สถานีความคิด

คำสัญญาเมื่อ 4 ปีก่อนของ “ดร.ก้องศักด” ต่อคนวงการกีฬา ที่จะทำ 12 โปรเจกต์ให้บังเกิด วันนี้ถึงไหนแล้ว…เชื่อว่าคนที่เชียร์และอยากเห็น คงยังไม่ลืม

เดือนกันยายนนี้ คาดว่าคงจะเป็นเดือนที่ การต่อวาระการทำงานของตำแหน่งผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย จะเสร็จสิ้นกระบวนการสุดท้ายคือการรับทราบ-เห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีตามที่คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (บอร์ด กกท.) ได้เสนอ หลังจากผ่านการพิจารณา การต่อวาระให้กับผู้ว่าการการกีฬาคนเดิมคือ ดรก้องศักด ยอดมณี ให้ทำงานต่อไปอีก 4  ปี ในบอร์ด กกท.เมื่อเดือน  ก.พ.ที่ผ่านมา                 ถ้าหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงแบบฟ้าผ่าจริง ๆ “ดร.ก้องศักด ยอดมณี” จะเป็นผู้ว่าการคนที่ 2 ที่ได้นั่งตำแหน่งนี้ต่อเนื่องในเดือนตุลาคมที่จะถึง                 Station THAI : นำกลับไปย้อนดูเมื่อ 4 ปีก่อนที่ “ผู้ว่าก้อง” ได้ให้สัญญาไว้ ทันทีที่ได้นั่งในตำแหน่งผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทสไทยในช่วงต้นๆ สมัยแรก ที่ให้พันธะสัญญาว่า จะเดิน 12 โปรเจกต์ หรือ โครงการนี้ให้ได้…ทั้งหมดนั้นประกอบด้วย โครงการยกระดับการให้บริการของ กกท. (Smart National Sports Park) จัดตั้งศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ หรือ National Training Center (NTC) ที่มีขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุด …

คำสัญญาเมื่อ 4 ปีก่อนของ “ดร.ก้องศักด” ต่อคนวงการกีฬา ที่จะทำ 12 โปรเจกต์ให้บังเกิด วันนี้ถึงไหนแล้ว…เชื่อว่าคนที่เชียร์และอยากเห็น คงยังไม่ลืม Read More »

จากบทเรียนการเลือกตั้งผู้นำสมาคมกีฬา ที่การคัดกรองผู้เลือกอ่อนแอจนเอื้อให้เกิดความไม่สง่างาม จึงต้องตามติดว่า กกท.จะมีมาตรการแก้ไขอย่างไร

ในวาระการประชุมใหญ่ของสมาคมกีฬาต่าง ๆ ที่จะมีการเลือกตั้งนายกสมาคมกีฬาคนใหม่ ถือเป็นเรื่องสำคัญ บางสมาคมกีฬาก็แทบจะหาคนมานั่งทำงานนายกไม่ได้ แต่บางสมาคมกีฬาตำแหน่งนายกฯก็เป็นที่ถวิลหา มีผู้เสนอตัวมากกว่า 1 คน ซึ่งผู้ที่สนใจจะสมัครต้องหาเสียง หาพวกจากสมาชิกที่มีสิทธิในการออกเสียงเพื่อให้มาเลือกตัวเอง นั่นคือวิถีทางของ “ชาวกีฬา” ที่การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) กำกับดูแล ตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทยให้อำนาจไว้ Station-THAI ติดตามเรื่องราวการเลือกตั้งนายกสมาคมของสมาคมกีฬาโดยเฉพาะสมาคมที่เป็นแห่งประเทศไทย สิ่งที่พบว่ายังเป็นความคลุมเครือมากที่สุดคือ เรื่องของผู้มีสิทธิออกเสียงได้ในการเลือกตั้งได้ นั่นคือสมาชิกของแต่ละสมาคมกีฬานั้น ๆ ซึ่งมีระเบียบ ข้อบังคับของสมาคมกีฬานั้น ๆ ที่แตกต่างกันไป แต่ก็มีจุดสำคัญที่เหมือน ๆ กัน ในการกำหนดคุณสมบัติสมาชิก การเป็นสมาชิก และการพ้นสภาพการเป็นสมาชิก ที่สมาคมแต่ละแห่งระบุคล้าย ๆ กัน เช่น สมาชิกนั้นต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสมาคมกีฬาในช่วงเวลาที่กำหนด มีการเสียค่าสมาชิก หรือการให้ความร่วมมือกับสมาคมกีฬานั้น ๆ ต่อเนื่อง และหากว่าสมาชิกนั้นไม่ทำตามระเบียบข้อบังคับของสมาคม “สมาชิกนั้นจะพ้นสภาพ” และจะไม่ได้รับสิทธิใด ๆ ในการร่วมกิจกรรมของสมาคม แม้แต่ การออกเสียงเลือกตั้ง นั่นคือกระบวนการที่การกีฬาแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ที่กำกับดูแล มอบให้แต่ละสมาคมจัดการดูแลกันตามระเบียบข้อบังคับของสมาคม ที่สมาคมเป็นผู้สร้างข้อตกลงนี้ขึ้นมาในกลุ่ม โดยทั่วไป “นายทะเบียนสมาคม” …

