สถานีความคิด

เปิดข้อมูล ช่วงเวลา และที่มา ของผู้นำโอลิมปิคไทย ตั้งแต่คนแรก จนถึงคนที่ 8 ที่ชื่อ ผศ.พิมล ศรีวิกรม์ เป็นใคร มาจากไหนบ้าง

     แม้จะมีความวุ่นวายหน่อยกับการดำเนินการ ซึ่งก็ถือว่าเป็นครั้งแรกที่วุ่นขนาดนี้ และก็ถือเป็นครั้งแรกที่ห้ามสื่อมวลชนเข้าไปร่วมในการประชุม ทั้งที่ยุคก่อนๆ สื่อมวลชนจะถือเป็นสักขีพยานต่อการประชุมมาตลอด     แต่อย่างไรก็ดี ก็เป็นไปตามคามคาดหมายครับกับการที่ องค์กรกีฬาสำคัญของไทย อย่าง คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ผู้นำ หรือ ประธานคนใหม่ ที่ชื่อ “ผศ.พิมล ศรีวิกรม์” ซึ่งข่าวที่รายงานก็คงทราบกันแล้ว แต่ที่นี่ก็อยากร่วมนำเสนอ ในส่วนของที่มาที่ไป และช่วงเวลาของ “ผู้นำบ้านอัมพวัน” แต่ละท่าน ก่อนที่จะเข้าสู่ตำแหน่ง จากคนแรกจนกระทั่งคนล่าสุด     โดย The Station THAI ได้รวมรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับเรื่อง “ช่วงเวลา-รายชื่อ” เพื่อเขียนถึงช่วงเวลาแต่ละยุคของผู้นำโอลิมปิคไทย และที่มาของแต่ละคนที่เข้ามาเป็นประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือที่เรียกกันคุ้น ว่า “บ้านอัมพวัน”      โดยเริ่มจากยุคเริ่มต้นขององค์กรนี้ ปี พ.ศ. 2491 ที่พระยาจินดารักษ์ เข้ามาเป็นประธานคณะกรรมการโอลิมปิคไทยคนแรกตอนนั้น ดำรงตำแหน่งท่านเป็น นายกสมาคมรักบี้ กรีฑา และเคย เป็นอดีตอธิบดีกรมพลศึกษา …

เปิดข้อมูล ช่วงเวลา และที่มา ของผู้นำโอลิมปิคไทย ตั้งแต่คนแรก จนถึงคนที่ 8 ที่ชื่อ ผศ.พิมล ศรีวิกรม์ เป็นใคร มาจากไหนบ้าง Read More »

วิพากษ์ : โค้งสุดท้ายศึกชิงผู้นำบ้านอัมพวัน หากวัดกันในมุมที่โลกแห่งกีฬายอมรับและชาติกีฬาที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่เขาทำ ‘ผศ.พิมลและทีมงาน’ เหนือกว่าคู่แข่งเยอะ

