Lerpop Sorutana

ม้าคูณเฮงเฮง เข้าวินตามการวิจารณ์ที่นี่ ส่วนม้าเกรซฟูลเนส พลิกความคาดหมายจ่ายแยะ ในศึกม้าแข่ง 7 ก.ค.2567 ที่สนามฝรั่ง

     แฟนที่เชียร์ ม้าคูณเฮงเฮง ได้เฮ เมื่อวิ่งฉิวเข้าวินตามการวิจารณ์ที่นี่ ส่วนม้าเกรซฟูลเนส พลิกความคาดหมายจ่ายแยะ 44 บาท หลังชนะมาที่ได้รับการมองว่าเต็งสำเร็จ ในศึกม้าแข่ง 7 ก.ค.2567 ที่สนามฝรั่ง ซึ่งรายละเอียดผลแข่งทั้ง 10 เที่ยวแข่ง มีตามนี้ครับ  

“ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง” ส.ส.พรรครวมไทยสร้างชาติ หนุนร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา ชี้ กองทุนพัฒนาการอุดมศึกษา เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคน

     รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้อภิปรายระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ว่า      อันดับแรกตนเองพร้อมสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เนื่องจากสาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา คือการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา จากการศึกษาของตนนั้นพบว่า กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา จะก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อประชาชน ต่อสถาบันการศึกษา และการพัฒนาประเทศในด้านการศึกษา      สำหรับวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ คือ การพัฒนาให้ประชาชนมีทักษะที่ทันสมัยผ่านมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นในระบบปริญญาบัตร (Degree) หรือระบบประกาศนียบัตร (Non-Degree) ในปัจจุบันหลักสูตรต่าง ๆ จะต้องมีความทันสมัยต่อสังคมโลก      รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ กล่าวต่อว่า กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาจะเป็นกลไกที่สําคัญในการสร้างงานสร้างรายได้ตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่ ความต้องการของผู้เรียน และความต้องการของผู้ประกอบการ ซึ่งทําให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีโอกาสปรับตัว เพื่อรองรับงานรูปแบบใหม่ที่สะท้อนกับความต้องการของสังคม ตรงกับนโยบายของรัฐบาลในหลายนโยบาย อาทิ Ignite Thailand ทั้งการเป็นศูนย์กลางของเมืองท่องเที่ยว ที่จะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านการท่องเที่ยว งานบริการ และความรู้ในด้านภาษา      กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาจะพัฒนาทักษะ …

“ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง” ส.ส.พรรครวมไทยสร้างชาติ หนุนร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา ชี้ กองทุนพัฒนาการอุดมศึกษา เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคน Read More »

ม้าทรูเพลย์ และ คูณเฮงเฮงดูดี ศึกแข่งม้า สนามฝรั่ง วันที่ 7 ก.ค.2567 ที่สนามฝรั่ง

     ม้าแข่งที่สนามฝรั่ง วันที่ 7 ก.ค.2567 มีวิจารณ์ กันสนุก ๆ ทั้ง 10 เที่ยวแข่งขัน เพื่อความสนุกสนานก่อนลุ้นในวันแข่งจริงเช่นเดิม ด้านล่างนี้นะครับ เที่ยว 1 ม้าเทศชั้น 3 ชุด ข.    ยอดมังกร กับ โอริโอ้ สถิติดีเห็นควรจะเป็นคู่ชิงกัน ส่วนม้ารองลงไป ธัญพร ระวัง มังกรน้อย ลงมาวิ่งลองเชิงไว้ดี เที่ยว 2 ม้าเทศชั้น 3 ชุด ก.   ลูกแก้ว กับ รักของขวัญ สถิติสวยหรู เหมาะจะเป็นคู่ชิงกันชนะ ส่วนม้ารองลงไป ดาวที.โอ.ที. ระวัง คุณภาพ ฟอร์มที่วิ่งโชว์เอาไว้ดี เที่ยว 3 ม้าเทศชั้น 2   ขอโทษครับ กับ วันมงคล …

ม้าทรูเพลย์ และ คูณเฮงเฮงดูดี ศึกแข่งม้า สนามฝรั่ง วันที่ 7 ก.ค.2567 ที่สนามฝรั่ง Read More »

“ไอ้แสบ” แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ เป็นนักมวยไทยค่าตัวเรือนแสนคนแรก ครั้งแรกวันนั้น แต่ก็ไม่ผ่านด่าน พุฒ ล้อเหล็ก