จากบทเรียนการเลือกตั้งผู้นำสมาคมกีฬา ที่การคัดกรองผู้เลือกอ่อนแอจนเอื้อให้เกิดความไม่สง่างาม จึงต้องตามติดว่า กกท.จะมีมาตรการแก้ไขอย่างไร Read More »

สมาคมกีฬาคือกลไกการนำวิทยาศาสตร์การกีฬาไปใช้ที่สำคัญ วันนี้ผู้นำ ผู้ฝึกสอน ควรพิจารณาประโยชน์อย่างเข้าใจและเชื่อมั่น

บิ๊กกีฬาระดับชาติให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่จำเป็นต้องนำลงสู่วงการกีฬาให้มากขึ้นและมากที่สุด ก็เป็นโอกาสดีที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับกูรูหลาย ๆ ท่านทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ซึ่งท่านเหล่านี้ที่ต้องเรียกว่าระดับเกรดเอ.ของศาสตร์ด้านนี้ของไทยและของระดับโลกด้วยซ้ำไป 3 ท่าน ก็ได้ข้อสรุปและนำมาถ่ายทอดง่าย ๆ (ด้วยตัวเอง) ว่า ทำไมวิทยาศาสตร์การกีฬายังไม่เข้าไปเป็นเนื้อเดียวกันกับวงการกีฬา เป็นข้อๆ ดังนี้ครับ 1.ผู้นำสมาคมไม่ให้ความสำคัญ…เริ่มต้นจากผู้นำสมาคมกีฬาหรือนายกสมาคมกีฬาพร้อมทั้งฝ่ายบริหารของสมาคมกีฬา ไม่ว่าจะเป็นสมาคม ชมรมระดับใดๆ ก็ตามยังไม่มีความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากศาสตร์แห่งวิทยาศาสตร์การกีฬา จึงไม่ได้มุ่งเน้นหรือกำหนดการนำมาให้ทีมงานในสมาคมกีฬาปฏิบัติอย่างชัดเจน 2.ผู้ปฏิบัติไม่เปิดรับศาสตร์ใหม่ๆ….ผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าสตาฟฟ์ทำงาน ที่จะเรียกเป็นอย่างก็ตามซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ ไม่มีความทันสมัยกับศาสตร์นี้ นั่นอาจจะรวมถึง ใจที่อาจจะยังไม่เปิดรับด้วยความคิดเก่า ๆ ที่เคยปฏิบัติมามองว่าตัวเองรู้แล้วและมีความสามารถด้านการนำวิทยาศาสตร์การกีฬาแล้วจึงไม่เปิดรับศาสตร์ทางด้านนี้ใหม่ๆ ที่มีความทันสมัยไปใช้ ใช้แค่ฐานความรู้เก่านำปฏิบัติต่อๆ ไป เนื่องจากไม่รู้ ขี้เกียจหรือไม่ยอมรับว่าศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์การกีฬานั้นมีการพัฒนาตลอด มีศาสตร์และความรู้ใหม่เกิดขึ้นเสมอ 3.ผู้ปฏิบัติเปิดรับแต่ยังใช้ไม่เป็น….ผู้ฝึกสอนหรือสตาฟฟ์ มีความสนใจในการเรียนรู้และนำวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ทันสมัยไปใช้ แต่ไม่เข้าใจศาสตร์เบื้องลึกของการนำไปใช้ที่ซ่อนอยู่อย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่นการเรียนรู้แบบฝึกแล้วนำไปใช้โดยรวมทั้งทีม แต่ไม่ได้คำนวณถึงความเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับนักกีฬาแต่ละคน ซึ่งแต่ละรูปแบบหรือวิธีการใช้ของนักกีฬาแต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน รูปแบบการใช้จึงต้องแตกต่างกันในแต่ละคน 4.ทำไมผู้ฝึกสอนควรต้องใช้…คือ นอกเหนือจากประโยชน์ต่อทีมดังที่กล่าวมาแล้วนั้นการที่ผู้ฝึกสอนนำวิทยาศาสตร์การกีฬาที่แท้จริงมาใช้ด้วยการให้ความสำคัญนั้น เมื่อนักกีฬาระดับชาติได้เรียนรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว หากต่อไปเขาพ้นวาระรับใช้ชาติและออกไปเป็นผู้ฝึกสอนตามระดับและโอกาสต่าง ๆ เขาก็จะได้นำความความรู้จากเชื่อถือ ความมั่นใจในศาสตร์นี้ไปถ่ายทอดต่อๆ ไป ก็จะถือเป็นการเรียนรู้และต่อยอดสิ่งที่ดีกระจายต่อๆกันไป 5.นำวิทยาศาสตร์การกีฬาสู่รากหญ้า…กูรูด้านนี้ ได้เปิดใจว่าเรื่องของวิทยาศาสตร์การกีฬา กับนักกีฬา เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก การที่การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานองค์กรกีฬาอื่น …