     การประชุมสมัชชาใหญ่ของคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ วันที่ 25 มี.ค.2568 นี้ วาระสำคัญที่สุดคือ การจะได้มาซึ่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิคไทยคนใหม่ ด้วยกระบวนการตามที่ธรรมนูญโอลิมปิคไทยกำหนดไว้      เมื่อมีการแข่งขันและเสนอตัวเข้าสู่การเลือกตั้ง ย่อมต้องลุ้นว่าใครจะเป็นผู้นำบ้านอัมพวันคนใหม่      คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล กรรมการโอลิมปิกสากลของไทย หลังจากมีเสียงเชียร์พอควร ก็ประกาศไม่ร่วมลุ้นตำแหน่งนี้ด้วย ซึ่งที่นี่และทีมงานที่คุยกัน ก็ไม่มีใครแปลกใจและเป็นไปตามคาดหมายด้วยซ้ำ      และมาถึงผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง 2 ท่านคือ ผศ.พิมล ศรีวิกรม์ กับ คุณสุชัย พรชัยศักดิ์อุดม ที่ประกาศตนเป็นทางการและเดิมหน้าเพื่อการเสนอตัวชิงชัยตำแหน่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิคไทยในครั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมาและดุดันขึ้นทุกวัน      มีการประกาศแนวทางการทำงาน ซึ่งฟังแล้วก็น่าแปลกที่พูดถึง “เรื่องเงิน” และสิ่งที่จะให้มาด้วย ทั้งที่มีหลากหลายเรื่องราวที่ควรขายแนวคิดเพื่อการพัฒนาสมาชิกและองค์กร แต่ก็ต้องว่ากันไปแล้วแต่ “มุมมอง” ของผู้ที่จะมีส่วนร่วมโดยตรง      ถามว่าเกมนี้สู้กันรุนแรงขนาดไหน เมื่อถึงวันนี้ ต้องตอบว่าแรงมากกว่าที่เคยมี “กลุ่มทีมงาน” ของทั้งสองฝ่ายต่างก็ขยับตัวและประกาศตัวตนออกมาชัดเจน พร้อมใช้การติดต่อ เพื่อดึงคะแนนจากสมาชิกสมัชชาที่มีคะแนนในมือกันแบบหนักขึ้นเรื่อยๆ มีแม้กระทั่งข่าวการระบุว่าจะให้สิ่งตอบแทน และสัญญาว่ามากมาย …

วิพากษ์ : โค้งสุดท้ายศึกชิงผู้นำบ้านอัมพวัน หากวัดกันในมุมที่โลกแห่งกีฬายอมรับและชาติกีฬาที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่เขาทำ ‘ผศ.พิมลและทีมงาน’ เหนือกว่าคู่แข่งเยอะ Read More »

วิเคราะห์ถึงเรื่อง ใครจะเป็นผู้นำ อลป.ไทย คนใหม่ ทำไมที่นี่ชี้ว่า ‘คุณหญิงปัทมา’ น่าจะเบียด ‘บิ๊กเอ’ สร้างประวัติศาสตร์ นั่งเก้าอี้ใหญ่บ้านอัมพวันได้สำเร็จ ณ เวลานี้

     ชัดแล้วว่า วันที่ 25 มี.ค.2568 นี้จะมีการประชุมสมาชิกสมัชชาใหญ่สามัญ ประจำปี 2567 ของคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ วาระที่สำคัญแน่นอนคือ “การเลือกตั้งประธานคณะกรรมการโอลิมปิคไทยคนใหม่”      ที่ผ่านมา… การเลือกตั้ง “ผู้นำบ้านอัมพวัน” เกือบทุกครั้ง  เป็นการส่งมอบอำนาจแบบสันติ คือที่เห็นก็มีการแข่งขันหนักๆ ครั้งเดียว แต่คราวนี้มีแข่งขันที่น่าดูแน่ จึงขอลองคิดร่วมกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น จากความคิดเห็นส่วนตัว (ณ เวลานี้ที่เขียน)      กติกาการเลือกตั้ง…ตามข้อบังคับของโอลิมปิคไทยนั้น สมาชิกสมัชชาใหญ่ ที่มีสิทธิออกเสียง จำนวน 50 คน ประกอบด้วยสมาชิกกลุ่มแรก จากสมาคมกีฬา 37 ตัวแทนนักกีฬาโอลิมปิกของไทย 2 ตัวแทน IOC ของไทย 1 และอีกกลุ่มคือ ผู้ทรงคุณวุฒิชุดเก่าที่จะหมดวาระอีก 10 คน ขั้นแรกสมาชิกทั้งหมดจะเสนอชื่อผู้ที่จะเป็นกรรมการบริหารชุดใหม่  และ ผู้ทรงคุณวุฒิ ชุดใหม่ และหากทั้ง 2 กลุ่ม มีการเสนอเกินจำนวนที่ธรรมนูญข้อบังคับระบุ …

วิเคราะห์ถึงเรื่อง ใครจะเป็นผู้นำ อลป.ไทย คนใหม่ ทำไมที่นี่ชี้ว่า ‘คุณหญิงปัทมา’ น่าจะเบียด ‘บิ๊กเอ’ สร้างประวัติศาสตร์ นั่งเก้าอี้ใหญ่บ้านอัมพวันได้สำเร็จ ณ เวลานี้ Read More »

