สถานีความคิด

สถานีความคิด : เทคนิคทางด้านจิตวิทยาช่วยท่านได้ นักวิชาการไทย รศ.ดร.ธิรตา ภาสะวณิช มีข้อแน่นำดี ๆ ที่นี่

ใช้เทคนิคจิตวิทยาผลิตสารเคมีให้ตนเอง กว่าร้อยปีที่นักจิตวิทยาได้คิดค้นเทคนิคและวิธีการที่หลากหลายที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถรักษาตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งยา เทคนิคทางจิตวิทยาเทคนิคหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การฝึกผลิตสารเคมีในร่างกายด้วยตนเอง (Autogenic Training: AT) ที่ให้ผลในด้านการรักษาและการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งเทคนิค AT ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ.1932 โดย Dr. Johannes Heinrich Schultz นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน และได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี ค.ศ.1992 Dr. Kai Kermani นักจิตบำบัดชาวอังกฤษได้นำ AT มาประยุกต์เป็นกิจกรรมง่ายๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยมุ่งเน้นเพื่อการรักษาและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาของสุขบัญญัติ (Health Recommendation) ข้อ 9 การดูแลสุขภาพจิต ที่มีความปลอดภัยและไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ในขณะที่การรับยาอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการทำงานหนักของไตและผลกระทบอื่นๆ ที่จะตามมา การฝึก AT ที่เกี่ยวข้องกับการทำสมาธิและการผ่อนคลายมีผลต่อการทำงานของสมองและระบบประสาท อีกทั้งยังมีการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกัน จากการศึกษาการทำงานและโครงสร้างของสมองตามหลักประสาทสรีรวิทยา (Neurobiology) พบว่า การฝึก AT ทำให้เกิดการลดลงของระดับคอร์ติซอล (Cortisol-ฮอร์โมนกระตุ้นร่างกาย มีฤทธิ์สลายกลูโคส กรดไขมันและโปรตีน จะผลิตออกมากเมื่ออยู่ในภาวะเครียด) และนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine-สารเคมีที่เป็นทั้งฮอร์โมนและสารสื่อประสาท …

สถานีความคิด : เทคนิคทางด้านจิตวิทยาช่วยท่านได้ นักวิชาการไทย รศ.ดร.ธิรตา ภาสะวณิช มีข้อแน่นำดี ๆ ที่นี่ Read More »

สถานีความคิด : หากโควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น แล้วการอยู่ร่วมกันในสังคมจะทำอย่างไร งานที่ท้าทายวิถีของคน

หลังจากสายพันธุ์โอมิครอนเริ่มจะคลี่คลายในหลาย ๆ ประเทศ มีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้มีหลายประเทศเริ่มประยุกต์แนวคิดอยู่ร่วมกับCOVID มากขึ้น โดยพิจารณาจากกฎระเบียบต่าง ๆ เช่น สำหรับนักท่องเที่ยวจะไม่มีการตรวจหาเชื้อCOVIDก่อนเข้าประเทศ รวมถึงไม่มีการกักตัวนักท่องเที่ยว เช่น ในสหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ และมัลดีฟส์เป็นต้น  และอีกหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก และหลาย ๆ รัฐในสหรัฐอเมริกา ที่ประชาชนไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากอีกต่อไป สำหรับในประเทศไทยแล้ว จากที่ได้มีการประกาศในช่วงต้นสัปดาห์ของมีนาคมซึ่งจะมีนโยบายที่จะผลักดันให้COVIDกลายเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) เสมือนกับโรคหวัดทั่วไปที่เราทุกคนประสบพบเจอ ซึ่งกำหนดการวางแผนนั้นเป็นไปตามเดือนต่าง ๆ ได้แก่ มีนาคมถึงต้นเมษายน จะมีการพยายามกดตัวเลขผู้ติดเชื้อไม่ให้สูง เมษายนถึงพฤษภาคม จะเป็นการคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น จนลดลงเรื่อย ๆ ปลายพฤษภาคมถึงสิ้นเดือนมิถุนายน จะเป็นการลดผู้ติดเชื้อให้เหลือ 1,000 – 2,000 ราย อัตราเสียชีวิต 0.1% และตั้งแต่ 1 กรกฎาคม เป็นต้นไป จะเป็นการประกาศให้COVID ในประเทศไทยเป็นโรคประจำถิ่น ความท้าทายที่่ทิศทางการท่องเที่ยวไทยต้องเผชิญในปัจจุบันนอกจากกระแสซบเซาด้านการท่องเที่ยวมากว่า 2 ปีแล้ว เมื่อมีการเปิดประเทศก็พบว่าจะเป็นเรื่องของการปรับกฎเกณฑ์ในช่วงโอมิครอน และการต้องสมัคร Thailand …