สมาคมกีฬาคือกลไกการนำวิทยาศาสตร์การกีฬาไปใช้ที่สำคัญ วันนี้ผู้นำ ผู้ฝึกสอน ควรพิจารณาประโยชน์อย่างเข้าใจและเชื่อมั่น Read More »

สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย ลุยนำองค์ความรู้ลงสู่ชุมชน ร่วมสร้างงานให้ เพื่อได้ไปสู่การพัฒนา

นวัตกรรมขุมชน จากรากหญ้า สู่องค์ความรู้ระดับชาติ ผลงาน CSV นายกสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย TEMCA เมื่อสังคมต้องการความช่วยเหลือ คุณบุญศักดิ์ เกียรติจรูญเลิศ นายกสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย TEMCA และในฐานนายกสมาคมศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ไม่รอช้าที่จะนำองค์ความรู้มาต่อยอด และส่งต่อให้กับชุมชนตามแนวคิด  CSV (Creating Shared Value) ลงสู่สังคม เพื่อพัฒนาความยั่งยืนให้กับชุมชน ด้วยการจับมือกันก้าวผ่านวิกฤตเศรษฐกิจด้วยงานวิศกรรมฯ งานระบบ ต่อยอดเทคโนโลยี ยกระดับชุมชนให้สามารถยืนหยัดด้วยตนเอง

สถานีความคิด : เทคนิคทางด้านจิตวิทยาช่วยท่านได้ นักวิชาการไทย รศ.ดร.ธิรตา ภาสะวณิช มีข้อแน่นำดี ๆ ที่นี่

ใช้เทคนิคจิตวิทยาผลิตสารเคมีให้ตนเอง กว่าร้อยปีที่นักจิตวิทยาได้คิดค้นเทคนิคและวิธีการที่หลากหลายที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถรักษาตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งยา เทคนิคทางจิตวิทยาเทคนิคหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การฝึกผลิตสารเคมีในร่างกายด้วยตนเอง (Autogenic Training: AT) ที่ให้ผลในด้านการรักษาและการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งเทคนิค AT ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ.1932 โดย Dr. Johannes Heinrich Schultz นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน และได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี ค.ศ.1992 Dr. Kai Kermani นักจิตบำบัดชาวอังกฤษได้นำ AT มาประยุกต์เป็นกิจกรรมง่ายๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยมุ่งเน้นเพื่อการรักษาและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาของสุขบัญญัติ (Health Recommendation) ข้อ 9 การดูแลสุขภาพจิต ที่มีความปลอดภัยและไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ในขณะที่การรับยาอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการทำงานหนักของไตและผลกระทบอื่นๆ ที่จะตามมา การฝึก AT ที่เกี่ยวข้องกับการทำสมาธิและการผ่อนคลายมีผลต่อการทำงานของสมองและระบบประสาท อีกทั้งยังมีการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกัน จากการศึกษาการทำงานและโครงสร้างของสมองตามหลักประสาทสรีรวิทยา (Neurobiology) พบว่า การฝึก AT ทำให้เกิดการลดลงของระดับคอร์ติซอล (Cortisol-ฮอร์โมนกระตุ้นร่างกาย มีฤทธิ์สลายกลูโคส กรดไขมันและโปรตีน จะผลิตออกมากเมื่ออยู่ในภาวะเครียด) และนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine-สารเคมีที่เป็นทั้งฮอร์โมนและสารสื่อประสาท …