     เมื่อ 2 มีนาคม 2517 หนังสือพิมพ์หน้ากีฬาประโคมข่าว ที่น่าสนใจคือ การโปรโมทของเวทีมวยลุมพินี โดย “ครูเฒ่า” ชนะ ทรัพย์แก้ว และทีมงานของเวที ร่วมกันเปิดใจกับสื่อมวลชนว่า ศึกกำปั้นทหารเอกนัดใหญ่ในรอบปีของเวที ที่จะมีขึ้นในวันที่ 12 มีนาคม 2517 นั้น คู่เอกนำรายการจะเป็น แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ กับ พุฒ ล้อเหล็ก ซึ่งเป็นการขอแก้มือของแสนศักดิ์ ที่เคยแพ้ พุฒ มาก่อนแล้ว ข่าวโด่งดังมากในการโปรโมทครั้งนี้คือ ประเด็นค่าตัวของ “แสนศักดิ์” ที่ได้รับการเปิดเผยคือ 1 แสนบาท และเป็นนักมวยไทยคนแรกที่ค่าตัวถึงระดับแสนบาท โดย 4 ไฟท์ล่าสุดของแสนศักดิ์นั้น ชนะน็อคมวยดี ๆ ของวงการยุคนั้นมา 4 คนรวด ขณะที่ พุฒ นั้น 4 ไฟท์ก่อนเจอกันกับแสนศักดิ์ ชนะคะแนนมาทั้ง 4 ไฟท์ จากนั้นช่วงต่อมา …

“ไอ้แสบ” แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ เป็นนักมวยไทยค่าตัวเรือนแสนคนแรก ครั้งแรกวันนั้น แต่ก็ไม่ผ่านด่าน พุฒ ล้อเหล็ก Read More »

40 ปีเต็มๆของ “พลตรีจารึก” กับการเป็นผู้นำกีฬาตะกร้อ จากวันเริ่มต้น 20 ส.ค.2526 จนถึงวันสุดท้ายในหน้าที่ 21 ส.ค.2566…ด้วยอาลัย

     สมาคมกีฬาตะกร้อแห่งประเทศไทย ยุคเริ่มต้นนั้น เกิดขึ้นเพราะว่ากีฬาตะกร้อ กำลังเป็นที่นิยม มีการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง หรือ เซียพเกมส์ ที่กลายมาเป็นซีเกมส์ในปัจจุบัน ครั้งที่ 3 เมื่อ ปี 2508 ที่มาเลเซียเป็นเจ้าภาพ และหลังจากนั้นก็มีการจัดการแข่งขันตะกร้อ ทั้งเซปักตะกร้อ (ตะกร้อข้ามตาข่าย) และ ตะกร้อลอดห่วง ขึ้นมากมาย ทั้งระดับนักเรียน กีฬากองทัพ กีฬาเขต หรือ แห่งชาติ ระดับสโมสร และ ระดับนานาชาติ      ด้วยเหตุความนิยมและการจัดการแข่งขันหลายระดับ ของกีฬาตะกร้อมีมากมาย สังกัดเดิมที่กีฬาตะกร้ออยู่ในสังกัดคือ สมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้มีการหารือและได้มีข้อสรุปที่จะแยกให้กีฬาตะกร้อออกไปเป็นสมาคมกีฬาต่างหากและมีเป้าหมายที่มากกว่าการอนุรักษ์ที่เคยทำมา      โดย เมื่อปี พ.ศ. 2524 คณะกรรมการบริหารสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็ได้มีมติและอนุมัติให้ พ.อ.(พิเศษ) เดชา กุลบุตร ขณะที่ตอนนั้นเป็นเลขาธิการสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรรมการบริหารสมาคมกีฬาไทยกลุ่มหนึ่ง ไปก่อตั้งและขอจดทะเบียนตั้งสมาคมขึ้นมาอีก 1 สมาคม เพื่อบริหารกิจกรรมกีฬาตะกร้อ โดยเฉพาะ …

40 ปีเต็มๆของ “พลตรีจารึก” กับการเป็นผู้นำกีฬาตะกร้อ จากวันเริ่มต้น 20 ส.ค.2526 จนถึงวันสุดท้ายในหน้าที่ 21 ส.ค.2566…ด้วยอาลัย Read More »

บันทึกกีฬาไทย : ทีมนักบริดจ์ไทยลุยศึกใหญ่ ที่ฝรั่งเศส ปี 2511 World Team Olympiad ครั้งที่ 3