เลือกผู้นำบ้านอัมพวัน ‘เหมือนการละเล่น’ จริงหรือ และ ถึงเวลาเปลี่ยนแปลง ให้มีศักดิ์ศรี สู่สากลได้หรือยัง ดูเหตุการณ์การเลือกตั้ง และการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ จากยุคสุดท้าย ของ ‘เสธ.ทวี ถึง ยุคบิ๊กป้อม’ จะเห็นภาพชัดๆ

      The Station THAI ลองรวบรวมการเข้าสู่ตำแหน่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิคไทย ในแต่ละยุค และมีอะไรน่ามองบ้าง ก่อนที่จะมาถึง วันที่จะมีการลุ้นหาผู้นำคนใหม่ ในองค์กรที่เราจะเรียกคุ้นกันว่า “บ้านอัมพวัน”  ในเดือน มี.ค.2568 นี้      ขอเริ่มต้นจากสมัยสุดท้ายการเป็นผู้นำสมัยที่ 5 ยุคสุดท้ายของ พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ มีการประชุมสมัชชาใหญ่สามัญ เพื่อการเลือกตั้ง วันที่ 23 มี.ค.2536 ในช่วงนั้น เป็นการเลือกโดยใช้กติกา คือสมาชิกจากสมาคมกีฬา 23 เสียงและ อีก 23 เสียงจากคณะกรรมการบริหารโอลิมปิคชุดเก่าที่กำลังหมดวาระ จะเป็น 46 เสียง (วันนั้นเลือกจริง 44 เสียง)      พลอากาศเอกทวี ครองตำแหน่งถึงปี 2539 ก็เสียชีวิต วันที่ 4 ก.พ.2539 และวันที่ 21 ก.พ.2539 …

เลือกผู้นำบ้านอัมพวัน ‘เหมือนการละเล่น’ จริงหรือ และ ถึงเวลาเปลี่ยนแปลง ให้มีศักดิ์ศรี สู่สากลได้หรือยัง ดูเหตุการณ์การเลือกตั้ง และการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ จากยุคสุดท้าย ของ ‘เสธ.ทวี ถึง ยุคบิ๊กป้อม’ จะเห็นภาพชัดๆ Read More »

คณะกรรมการกฤษฎีกา ชี้การคัดเลือกอธิการบดี ม.การกีฬาที่ผ่านมา ‘ผิด’ จากนี้ต้องจับตาผู้นำกระทรวง ‘สรวงศ์ เทียนทอง’ จะนำลุยสะสางไปในเส้นทางใด!!!

     เรื่องราวของ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ (มกช) มีความเคลื่อนไหวอีกครั้ง      โดยล่าสุดผู้ที่คณะบุคคลซึ่งเกิดจากการใช้อำนาจของคำสั่งคณะ คสช. เพื่อให้ทำหน้าที่แทนสภามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ได้คัดเลือกแล้วจำนวน 1 คน และส่งให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เสนอฯเพื่อเป็นอธิการบดี มกช คนใหม่นั้นยังมีปัญหา จากการหารือและได้รับคำแนะนำจาก คณะกรรมการกฤษฎีกา      ที่สรุปง่ายๆ ก็คือ คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตอบข้อหารือเพื่อขอความกระจ่างปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เมื่อ เดือน พ.ย.2567 ที่ผ่านมาคือ การคัดเลือกคนเสนอเป็นอธิการบดี มกช ที่ผ่านมานั้นไม่เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งระบุว่าผู้ได้รับการคัดสรรนั้นจะต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของคณะบุคคลที่มีอยู่ รวม 8 คน (ที่หมายถึงผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องได้ 5 เสียงขึ้นไป) แต่กระบวนการคัดสรรนั้น ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก ได้เพียง 4 เสียง จึงถือว่าไม่เป็นไปตามกฎหมาย และการนำเสนอนี้ไม่มีผลผูกพันต่อกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่จะต้องนำเสนอตามขั้นตอนต่อไป      จากสิ่งที่ คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตอบข้อหารือของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ล่าสุด ที่ระบุชัดว่า …