สถานีความคิด : เทคนิคทางด้านจิตวิทยาช่วยท่านได้ นักวิชาการไทย รศ.ดร.ธิรตา ภาสะวณิช มีข้อแน่นำดี ๆ ที่นี่ Read More »

สถานีความคิด : หากโควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น แล้วการอยู่ร่วมกันในสังคมจะทำอย่างไร งานที่ท้าทายวิถีของคน

หลังจากสายพันธุ์โอมิครอนเริ่มจะคลี่คลายในหลาย ๆ ประเทศ มีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้มีหลายประเทศเริ่มประยุกต์แนวคิดอยู่ร่วมกับCOVID มากขึ้น โดยพิจารณาจากกฎระเบียบต่าง ๆ เช่น สำหรับนักท่องเที่ยวจะไม่มีการตรวจหาเชื้อCOVIDก่อนเข้าประเทศ รวมถึงไม่มีการกักตัวนักท่องเที่ยว เช่น ในสหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ และมัลดีฟส์เป็นต้น  และอีกหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก และหลาย ๆ รัฐในสหรัฐอเมริกา ที่ประชาชนไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากอีกต่อไป สำหรับในประเทศไทยแล้ว จากที่ได้มีการประกาศในช่วงต้นสัปดาห์ของมีนาคมซึ่งจะมีนโยบายที่จะผลักดันให้COVIDกลายเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) เสมือนกับโรคหวัดทั่วไปที่เราทุกคนประสบพบเจอ ซึ่งกำหนดการวางแผนนั้นเป็นไปตามเดือนต่าง ๆ ได้แก่ มีนาคมถึงต้นเมษายน จะมีการพยายามกดตัวเลขผู้ติดเชื้อไม่ให้สูง เมษายนถึงพฤษภาคม จะเป็นการคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น จนลดลงเรื่อย ๆ ปลายพฤษภาคมถึงสิ้นเดือนมิถุนายน จะเป็นการลดผู้ติดเชื้อให้เหลือ 1,000 – 2,000 ราย อัตราเสียชีวิต 0.1% และตั้งแต่ 1 กรกฎาคม เป็นต้นไป จะเป็นการประกาศให้COVID ในประเทศไทยเป็นโรคประจำถิ่น ความท้าทายที่่ทิศทางการท่องเที่ยวไทยต้องเผชิญในปัจจุบันนอกจากกระแสซบเซาด้านการท่องเที่ยวมากว่า 2 ปีแล้ว เมื่อมีการเปิดประเทศก็พบว่าจะเป็นเรื่องของการปรับกฎเกณฑ์ในช่วงโอมิครอน และการต้องสมัคร Thailand …

สถานีความคิด : หากโควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น แล้วการอยู่ร่วมกันในสังคมจะทำอย่างไร งานที่ท้าทายวิถีของคน Read More »

สถานีความคิด : คุณเคยสงสัยกันบ้างไหมว่าการออกกำลังกายส่งผลต่อการนอนหลับอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