สถานีความคิด : หากโควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น แล้วการอยู่ร่วมกันในสังคมจะทำอย่างไร งานที่ท้าทายวิถีของคน Read More »

สถานีความคิด : คุณเคยสงสัยกันบ้างไหมว่าการออกกำลังกายส่งผลต่อการนอนหลับอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

สำหรับบางคนการออกกำลังกายในช่วงกลางวันอาจส่งผลต่อการนอนหลับในตอนกลางคืน มีการถกเถียงถึงช่วงเวลาของการออกกำลังกายในแต่ละวันควรเป็นช่วงเวลาใด ช่วงเวลาของการออกกำลังกายมีความสำคัญต่อการนอน ในบางคนพบว่า การออกกำลังกายในช่วงใกล้เวลาเข้านอน จะส่งผลให้นอนไม่หลับในตอนกลางคืน                 ภายหลังการออกกำลังกายร่างกายจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินซึ่งส่งผลให้สมองตื่นตัวทำให้ไม่รู้สึกง่วงนอนหรือหลับได้ช้าลง ข้อแนะนำคือ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 1 ถึง 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน โดยให้ระดับเอ็นดอร์ฟินที่ร่างกายหลั่งออกมามีระดับลดลงส่งผลให้สมองผ่อนคลายจะช่วยให้หลับได้ดีขึ้น  นอกจากนี้ การออกกำลังกายส่งผลให้อุณหภูมิแกนกลางของร่างกายสูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในร่างกายส่งผลต่อนาฬิกาชีวภาพ (Biological clock คือ วงจรของระบบการทำงานในร่างกายมนุษย์ ที่มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับ การตื่นนอน การหลั่งฮอร์โมน รวมถึงการแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิในร่างกาย) หลังจากการออกกำลังกาย ประมาณ 30 ถึง 90 นาที อุณหภูมิร่างกายจะเริ่มลดลง การที่อุณหภูมิร่างกายลดลงนี้ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและรู้สึกอยากพักผ่อนได้  ถึงแม้จะมีการตอบสนองทางชีวภาพของร่างกายต่อการออกกำลังกาย แต่สำหรับบางคน พบว่า ช่วงเวลาของวันในการออกกำลังกายไม่ได้สร้างความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นออกกำลังกายตอนเช้า ออกกำลังกายตอนเย็น หรือในช่วงใกล้เวลานอน     เพราะเหตุนี้ แนะนำว่า ควรทำความรู้จักร่างกายของตัวเอง และปรับพฤติกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสม ซึ่งแต่ละคนก็จะมีแนวทางหรือวิธีการที่แตกต่างเฉพาะตัวกันไป  ส่วนใหญ่ที่พบ มักจะมีคำถามว่า ต้องออกกำลังกายมากแค่ไหนเพื่อการนอนหลับที่ดีขึ้น มีข้อมูลที่น่าสนใจ แสดงให้เห็นว่า ผลฉับพลันที่เกิดขึ้นสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับปานกลางอย่างน้อย …

สถานีความคิด : คุณเคยสงสัยกันบ้างไหมว่าการออกกำลังกายส่งผลต่อการนอนหลับอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ Read More »