คณะกรรมการกฤษฎีกา ชี้การคัดเลือกอธิการบดี ม.การกีฬาที่ผ่านมา ‘ผิด’ จากนี้ต้องจับตาผู้นำกระทรวง ‘สรวงศ์ เทียนทอง’ จะนำลุยสะสางไปในเส้นทางใด!!! Read More »

การได้มาซึ่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ไม่ยาก : ลองมาดูสิทธิและเสียง ตามธรรมนูญข้อบังคับ 2564 ที่ได้รับการรับรองจาก IOC หรือโอลิมปิกสากลแล้ว

     The Station THAI ที่นี่มองว่าเรื่องการได้มาซึ่งผู้นำในคณะกรรมการโอลิมปิคไทย เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับวงการกีฬาไทย ก็เลยนำที่มาก่อนที่จะได้ตัวบุคคลผู้นั้น โดยการอ้างอิงจาก ธรรมนูญข้อบังคับ คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ.2564 ที่ถือเป็นล่าสุด ที่ได้รับการอนุมัติรับรองจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ IOC แล้ว      เริ่มต้นจากต้องทราบว่าใครที่จะเป็นผู้เลือก ซึ่งในข้อบังคับฯ หมวด 4 ระบุไว้ว่า สมาชิกในสมัชชาใหญ่คือคนที่มีสิทธิออกเสียงเลือก จำนวน 50 คน โดยจะมาจาก 1.นายกสมาคมกีฬาหรือผู้แทนนายกสมาคมกีฬา ที่ได้รับการรับรองตามธรรมนูญข้อบังคับฉบับนี้ มีจำนวน 37 คน (จาก 37 สมาคมกีฬาที่ได้รับการรับรอง) 2.กรรมการของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ในประเทศไทย จำนวน 1 คน 3.ผู้แทนนักกีฬา ที่ได้รับการเลือกจากชมรมนักกีฬาโอลิมปิกไทย จำนวน 2 คน และ 4.ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้เลือกตั้งไว้แล้ว (ชุดเดิม) จำนวน 10 คน…โดยการเลือกตั้งกรรมการบริหาร …

การได้มาซึ่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ไม่ยาก : ลองมาดูสิทธิและเสียง ตามธรรมนูญข้อบังคับ 2564 ที่ได้รับการรับรองจาก IOC หรือโอลิมปิกสากลแล้ว Read More »

เรื่องราวหลังจากฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ถูกล้มกระดาน โดยการใช้คำสั่ง หัวหน้า คสช.มากว่า 2 ปี และมี 4 รัฐมนตรีที่เกี่ยวพัน…กับวันนี้ที่ยังต้องรอชมบทสรุป

     ย้อนอดีต…เมื่อวันที่ 21 ก.พ.2566 ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นประกาศของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เรื่องให้มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติอยู่ภายใต้คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 38/2559 เรื่องการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาฯ ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (ขณะนั้น) คือนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ      สรุปง่ายๆ ของประกาศนั้น คือ “ล้มกระดาน” ทั้งฝ่ายบริหารและกรรมการสภา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ในชุดนั้น ออกจากตำแหน่งทั้งหมด ด้วยการกล่าวหาว่า นั้นคือ กระทรวงฯพบว่าคนใน มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ หรือ มกช มีพฤติการณ์จงใจ หลีกเลี่ยง ส่อทุจริตและก่อให้เกิดความขัดแย้งภายใน ที่ปล่อยไม่ได้ เพราะจะเกิดความเสียหาย      จากนั้น 23 ก.พ.2566 ก็มีคำสั่งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ 57/2566 เรื่องให้ผู้ดำรงตำแหน่งพ้นจากหน้าที่และแต่งตั้งบุคคลให้ปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ โดยตั้งคณะทำงานปฏิบัติหน้าที่สภามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พร้อมแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ      โดยมีโจทก์ให้ต้องดำเนินการคือ สรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติตัวจริงให้ได้ภายใน 180 วันตั้งแต่มีคำสั่งและทบทวนผลสอบสวนทางวินัยร้ายแรงอธิการบดีคนเดิมให้แล้วเสร็จภายใน 30 …

