยเดินหน้าพัฒนาการศึกษาต่อเนื่อง เน้นคุณภาพที่ดีขึ้น ครอบคลุม และเสมอภาคสำหรับประชาชนทุกคน

เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 65 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานปิดการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (การศึกษา 2030) ครั้งที่ 2 (APREMC II) ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ การประชุม APREMC-II ในปี 2565 ครั้งนี้ เป็นเวทีร่วมกันวิเคราะห์ความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 ด้านการศึกษาที่มีคุณภาพและครอบคลุม ภายหลังผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งก่อให้เกิดความผันผวนที่คาดการณ์ไม่ได้ และมีผลกระทบต่อการศึกษา ทั้งในระดับโลกและภูมิภาค รวมถึงผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เรียน ในส่วนของประเทศไทย รมว.ศึกษาธิการ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการด้านการศึกษา เช่น การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล, การให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษา ภายใต้ศูนย์ “MOE Safety Center”, การเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ภายใต้โครงการ “พาน้องกลับมาเรียน” เพื่อค้นหา ติดตามเด็กตกหล่น และออกกลางคัน กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา, …

ไทยเดินหน้าพัฒนาการศึกษาต่อเนื่อง เน้นคุณภาพที่ดีขึ้น ครอบคลุม และเสมอภาคสำหรับประชาชนทุกคน Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!