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ…เพื่อลดโอกาสหกล้ม

การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อนั้น ถือว่าเป็นเทคนิคง่ายๆ ที่ทำได้ทุกช่วงวัย แต่สำหรับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ ควรเน้นเป็นการบริหารในส่วนของกล้ามเนื้อขา มัดใหญ่ๆ เช่น กล้ามเนื้อสะโพก ต้นขา น่อง เพื่อช่วยให้ประสิทธิภาพในการทรงตัวของผู้สูงอายุมีความมั่นคง ลดโอกาสในการหกล้มได้ ท่าที่ 1 ยืนเท้าห่างพอประมาณ แล้วเขย่งปลายเท้าขึ้น ค้างไว้นับ 1-5 จากนั้นวางเท้าลงราบกับพื้น แล้วทำซ้ำ ท่าเดิมให้ครบจำนวน 10 ครั้ง ท่านี้จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อน่อง (ผู้ทำควรยึดเกาะอุปกรณ์ที่มีความมั่นคง ป้องกันอุบัติเหตุระหว่างการบริหาร) ท่าที่ 2 ยืนเท้าห่างพอประมาณ แล้วเหยียดขาไปด้านหลัง ค้างไว้นับ 1-5 จากนั้นวางเท้าลงราบกับพื้น แล้วทำซ้ำท่าเดิมให้ครบจำนวน 10 ครั้ง จากนั้นสลับขาอีกข้าง ทำท่าเดิมอีกจำนวน 10 ครั้ง ท่านี้จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อสะโพก (ผู้ทำควรยึดเกาะอุปกรณ์ที่มีความมั่นคง ป้องกันอุบัติเหตุระหว่างการบริหาร) ท่าที่ 3 ยืนเท้าห่างพอประมาณ แล้วกางขาไปด้านข้างลำตัว ค้างไว้นับ 1-5 จากนั้นวางเท้าลงราบกับพื้น แล้วทำซ้ำท่าเดิมให้ครบจำนวน 10 ครั้ง จากนั้นสลับขาอีกข้าง ทำท่าเดิมอีกจำนวน …

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ…เพื่อลดโอกาสหกล้ม Read More »

สถานีความคิด : คนท้องกับการออกกำลังกาย นักวิชาการคณะวิทย์กีฬา จุฬาฯ บอกว่าทำได้แต่ต้องอ่านที่นี่ก่อน