เรื่องราวหลังจากฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ถูกล้มกระดาน โดยการใช้คำสั่ง หัวหน้า คสช.มากว่า 2 ปี และมี 4 รัฐมนตรีที่เกี่ยวพัน…กับวันนี้ที่ยังต้องรอชมบทสรุป Read More »

จับตา เรื่องราวการเลือก ประธานโอลิมปิคไทยคนใหม่ แทน’บิ๊กป้อม’ เรื่องน่าสนใจอยู่ที่จะใช้ ความชอบธรรม หรือ ความชอบทำ ที่จะเดินเกมกัน เพื่ออนาคต!!!

     ข่าวเด่นกีฬาสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ “บิ๊กป้อม” พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ต้องลาจากตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาทางน้ำ (หรือสมาคมว่ายน้ำ) แห่งประเทศไทย เพราะไม่ได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกของสมาคม ที่จะให้นั่งตำแหน่งผู้นำต่อ ซึ่งเป็นการแพ้แบบหลุดลุ่ยแบบไม่น่าเชื่อ      ที่หากไม่ต้องคิดอะไรมาก ผลการเลือกตั้งจะชี้ให้เห็นแล้วว่า “บิ๊กป้อม” กับผลงาน 2 สมัยที่ผ่านมา ไม่มีความสำคัญกับ สมาคมแห่งนี้ เพียงพอที่สมาชิกจะเลือกไว้ให้เป็นผู้นำต่อ (จบ)      ผลต่อเนื่องคือการมีการมองต่อไปว่า หากไม่มีฐานจากการเป็นนายกสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยนี้ ที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ แล้ว การที่จะมีการเลือกประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยคนใหม่ แทน “บิ๊กป้อม” ในเดือน มีนาคม 2568 นี้ แล้ว บิ๊กป้อมจะไปต่อในตำแหน่ง “ประมุข” ที่แห่งนี้ได้หรือ      ถ้าพูดถึงความ “ชอบธรรม” แล้วนั้น เรื่องนี้มันจบแล้ว เพราะบิ๊กป้อม ที่ได้มาเป็นผู้นำโอลิมปิคไทยก็มาเพราะเป็นนายกสมาคมว่ายน้ำแล้วมาตามขั้นตอน แต่ ณ เวลานี้ ก็จะถือได้เป็นคนนอกเกมถ้าว่าด้วยกติกาที่ควรเป็น แต่หากจะพูดถึงความ …

จับตา เรื่องราวการเลือก ประธานโอลิมปิคไทยคนใหม่ แทน’บิ๊กป้อม’ เรื่องน่าสนใจอยู่ที่จะใช้ ความชอบธรรม หรือ ความชอบทำ ที่จะเดินเกมกัน เพื่ออนาคต!!! Read More »

วิเคราะห์ความสำเร็จของ 4 สมาคมกีฬาที่ควรเป็นตัวอย่างวงการ และบทวิพากษ์ ‘สมาคมกีฬามวยสากล’ หลังจากปารีสเกมส์