สำหรับบางคนการออกกำลังกายในช่วงกลางวันอาจส่งผลต่อการนอนหลับในตอนกลางคืน มีการถกเถียงถึงช่วงเวลาของการออกกำลังกายในแต่ละวันควรเป็นช่วงเวลาใด ช่วงเวลาของการออกกำลังกายมีความสำคัญต่อการนอน ในบางคนพบว่า การออกกำลังกายในช่วงใกล้เวลาเข้านอน จะส่งผลให้นอนไม่หลับในตอนกลางคืน                 ภายหลังการออกกำลังกายร่างกายจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินซึ่งส่งผลให้สมองตื่นตัวทำให้ไม่รู้สึกง่วงนอนหรือหลับได้ช้าลง ข้อแนะนำคือ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 1 ถึง 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน โดยให้ระดับเอ็นดอร์ฟินที่ร่างกายหลั่งออกมามีระดับลดลงส่งผลให้สมองผ่อนคลายจะช่วยให้หลับได้ดีขึ้น  นอกจากนี้ การออกกำลังกายส่งผลให้อุณหภูมิแกนกลางของร่างกายสูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในร่างกายส่งผลต่อนาฬิกาชีวภาพ (Biological clock คือ วงจรของระบบการทำงานในร่างกายมนุษย์ ที่มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับ การตื่นนอน การหลั่งฮอร์โมน รวมถึงการแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิในร่างกาย) หลังจากการออกกำลังกาย ประมาณ 30 ถึง 90 นาที อุณหภูมิร่างกายจะเริ่มลดลง การที่อุณหภูมิร่างกายลดลงนี้ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและรู้สึกอยากพักผ่อนได้  ถึงแม้จะมีการตอบสนองทางชีวภาพของร่างกายต่อการออกกำลังกาย แต่สำหรับบางคน พบว่า ช่วงเวลาของวันในการออกกำลังกายไม่ได้สร้างความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นออกกำลังกายตอนเช้า ออกกำลังกายตอนเย็น หรือในช่วงใกล้เวลานอน     เพราะเหตุนี้ แนะนำว่า ควรทำความรู้จักร่างกายของตัวเอง และปรับพฤติกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสม ซึ่งแต่ละคนก็จะมีแนวทางหรือวิธีการที่แตกต่างเฉพาะตัวกันไป  ส่วนใหญ่ที่พบ มักจะมีคำถามว่า ต้องออกกำลังกายมากแค่ไหนเพื่อการนอนหลับที่ดีขึ้น มีข้อมูลที่น่าสนใจ แสดงให้เห็นว่า ผลฉับพลันที่เกิดขึ้นสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับปานกลางอย่างน้อย …

สถานีความคิด : คุณเคยสงสัยกันบ้างไหมว่าการออกกำลังกายส่งผลต่อการนอนหลับอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ Read More »

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ…เพื่อลดโอกาสหกล้ม

การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อนั้น ถือว่าเป็นเทคนิคง่ายๆ ที่ทำได้ทุกช่วงวัย แต่สำหรับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ ควรเน้นเป็นการบริหารในส่วนของกล้ามเนื้อขา มัดใหญ่ๆ เช่น กล้ามเนื้อสะโพก ต้นขา น่อง เพื่อช่วยให้ประสิทธิภาพในการทรงตัวของผู้สูงอายุมีความมั่นคง ลดโอกาสในการหกล้มได้ ท่าที่ 1 ยืนเท้าห่างพอประมาณ แล้วเขย่งปลายเท้าขึ้น ค้างไว้นับ 1-5 จากนั้นวางเท้าลงราบกับพื้น แล้วทำซ้ำ ท่าเดิมให้ครบจำนวน 10 ครั้ง ท่านี้จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อน่อง (ผู้ทำควรยึดเกาะอุปกรณ์ที่มีความมั่นคง ป้องกันอุบัติเหตุระหว่างการบริหาร) ท่าที่ 2 ยืนเท้าห่างพอประมาณ แล้วเหยียดขาไปด้านหลัง ค้างไว้นับ 1-5 จากนั้นวางเท้าลงราบกับพื้น แล้วทำซ้ำท่าเดิมให้ครบจำนวน 10 ครั้ง จากนั้นสลับขาอีกข้าง ทำท่าเดิมอีกจำนวน 10 ครั้ง ท่านี้จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อสะโพก (ผู้ทำควรยึดเกาะอุปกรณ์ที่มีความมั่นคง ป้องกันอุบัติเหตุระหว่างการบริหาร) ท่าที่ 3 ยืนเท้าห่างพอประมาณ แล้วกางขาไปด้านข้างลำตัว ค้างไว้นับ 1-5 จากนั้นวางเท้าลงราบกับพื้น แล้วทำซ้ำท่าเดิมให้ครบจำนวน 10 ครั้ง จากนั้นสลับขาอีกข้าง ทำท่าเดิมอีกจำนวน …

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ…เพื่อลดโอกาสหกล้ม Read More »