     เปิดเจอข้อมูลเก่า ๆ ของวงการกีฬาบริดจ์ของไทย ในยุคอดีต ปี 2511 ที่ถือว่าช่วงนั้นเป็นยุคเฟื่องฟูช่วงหนึ่งของวงการกีฬาชนิดนี้ ที่มีการเล่นที่แพร่หลาย และ ทีมนักกีฬาไทย ก็ถูกส่งเข้าร่วมงานระดับโลกต่อเนื่องมากขึ้น      งานที่ค้นพบนั้นคือ การแข่งขันบริดจ์รายการ World Team Olympiad ครั้งที่ 3 ในปี ค.ศ.1968 เลยเก็บมาบันทึกไว้ใน “บันทึกกีฬาไทย” ที่นี่ อย่างน้อยก็เป็นรายละเอียดที่น่าจดจำช่วงหนึ่งของวงการกีฬาบริดจ์ของไทยเรา      วันที่ 8 มกราคม 2511 สมาคมบริดจ์แห่งประเทศไทย (ชื่อขณะนั้น) ได้มีการเลือกตั้ง คณะกรรมการบริหารสมาคมชุดใหม่ แทน ชุดที่มี พันเอกถนัด คอมันตร์ เป็นนายกฯ ซึ่งปรากฏว่า พลอากาศโท สวน สุขเสริม ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่นายกสมาคมบริดจ์คนใหม่ และมีกรรมการชุดใหม่ เช่น นายสมใจ มิลินทวนิช พลอากาศตรี ม.ร.ว.เสริม สุขสวัสดิ์ …

บันทึกกีฬาไทย : ทีมนักบริดจ์ไทยลุยศึกใหญ่ ที่ฝรั่งเศส ปี 2511 World Team Olympiad ครั้งที่ 3 Read More »

บันทึกกีฬาไทย : แชมป์การวิ่งมาราธอนไทย คนแรกในประวัติศาสตร์ คือ สุภาพ อุสสาหะ

สุภาพ อุสสาหะ แชมป์วิ่งมาราธอนคนแรกของไทย       เจ้าของนามปากกา “ทน มาราธอน” บันทึกไว้ในนิตยสารกีฬา ขององค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (การกีฬาแห่งประเทศไทย ปัจจุบัน) ปี พ.ศ.2515 ระบุว่า      เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2493 ประเทศไทย ได้จัดการแข่งขันกรีฑาวิ่งระยะ 42 กิโลเมตร กับอีก 195 เมตร หรือ 42,195 เมตร (คือการแข่งขันวิ่งมาราธอน) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่มีการจัดขึ้น ที่เส้นสตาร์ท และเข้าเส้นชัย คือที่สนามศุภชลาศัย      ปรากฏว่านักวิ่งที่เข้าเส้นชัยเป็นอันดับ 1 ซึ่งถือเป็นคนแรกที่คว้าแชมป์การวิ่งมาราธอนในประเทศไทยคือ นายสุภาพ อุสสาหะ (ชื่อเดิม สภาพ) โดยทำเวลาได้ 3 ชั่วโมง 18 นาที 32.2 วินาที   …

บันทึกกีฬาไทย : แชมป์การวิ่งมาราธอนไทย คนแรกในประวัติศาสตร์ คือ สุภาพ อุสสาหะ Read More »

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บุญสม มาร์ติน บุคคลที่ได้รับการยกย่องเป็น บิดาแห่งการพลศึกษาสมัยใหม่ ของประเทศไทย

ศาสตราจารย์นายแพทย์ บุญสม มาร์ติน      เป็นชาวจังหวัด ลำปาง เกิดวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2465 ถึงแก่กรรม 9 มิถุนายน พ.ศ.2551      การบันทึกนี้ถือเป็นการบันทึกถึงเกียรติประวัติ และผลงานท่านในวงการกีฬาของประเทศไทย ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อบุคคลที่สนใจศึกษา #การเป็นตัวแทนนักฟุตบอลทีมชาติไทย      ปี พ.ศ.2489 “นายแพทย์บุญสม” เป็นนักฟุตบอลตัวแทนประเทศไทย ในนามทีมกรุงเทพ 11 ซึ่งเป็นการรวมตัวกันก่อนที่จะมีการตั้งสมาคมฟุตบอล เพื่อรวมทีมไว้แข่งขันกับทีมต่างประเทศซึ่งเดินทางเข้ามาขอแข่งขันที่ประเทศไทยในช่วงนั้น      โดยนายแพทย์บุญสม ได้เคยให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ เมื่อ 1 มี.ค.2513 ว่า “เมื่อ ปลายปี 2488 หลังจากสิ้นสงครามใหม่ ๆ ได้มีนักฟุตบอลจากต่างชาติ เข้ามาแข่งขันในประเทศไทย และ เอาชนะทีมไทยไปอย่างราบคาบ ด้วยเหตุนี้ทีมกรุงเทพ จึงเกิดขึ้น เป็นครั้งแรก ผู้ริเริ่มก็คือ อาจารย์กอง วิสุทธารมณ์ …

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บุญสม มาร์ติน บุคคลที่ได้รับการยกย่องเป็น บิดาแห่งการพลศึกษาสมัยใหม่ ของประเทศไทย Read More »