     หลังจากโอลิมปิกเกมส์ 2024 ผ่านพ้นไป “ภาพรวม” ของวงการกีฬาไทย คงจะชัดเจนขึ้น (อีกครั้ง) สำหรับ ผู้ที่เกี่ยวข้องว่า แท้ที่จริงแล้วนั้น ประเทศไทยควรจะกำหนดยุทธศาสตร์กีฬาของชาติ สำหรับกีฬาสมัครเล่นเพื่อความเป็นเลิศนี้ไปในทิศทางใด เพื่อที่จะให้มีที่ยืนซึ่งสามารถสร้างความสุขให้กับคนไทยได้อย่างยั่งยืนในเวทีกีฬาโลกที่ใหญ่ที่สุด คือระดับโอลิมปิกเกมส์      การวิเคราะห์ ความสำเร็จที่เด่นชัดในกลุ่มกีฬาที่สร้างเหรียญรางวัลให้กับประเทศไทยนั้น ต้องยอมรับว่าไม่แปลกใจ กับเทควันโด ยกน้ำหนัก ที่รักษาความเป็นเกรด A ต่อเนื่อง ขณะที่ แบดมินตัน ก็ขยับไล่ขึ้นมา และยังมีกีฬาที่น่าจับตามองอีกกีฬาที่ไม่ได้เหรียญแต่ก็มีความโดดเด่น คือเทเบิลเทนนิส หรือ ปิงปอง #ทำไมจึงมีความสำเร็จ      ในโลกแห่งกีฬาที่จะมีความสำเร็จได้ สำคัญที่รับรู้กันคือต้องมี “เงินดีหนุนกับคนหรือบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ” ทั้งสองส่วนต้องสัมพันธ์กันและไปด้วยกัน หากมีแค่เงินแต่คนที่มาทำกีฬาโง่ไม่รู้เรื่องกีฬานั้นๆ ก็สำเร็จยากเพราะเงินซื้อความสำเร็จโดยตรงไม่ได้ แต่เงินสามารถที่จะช่วยสร้างทางเดินให้นักกีฬา เงินสามารถสร้างบุคลากรกีฬาที่เกี่ยวข้อง เช่นการจัดหาหรือจ้างผู้รู้ เช่น ผู้รอบรู้กีฬานั้นๆ มาเป็นที่ปรึกษา มาช่วยงานในฝ่ายต่าง ๆ หรือ จ้างผู้ฝึกสอนที่ดี เข้ามาช่วยได้…และทุกวันนี้การเงินของวงการกีฬา ถ้ามองจริงๆไม่ลำบากเหมือนเดิมและยิ่งทำดีมีผลงานเงินก็เข้าหามาก   …

วิเคราะห์ความสำเร็จของ 4 สมาคมกีฬาที่ควรเป็นตัวอย่างวงการ และบทวิพากษ์ ‘สมาคมกีฬามวยสากล’ หลังจากปารีสเกมส์ Read More »

จับตาผลต่อเนื่องจาก กรณี สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย หรือ OCA ขาดความเชื่อมั่นรัฐบาลไทย จนถึงขั้นถอนสิทธิ์ การเป็นเจ้าภาพจัด กีฬาเอเชียนอินดอร์เกมส์ฯ

     16 ส.ค.2567 ที่ผ่านมา ที่นี่ The Station THAI ได้เขียนถึงที่มา และปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งได้แสดงความคิดเห็นปิดท้ายว่า ไทยคงจะได้จัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 เพราะได้เดินทาง เตรียมการมาไกลมาก และ หลายส่วนนั้นได้ทำงานควบคู่ไปกับทีมงานของ สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) มาตลอด      โดยย้ำในข้อเขียนเพื่อเสนอแนะว่า…การแสดงออกของงานนี้ ภาครัฐบาล โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ต้องมีความกระตือรือร้นและชัดเจน มากกว่า “สิ่งที่ทำในปัจจุบัน” ซึ่งแม้แต่พวกเดียวกันเอง ที่หมายถึงคณะกรรมการจัดการแข่งขัน คณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ รวมทั้ง ในคณะกรรมการโอลิมปิคไทยเอง “ยังไม่รู้และไม่มีความมั่นใจ” ในผู้นำการทำงานนี้เลย ซึ่งไม่ควรจะเป็น      ทำไมถึงคิดว่าจะได้จัด!!!      1.เพราะหนังสือที่ OCA มีมาถึงไทย ซึ่งยอมรับการตัดสินใจลดชนิดกีฬาลง เมื่อวันที่ 27 ก.ค.2567 ถือเป็นหนังสือสำคัญ ที่ OCA เปิดทางให้ไทยทำงานในช่วงเวลาที่จำกัด จากการร่วมหารือกันมาแล้ว      2.เพราะการตกลงร่วมมือกันระหว่างฝ่ายจัด (ไทย) …

จับตาผลต่อเนื่องจาก กรณี สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย หรือ OCA ขาดความเชื่อมั่นรัฐบาลไทย จนถึงขั้นถอนสิทธิ์ การเป็นเจ้าภาพจัด กีฬาเอเชียนอินดอร์เกมส์ฯ Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!