คนท้องกับการออกกำลังกาย ในระหว่างการตั้งครรภ์ผู้หญิงทุกคนต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างและสรีรวิทยาของร่างกายนับตั้งแต่วันแรก และจะพบการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงสองไตรมาสสุดท้าย ส่งผลทำให้เกิดข้อจำกัดในระหว่างการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงในขณะออกกำลังกาย ในปัจจุบันการออกกำลังกายสำหรับคนท้องนั้นได้รับการแนะนำอย่างมากเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบการการทำงานของหัวใจและไหลเวียนเลือด การเสริมสร้างกล้ามเนื้อเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ รวมไปถึงการลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์อีกด้วย คำแนะนำสำหรับคนท้องได้แก่การออกกำลังกายระดับเบาถึงปานกลาง ระยะเวลา 15-30 นาที จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ด้วยการปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือการวิ่งเยาะ โดยไม่ลืมการอบอุ่นร่างกายและการคลายอุ่นก่อนและหลังการออกกำลังกาย ในระหว่างการออกกำลังกาย คนท้องควรสวมใส่ชุดที่เหมาะสมมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับท่าทางการเคลื่อนไหว ควรมีความกระชับช่วยรองรับโอบอุ้มหน้าท้องและทารกในครรภ์ได้เป็นอย่างดีแต่ไม่ควรรัดรูปหรือแน่นเกินไปซึ่งอาจจำกัดการเคลื่อนไหวของร่างกายและความรู้สึกไม่สบายตัวได้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันพบว่ากางเกงออกกำลังกายสำหรับคนท้องได้รับการพัฒนาการออกแบบอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายในขณะตั้งครรภ์ แต่คนท้องส่วนใหญ่ยังมีความกังวลในเรื่องของการโอบรัดกระชับสัดส่วน ซึ่งทำให้รู้สึกอึดอัด การกดทับจนจำกัดการไหลเวียนโลหิตและอาจส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ โดยเฉพาะในไตรมาสสุดท้าย การวิจัยก่อนหน้าพบว่ากางเกงออกกำลังกายสำหรับคนท้องที่มีการโอบอุ้มรองรับบริเวณหัวหน่าวในทิศทางเฉียงขึ้นด้านบนและไม่มีส่วนที่กดทับช่วงบนของหน้าท้องมีความเหมาะสมที่สุด โดยผลการวิจัยรายงานว่าการไหลเวียนโลหิตของคนท้องไตรมาสสุดท้ายจำนวน 12 คน ไม่ถูกจำกัดเมื่อสวมใส่กางเกงดังกล่าวในระหว่างการนั่ง การนอนตะแคง การนอนหงาย การยืนและการออกกำลังกาย เมื่อเปรียบเทียบกับการสวมใส่ชุดคลุมท้องแบบกระโปรง (JEPonline 2022) การออกกำลังกายในระหว่างตั้งครรภ์ส่งผลดีต่อคุณแม่ให้มีความแข็งแรงพัฒนาตามอายุครรภ์โดยไม่มีภาวะเสี่ยงแทรกซ้อน ทั้งนี้สามารถเลือกใช้กางเกงออกกำลังกายที่มีความเหมาะสม ยืดหยุ่นเพียงพอโดยไม่ต้องกังวลถึงการกดทับหรือผลเสียต่อลูกน้อยในครรภ์ได้.   ดร. คุณัญญา มาสดใส คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฮอร์โมนเพศกับการแข่งขันกีฬา : โดย นักวิชาการวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพศสภาพเป็นเรื่องที่มีการเปิดกว้าง ยอมรับ และให้ความเคารพในความเท่าเทียมของทุกเพศในสังคมปัจจุบันแทบทุกด้าน อย่างไรก็ดี ในการแข่งขันกีฬาซึ่งเป็นการใช้ความสามารถของร่างกายนั้น ประเด็นของนักกีฬาข้ามเพศเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการที่นักกีฬาข้ามเพศหญิงซึ่งเคยฝึกซ้อมและแข่งขันกีฬาในฐานะนักกีฬาชายมาก่อนควรมีสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันในรายการของผู้หญิงหรือไม่เป็นสิ่งที่ถูกกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง ทั้งในลักษณะของการให้เข้าร่วมและการห้ามเข้าแข่งขัน ตั้งแต่การให้นักกีฬาข้ามเพศหญิงลงแข่งขันยกน้ำหนักในประเภทหญิงของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่โตเกียวในปี 2021 การชนะการแข่งขันว่ายน้ำในระดับมหาวิทยาลัยหลายรายการของนักกีฬาข้ามเพศหญิงในสหรัฐอเมริกา ไปจนถึงเหตุการณ์ล่าสุดที่สหพันธ์จักรยานนานาชาติ (UCI) ตัดสินใจห้ามนักปั่นจักรยานข้ามเพศหญิงแข่งขันร่วมกับนักกีฬาเพศหญิง เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ถูกนำไปวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งในแวดวงของนักวิทยาศาสตร์การกีฬาไปจนถึงระดับผู้นำประเทศ ในการเข้าร่วมการแข่งขันของนักกีฬาข้ามเพศในปัจจุบันนั้น ปัจจัยหลักที่ถูกนำมาพิจารณาว่านักกีฬามีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งหรือไม่ ก็คือเรื่องระดับของฮอร์โมนเพศ ซึ่งต้องย้อนไปถึงเหตุการณ์ในอดีตที่มีการพยายามนำนักกีฬาชายมาแข่งขันกับนักกีฬาหญิงทำให้ต้องมีการพิสูจน์เพศเกิดขึ้นจนเป็นประเด็นเรื่องการละเมิดความเป็นมนุษย์หรือไม่ และนำมาสู่ข้อสรุปในการใช้ระดับของฮอร์โมนเพศเพื่อระบุเพศในการเข้าแข่งขันกีฬา โดยในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้ทำการแก้ไขกฎ เพื่ออนุญาตให้นักกีฬาข้ามเพศร่วมแข่งขันกีฬาประเภทหญิง ในกรณีที่มีการลดระดับของฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) จนอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนนี้ อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบางอย่างกับร่างกายของนักกีฬาได้ โดยในส่วนของฮอร์โมนเพศชายนั้น มีบทบาทสำคัญในเรื่องของการพัฒนาความแข็งแรง การเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และการรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูก ในขณะที่นักกีฬาข้ามเพศชายซึ่งเคยเป็นนักกีฬาหญิงมาก่อนอาจยังกลับไปแข่งขันในประเภทหญิงได้หากมีการปรับลดระดับของฮอร์โมนเพศชายให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด แต่ทางฝั่งของนักกีฬาข้ามเพศหญิงจะมีข้อจำกัดคือหากไม่สามารถลงแข่งขันในรายการของเพศหญิงได้ ก็อาจจะไม่สามารถกลับไปแข่งขันรายการของเพศชายได้เช่นกัน เนื่องจากการปรับฮอร์โมนเพศจะทำให้ความแข็งแรง และมวลกล้ามเนื้อไม่สามารถสู้กับนักกีฬาชายได้ และการปรับระดับฮอร์โมนอาจยังมีเรื่องของสภาพจิตใจเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในฝั่งแนวคิดที่ไม่สนับสนุนการใช้เพียงแค่เกณฑ์ของฮอร์โมนเพศมาพิจารณาการเข้าแข่งขันของนักกีฬาข้ามเพศที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาประเภทหญิง ก็ได้ให้เหตุผลในว่าสิ่งนี้ดูเหมือนจะเป็นความเท่าเทียมที่ไม่เท่าเทียมสำหรับนักกีฬาหญิง เนื่องจากนักกีฬาข้ามเพศหญิงอาจยังมีข้อได้เปรียบจากการเคยใช้ชีวิตเป็นเพศชายมาก่อนในทางสรีรวิทยาอีกหลายส่วน ฉะนั้นประเด็นเรื่องการใช้ฮอร์โมนเพศในการระบุเพศเพื่อเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬา จึงอาจต้องมีการทบทวนอีกครั้งจากองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแข่งขันกีฬา รวมถึงนักกีฬา โค้ช นักวิทยาศาสตร์การกีฬา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งในระดับนานาชาติ หรือแม้แต่ในประเทศไทยเอง …