บันทึกกีฬาไทย : เสี่ยเพ้ง หรือ นายจันทร์ ชูสัตยานนท์ ผู้บุกเบิกกีฬาปิงปองในประเทศไทย

จุดกำเนิดปิงปองไทย  กับชายที่ชื่อ’เสี่ยเพ้ง’       เรื่องราวของอดีตวงการกีฬาไทย ในกีฬาปิงปอง หรือ กีฬาเทเบิลเทนนิส บันทึกไว้ที่วารสารกีฬา ขององค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย หรือการกีฬาแห่งประเทศไทย ในปัจจุบัน  ปี พ.ศ.2515 คอลัมน์ “คนดีไม่มีตาย” เขียนโดย เท้ง บางขุนเทียน หรือ ณรงค์ ปานดี อดีตสื่อมวลชนสายกีฬา และอดีตพนักงานของการกีฬาแห่งประเทศไทย       โดยผู้เขียนได้เขียนถึง “เสี่ยเพ้ง” ผู้จุดประกายกีฬาปิงปองของไทย ตั้งแต่เริ่มต้น ทุ่มเทตน เพื่อเผยแพร่ จัดแข่ง อย่างจริงจัง จนกระทั่งก่อตั้งสมาคมปิงปองขึ้นในไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งทั้งหมดจากนี้เป็นการเรียบเรียงจากงานเขียนของ “เท้ง บางขุนเทียน” (สื่อกีฬารุ่นพี่ของผมผู้เรียบเรียง) เกี่ยวกับเรื่องของปิงปองไทย กับ “เสี่ยเพ้ง” คนต้นเรื่องนี้…      ….ขอย้อนไปอดีตก่อนปี พ.ศ.2466 สมัยนั้นยังไม่มีคนไทยที่รู้จักปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส มากมายนัก เพราะไม่มีการเผยแพร่ และวงการกีฬาไทยก็จำกัดอยู่ในวงแคบ …

บันทึกกีฬาไทย : เสี่ยเพ้ง หรือ นายจันทร์ ชูสัตยานนท์ ผู้บุกเบิกกีฬาปิงปองในประเทศไทย Read More »

บันทึกกีฬาไทย : 4 อาจารย์พลศึกษาไทย อ.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ อ.นบน้อม อ่าวสุคนธ์ อ.จันทร์ ผ่องศรี อ.สำเร็จ มณีเนตร ผู้ได้รับพระกรุณา “ทุนพระราชทาน” สันทนาการกลุ่มแรกของไทย

     บันทึกกีฬาไทย ขอนำเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต ที่ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ทางการกีฬาของไทย ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 นั้นได้ทรงสนับสนุน การร่วมมือและการให้ทุนการศึกษา แก่บุคลากรทางการกีฬา เมื่อปี พ.ศ.2512 เพื่อเดินทางไปศึกษาด้าน สันทนาการ ที่ออสเตรเลีย ซึ่งปรากฏการณ์ครั้งนั้น ได้สร้างความปีติยินดีต่อวงการกีฬาไทยอย่างยิ่ง และ ผู้ที่ถูกเลือกให้ได้รับทุนเดินทางไปนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นบุคลากรซึ่งสร้างประโยชน์ที่สำคัญในโอกาสต่อๆ มาให้กับงานกีฬาไทย      ซึ่งทุนพระราชทานฯ ที่สำคัญต่อวงการกีฬาไทยครั้งนี้เริ่มต้นจากที่ มร.คาร์เซิล จากของออสเตรเลีย ได้เข้าเฝ้าและนำทุนจากค่ายสันทนาการที่ออสเตรเลีย มาทูลเกล้าฯ เพื่อให้ส่งอาจารย์ทางพลศึกษาของประเทศไทย จำนวน 4 คนไปอบรมและศึกษาดูงานที่ออสเตรเลีย จำนวน 4 คน เป็นระยะเวลา 1 ปี  และได้มีการมอบหมายให้คณะกรรมการ พิจารณาหาบุคคลที่เหมาะสม ซึ่งประกอบด้วย ดร.กัลย์ อิสรเสนา อาจารย์กอง วิสุทธารมณ์ นายวิลาศ บุนนาค และ อาจารย์บุญเจอ สุวรรณพฤกษ์      และปรากฏว่าจากการประชุมได้ตกลงเลือกผู้ที่เหมาะสมได้รับทุนพระราชทาน …

บันทึกกีฬาไทย : 4 อาจารย์พลศึกษาไทย อ.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ อ.นบน้อม อ่าวสุคนธ์ อ.จันทร์ ผ่องศรี อ.สำเร็จ มณีเนตร ผู้ได้รับพระกรุณา “ทุนพระราชทาน” สันทนาการกลุ่มแรกของไทย Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!