สถานีความคิด : คนท้องกับการออกกำลังกาย นักวิชาการคณะวิทย์กีฬา จุฬาฯ บอกว่าทำได้แต่ต้องอ่านที่นี่ก่อน

คนท้องกับการออกกำลังกาย ในระหว่างการตั้งครรภ์ผู้หญิงทุกคนต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างและสรีรวิทยาของร่างกายนับตั้งแต่วันแรก และจะพบการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงสองไตรมาสสุดท้าย ส่งผลทำให้เกิดข้อจำกัดในระหว่างการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงในขณะออกกำลังกาย ในปัจจุบันการออกกำลังกายสำหรับคนท้องนั้นได้รับการแนะนำอย่างมากเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบการการทำงานของหัวใจและไหลเวียนเลือด การเสริมสร้างกล้ามเนื้อเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ รวมไปถึงการลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์อีกด้วย คำแนะนำสำหรับคนท้องได้แก่การออกกำลังกายระดับเบาถึงปานกลาง ระยะเวลา 15-30 นาที จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ด้วยการปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือการวิ่งเยาะ โดยไม่ลืมการอบอุ่นร่างกายและการคลายอุ่นก่อนและหลังการออกกำลังกาย ในระหว่างการออกกำลังกาย คนท้องควรสวมใส่ชุดที่เหมาะสมมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับท่าทางการเคลื่อนไหว ควรมีความกระชับช่วยรองรับโอบอุ้มหน้าท้องและทารกในครรภ์ได้เป็นอย่างดีแต่ไม่ควรรัดรูปหรือแน่นเกินไปซึ่งอาจจำกัดการเคลื่อนไหวของร่างกายและความรู้สึกไม่สบายตัวได้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันพบว่ากางเกงออกกำลังกายสำหรับคนท้องได้รับการพัฒนาการออกแบบอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายในขณะตั้งครรภ์ แต่คนท้องส่วนใหญ่ยังมีความกังวลในเรื่องของการโอบรัดกระชับสัดส่วน ซึ่งทำให้รู้สึกอึดอัด การกดทับจนจำกัดการไหลเวียนโลหิตและอาจส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ โดยเฉพาะในไตรมาสสุดท้าย การวิจัยก่อนหน้าพบว่ากางเกงออกกำลังกายสำหรับคนท้องที่มีการโอบอุ้มรองรับบริเวณหัวหน่าวในทิศทางเฉียงขึ้นด้านบนและไม่มีส่วนที่กดทับช่วงบนของหน้าท้องมีความเหมาะสมที่สุด โดยผลการวิจัยรายงานว่าการไหลเวียนโลหิตของคนท้องไตรมาสสุดท้ายจำนวน 12 คน ไม่ถูกจำกัดเมื่อสวมใส่กางเกงดังกล่าวในระหว่างการนั่ง การนอนตะแคง การนอนหงาย การยืนและการออกกำลังกาย เมื่อเปรียบเทียบกับการสวมใส่ชุดคลุมท้องแบบกระโปรง (JEPonline 2022) การออกกำลังกายในระหว่างตั้งครรภ์ส่งผลดีต่อคุณแม่ให้มีความแข็งแรงพัฒนาตามอายุครรภ์โดยไม่มีภาวะเสี่ยงแทรกซ้อน ทั้งนี้สามารถเลือกใช้กางเกงออกกำลังกายที่มีความเหมาะสม ยืดหยุ่นเพียงพอโดยไม่ต้องกังวลถึงการกดทับหรือผลเสียต่อลูกน้อยในครรภ์ได้.   ดร. คุณัญญา มาสดใส คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฮอร์โมนเพศกับการแข่งขันกีฬา : โดย นักวิชาการวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพศสภาพเป็นเรื่องที่มีการเปิดกว้าง ยอมรับ และให้ความเคารพในความเท่าเทียมของทุกเพศในสังคมปัจจุบันแทบทุกด้าน อย่างไรก็ดี ในการแข่งขันกีฬาซึ่งเป็นการใช้ความสามารถของร่างกายนั้น ประเด็นของนักกีฬาข้ามเพศเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการที่นักกีฬาข้ามเพศหญิงซึ่งเคยฝึกซ้อมและแข่งขันกีฬาในฐานะนักกีฬาชายมาก่อนควรมีสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันในรายการของผู้หญิงหรือไม่เป็นสิ่งที่ถูกกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง ทั้งในลักษณะของการให้เข้าร่วมและการห้ามเข้าแข่งขัน ตั้งแต่การให้นักกีฬาข้ามเพศหญิงลงแข่งขันยกน้ำหนักในประเภทหญิงของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่โตเกียวในปี 2021 การชนะการแข่งขันว่ายน้ำในระดับมหาวิทยาลัยหลายรายการของนักกีฬาข้ามเพศหญิงในสหรัฐอเมริกา ไปจนถึงเหตุการณ์ล่าสุดที่สหพันธ์จักรยานนานาชาติ (UCI) ตัดสินใจห้ามนักปั่นจักรยานข้ามเพศหญิงแข่งขันร่วมกับนักกีฬาเพศหญิง เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ถูกนำไปวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งในแวดวงของนักวิทยาศาสตร์การกีฬาไปจนถึงระดับผู้นำประเทศ ในการเข้าร่วมการแข่งขันของนักกีฬาข้ามเพศในปัจจุบันนั้น ปัจจัยหลักที่ถูกนำมาพิจารณาว่านักกีฬามีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งหรือไม่ ก็คือเรื่องระดับของฮอร์โมนเพศ ซึ่งต้องย้อนไปถึงเหตุการณ์ในอดีตที่มีการพยายามนำนักกีฬาชายมาแข่งขันกับนักกีฬาหญิงทำให้ต้องมีการพิสูจน์เพศเกิดขึ้นจนเป็นประเด็นเรื่องการละเมิดความเป็นมนุษย์หรือไม่ และนำมาสู่ข้อสรุปในการใช้ระดับของฮอร์โมนเพศเพื่อระบุเพศในการเข้าแข่งขันกีฬา โดยในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้ทำการแก้ไขกฎ เพื่ออนุญาตให้นักกีฬาข้ามเพศร่วมแข่งขันกีฬาประเภทหญิง ในกรณีที่มีการลดระดับของฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) จนอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนนี้ อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบางอย่างกับร่างกายของนักกีฬาได้ โดยในส่วนของฮอร์โมนเพศชายนั้น มีบทบาทสำคัญในเรื่องของการพัฒนาความแข็งแรง การเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และการรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูก ในขณะที่นักกีฬาข้ามเพศชายซึ่งเคยเป็นนักกีฬาหญิงมาก่อนอาจยังกลับไปแข่งขันในประเภทหญิงได้หากมีการปรับลดระดับของฮอร์โมนเพศชายให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด แต่ทางฝั่งของนักกีฬาข้ามเพศหญิงจะมีข้อจำกัดคือหากไม่สามารถลงแข่งขันในรายการของเพศหญิงได้ ก็อาจจะไม่สามารถกลับไปแข่งขันรายการของเพศชายได้เช่นกัน เนื่องจากการปรับฮอร์โมนเพศจะทำให้ความแข็งแรง และมวลกล้ามเนื้อไม่สามารถสู้กับนักกีฬาชายได้ และการปรับระดับฮอร์โมนอาจยังมีเรื่องของสภาพจิตใจเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในฝั่งแนวคิดที่ไม่สนับสนุนการใช้เพียงแค่เกณฑ์ของฮอร์โมนเพศมาพิจารณาการเข้าแข่งขันของนักกีฬาข้ามเพศที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาประเภทหญิง ก็ได้ให้เหตุผลในว่าสิ่งนี้ดูเหมือนจะเป็นความเท่าเทียมที่ไม่เท่าเทียมสำหรับนักกีฬาหญิง เนื่องจากนักกีฬาข้ามเพศหญิงอาจยังมีข้อได้เปรียบจากการเคยใช้ชีวิตเป็นเพศชายมาก่อนในทางสรีรวิทยาอีกหลายส่วน ฉะนั้นประเด็นเรื่องการใช้ฮอร์โมนเพศในการระบุเพศเพื่อเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬา จึงอาจต้องมีการทบทวนอีกครั้งจากองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแข่งขันกีฬา รวมถึงนักกีฬา โค้ช นักวิทยาศาสตร์การกีฬา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งในระดับนานาชาติ หรือแม้แต่ในประเทศไทยเอง …

ฮอร์โมนเพศกับการแข่งขันกีฬา : โดย นักวิชาการวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!