ฮอร์โมนเพศกับการแข่งขันกีฬา : โดย นักวิชาการวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Read More »

สถานีความคิด StationTHAI : พฤติกรรมก้าวร้าว (Aggressive behavior) อันเป็นต้นเหตุนำไปสู่ความรุนแรง (Violence) ในวงการกีฬา

ช่วงที่ผ่านมามีเหตุการณ์หนึ่งที่ตกเป็นข่าวหน้าหนึ่งในหน้าหนังสือพิมพ์ และสร้างความกังวลให้กับวงการกีฬาฟุตบอลในเมืองไทยเป็นอย่างมากคือกรณีเกิดการทำร้ายร่างกายผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามในช่วงท้ายของการแข่งขันโดยผู้เล่นของทีมที่มีคะแนนตามอยู่ด้วยการฟันศอกไปที่บริเวณใบหน้าจนถึงกับเป็นแผลแตก แม้ว่าการแข่งขันจนไปถึงการตัดสินลงโทษจากทางสมาคมฟุตบอลและจากสโมสรต้นสังกัดจะสิ้นสุดลงไปแล้ว หากแต่การวิเคราะห์ถึงกลไกทางด้านจิตวิทยาที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าวนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขไม่ให้เหตุการณ์ในรูปแบบเดียวกันเกิดขึ้นอีกในอนาคต      พฤติกรรมก้าวร้าว (Aggressive behavior) อันเป็นต้นเหตุนำไปสู่ความรุนแรง (Violence) นั้น หากมองในปัจจัยทางด้านบุคคลจะมีที่มาจากทั้งทางอุปนิสัยที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด และทางการเรียนรู้ทางสังคมและประสบการณ์ที่ได้รับ เช่น การเห็นต้นแบบที่มีความคล้ายคลึงกันทำพฤติกรรมก้าวร้าว หรือสร้างความรุนแรงมาก่อนแล้วได้รับผลลัพธ์ไปในทางบวก หรือกระทั่งการไม่ได้รับผลใด ๆ ที่เป็นทางลบจากการกระทำนั้น จะเป็นการสั่งสมให้พฤติกรรมก้าวร้าวมีความเด่นชัดขึ้นในทุกครั้งที่แสดงออก จนกระทั่งเริ่มกลายเป็นความรุนแรง โดยอาจจะเริ่มจากความรุนแรงเล็กน้อยแล้วพัฒนาไปเป็นความรุนแรงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บอย่างรุนแรงต่อฝ่ายตรงข้ามในที่สุด ซึ่งหากรวมกับมุมมองทางด้านกลไกการเกิดของพฤติกรรมก้าวร้าวและความรุนแรงอันมีที่มาจากความคับข้องใจ (Frustration) โดยความก้าวร้าวที่พัฒนาไปสู่ความรุนแรงในการกีฬาจะเป็นผลลัพธ์หากคับข้องใจนี้มีความรุนแรงมากเพียงพอ และไม่มีกลไกยับยั้ง เช่น ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี หิริโอตัปปะ อันเป็นกลไกยับยั้งภายใน และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือกฎเกณฑ์และการควบคุมการแข่งขันอันเป็นกลไกยับยั้งภายนอกที่นักกีฬาไม่สามารถควบคุมได้เอง โดยเมื่อความคาดหวัง (Expectation) ของนักกีฬาที่มีต่อการแข่งขันไม่ได้รับการตอบสนอง เช่น ทีมเป็นฝ่ายตาม การที่คู่ต่อสู้ทำผิดกติกาเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่ตลอดเกมโดยไม่ได้รับการลงโทษ ก็จะทำให้เกิดความคับข้องใจเกิดขึ้น และเมื่อกลไกการยับยั้งทั้งภายในและภายนอกไม่สามารถ หรือไม่มีการควบคุมความคับข้องใจได้อีกต่อไปก็จะได้พฤติกรรมก้าวร้าวและความรุนแรงตามมานั่นเอง การคอยเตือนถึงผลลัพธ์อันเกิดจากการสร้างความรุนแรงในการแข่งขัน และการสร้างจิตสำนึกและน้ำใจนักกีฬาเป็นวิธีการที่ได้ผลวิธีหนึ่งในการป้องกันการเกิดเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์นี้ หากแต่การสร้างกลไกยับยั้งภายนอกเพื่อที่จะควบคุมไม่ให้เกิดความรุนแรงก็เป็นอีกด้านหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาประกอบการตัดสิน การพัฒนาระดับความสามารถของผู้ตัดสินให้มีความเท่าทันต่อเกมการแข่งขัน รวมไปถึงการคัดเลือกผู้ตัดสินจากทัศนคติที่มีความเข้มงวดต่อการทำผิดกติกา จนถึงการไม่ยั่วยุจากผู้ชม เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยลดเหตุการณ์รุนแรงในสนามให้เกิดน้อยลงจนไปถึงไม่เกิดเหตุการณ์ที่จะเป็นการทำลายวงการฟุตบอล หรือวงการกีฬาของไทยได้อีกในอนาคต. ผศ. …

สถานีความคิด StationTHAI : พฤติกรรมก้าวร้าว (Aggressive behavior) อันเป็นต้นเหตุนำไปสู่ความรุนแรง (Violence) ในวงการกีฬา Read More »

สถานีความคิด StationTHAI : ตามหลักทฤษฎีการดำรงอยู่ (Existence theory) ที่เป็นการจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นทุกข์

มนุษย์ค้นหาหนทางที่จะทำให้ตนเองมีความสุขในทุกวินาที ชั่วโมง วัน สัปดาห์ และตลอดไป แต่ละคนมีแนวทางการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามยังมีคนอีกจำนวนมากที่หาหนทางนั้นไม่เจอ วันนี้ผู้เขียนขอเสนอแนะการใช้ชีวิตตามหลักทฤษฎีการดำรงอยู่ (Existence theory) ที่เป็นการจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นทุกข์ ในที่นี้ขอเรียกว่า “จุดดำในใจ” (black spot) เช่น รูปลักษณ์ ความสามารถ ที่อยู่อาศัย ครอบครัว เพื่อน ผู้ร่วมงาน และสังคมรอบๆ ตัวเรา เป็นต้น เทคนิคการกำจัดความทุกข์ คือ ให้ยึดหลักเหตุและผล (cause and effect) ที่ทำให้ตัวเรามีความสุข ไม่ทำให้คนอื่นเป็นทุกข์ และไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งเทคนิคดังกล่าวมีสูตร ดังนี้ สูตร รูปลักษณ์ (ไม่เด่น) + ความสามารถ (เด่น) = ความสุข ความสามารถ1 (ไม่เด่น) + ความสามารถ2 (เด่น) = ความสุข ที่อยู่อาศัย (ไม่เด่น) + ปรับแต่ง …

สถานีความคิด StationTHAI : ตามหลักทฤษฎีการดำรงอยู่ (Existence theory) ที่เป็นการจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นทุกข์ Read More »

สถานีความคิด StationTHAI : ถ่ายทอดสดบอลโลก2022 ยังต้องลุ้นคนไทยจะได้ดูไหม หรือ จะได้ดูแบบไหน

ฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ แบ่งสายกันเรียบร้อยแล้ว โดยแรกเริ่มเดิมที คู่เปิดสนามในวันที่ 21 พ.ย. เป็นการพบกันระหว่าง “เจ้าภาพ” กาตาร์ กับ เอกวาดอร์ ในสาย เอ แต่พอฟีฟ่าประกาศโปรแกรมแข่งขันอย่างเป็นทางการออกมาจริงๆ คู่เปิดสนามกลับเป็นการเตะอีกคู่ในสาย เอ นั่นคือ ฮอลแลนด์ พบ เซเนกัล ในเวลา 13.00 น. หรือตรงกับเวลาประเทศไทย 17.00 น. ส่วนคู่ กาตาร์ กับเ อกวาดอร์ นั้น จะเตะกันในเวลา 19.00 น.  ตามเวลาท้องถิ่น หรือเวลาไทย 23.00 น. นอกจากนี้ในวันแรกของการแข่งขัน คือ 21 พ.ย.นั้น ยังเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์บอลโลก ที่มีการเตะกันถึง 4 คู่ คือนอกจากในสาย เอ แล้ว ยังมีการเตะในสาย บี อีก 2 …

สถานีความคิด StationTHAI : ถ่ายทอดสดบอลโลก2022 ยังต้องลุ้นคนไทยจะได้ดูไหม หรือ จะได้ดูแบบไหน Read More »

สถานีความคิด StationTHAI : มีเสียงสอบถาม ป้ายหนุนจัดงานกีฬา คืออะไร เพื่ออะไร มีนัยแอบแฝงหรือไม่ เลยต้องตอบเท่าที่ตอบได้

มีคนส่งภาพมาให้พร้อม ๆ กับ ตั้งคำถามมาด้วย หลายคำถาม ดูคำถามแล้วนั้น เหมือนว่าผู้ส่งภาพและถามมา เป็นผู้เสียประโยชน์ เป็นกลุ่มตรงข้าม หรือไม่ก็พวกอิจฉา (ขออภัยที่คิดแบบนั้น) และหรืออาจจะเป็นผู้ชี้มุมมองให้เราเห็นว่า “เรื่องราวคำถามนี้มันน่าสนใจ” ผมตรวจสอบภาพ ตามหน้าที่เพราะกลัวภาพจะมั่วมีการรีทัช ตัดแปะส่งมา เพราะ ถ้าภาพมั่ว คำถามก็คงมั่ว ก็ไม่อยากจะยุ่งเกี่ยวกับคนพวกนี้ ที่อาจจะว่างงาน แต่พอดีค้นไปมา พบว่าเป็นภาพจากการแข่งขันกีฬานี้ออกสื่อทั้งส่วนกลาง ท้องถิ่น มีการถ่ายทอดสดผ่านทางเพจ Facebook ที่ทุกอย่างเป็นสาธารณะ จึงค่อยโล่งใจว่า ภาพนั้นเป็นภาพจริงเกิดขึ้นจริง คืองานเจ๊ตสกี โปรทัวร์ 2022 ที่บึงสีไฟ จ.พิจิตร เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เลยนำมาเขียนเพราะเชื่อว่า “มันน่าสนใจ” ซึ่งคำถามที่มีมาถึงนั้น ตอบได้ก็คงตอบ แต่ถ้าไม่อยากตอบก็คงไม่ตอบจึงเลือกเอามาบางส่วนเท่านั้น คำถาม # การจัดนี้มีฝ่ายการเมืองในท้องถิ่นมองว่าเป็นการหาเสียง เพราะมีป้ายสนับสนุน เป็นพรรคการเมืองในรายชื่อผู้สนับสนุนงานนี้ด้วย คำตอบ # (ผมไม่ได้ตอบเอง) แต่ผมถามพี่อยู่ใน “สภา” เขาตอบผ่านไลน์ผมว่า “เขาคงเป็นผู้สนับสนุน” และมี 555  ต่อท้าย …

สถานีความคิด StationTHAI : มีเสียงสอบถาม ป้ายหนุนจัดงานกีฬา คืออะไร เพื่ออะไร มีนัยแอบแฝงหรือไม่ เลยต้องตอบเท่าที่ตอบได้ Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!