สถานีความคิด

นำมาใช้สำหรับการควบคุมน้ำหนัก และเป็นวิธีการรักษาระดับน้ำตาล

กระแสการรับประทานอาหารคีโตในเมืองไทย (Ketogenic diet) เริ่มเป็นที่นิยมกันมากในช่วง 3-4 ปี ที่ผ่านมานี้ แต่จากข้อมูลเราพบว่าการรับประทานคีโต เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ ค.ศ.1920 แล้ว ซึ่งในขณะนั้นเป็นการนำมารักษาโรคลมชัก แต่เมื่อมียารักษาโรคลมชักเกิดขึ้นการใช้วิธีนี้ก็เริ่มลดลงไป ปัจจุบันคีโตถูกนำมาใช้ในรูปแบบสำหรับการควบคุมน้ำหนักสำหรับคนทั่วไป และเป็นวิธีการรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ระดับอินซูลินและระดับไขมัน สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งนี้จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์และได้รับการประเมินความเสี่ยงก่อนเริ่มโภชนาการรูปแบบนี้เพื่อความปลอดภัยในกลุ่มที่มีโรคบางชนิด วิธีการอื่นๆที่ช่วยทำให้คีโตนสูงในเลือด นอกจากโภชนาการแบบคีโต คือ การหยุดรับประทานอาหาร (Fasting) การรับประทานคีโตนเสริม (Exogenous ketone) และการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง จากผลการศึกษาในงานวิจัยปี 2021 พบว่า การออกกำลังกายร่วมกับโภชนาการแบบคีโตเป็นโปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วน สามารถช่วยลดขนาดเส้นรอบวงเอวและระดับไตรกลีเซอไรด์ได้อย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงไม่มีปัญหาน้ำหนักขึ้นๆลงๆ (Yo-yo effect) อีกด้วย ในส่วนของโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีโภชนาการแบบคีโต ควรเป็นรูปแบบการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic exercise) ร่วมกับการออกกำลังกายด้วยแรงต้าน (Resistance exercise) ที่ระดับความหนักปานกลางถึงหนักมาก (Moderate to vigorous intensity) ประมาณ 30-60 นาที จำนวน 4 ครั้ง/สัปดาห์ …

นำมาใช้สำหรับการควบคุมน้ำหนัก และเป็นวิธีการรักษาระดับน้ำตาล Read More »

อำนาจอ่อน หรือ Soft Power หมายถึงอะไร ใช้ในมุมมองอย่างไรกับงานด้านการกีฬา

อำนาจอ่อน (Soft Power) หมายถึง ความสามารถในการจูงใจเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับนโยบายการบริหารองค์กรให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ นิยมใช้ในการบริหารองค์กรระดับประเทศ จำแนกเป็น 3 ประเภทสำคัญ ได้แก่ วัฒนธรรม ค่านิยม และนโยบาย อำนาจอ่อน ถูกนิยามโดย โจเซฟ ไนย์ ศาสตราจารย์แห่งฮาร์วาร์ด อดีต รมว.ต่างประเทศ และ รมว.กลาโหม ของสหรัฐ ในยุคประธานาธิบดี บิล คลินตัน  เมื่อ ปี ค.ศ. 1990 โดยตัวอย่างการใช้อำนาจอ่อนทางการกีฬา เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1971  จากกรณีที่สหรัฐ และจีน ใช้กีฬาเทเบิลเทนนิสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม จนสามารถสลายสงครามเย็น และได้รับการขนานนามการใช้อำนาจแบบนี้ว่า การทูตปิงปอง (Ping-Pong Diplomacy) อำนาจอ่อนของแต่ละประเทศส่วนมากจะมุ่งเน้นเป็นประเภทวัฒนธรรมและกีฬา เช่น ภาพยนตร์       ฮอลลีวูด ของสหรัฐอเมริกา วงบีทีเอส หรือลิซ่า แบล็กพิงค์ เป็นศิลปินดาราบอยแบรนด์และเกิร์ลกรุ๊ปจากประเทศเกาหลีใต้ การ์ตูนกีฬาฟุตบอลกัปตันซึบาสะ การแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีก) ของประเทศอังกฤษ สำหรับประเทศไทยก็มีอำนาจอ่อนที่โดดเด่นคือ …

อำนาจอ่อน หรือ Soft Power หมายถึงอะไร ใช้ในมุมมองอย่างไรกับงานด้านการกีฬา Read More »

ปริญญา ช่วยเกตุ คีรีรัตน์ ขอคำตอบจากรัฐทำไมไม่ใด้เท่าเทียมกับนักกีฬาคนปกติ

เรื่องราวจากสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ ส.ส.ปริญญา ช่วยเกตุ คีรีรัตน์ อดีตนักกีฬาคนพิการ ได้มีข้อหารือกับนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการที่นักกีฬาคนพิการที่เข้าแข่งขันเอเชี่ยนยูธพาราเกมส์ (กีฬาเยาวชนคนพิการระดับเอเชีย) ไม่ได้เงินรางวัลเทียบเท่าคนปกติที่แข่งกีฬาเอเชี่ยนยูธเกมส์ ที่ถือเป็นงานระดับเดียวกัน เมื่อมีข้อหารือ ทางสภาก็จะแทงเรื่องมายังกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ มีการแทงต่อมายังการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อที่จะต้องชี้แจงหรือตอบคำถามว่าทำไมไปยังต้นทางที่หารือมา ประเด็นเรื่องนี้ Station THAI สื่อออนไลน์ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การสนับสนุนของใคร จึงเอ่ยได้แบบไม่ต้องเกรงใจใครๆ ขอพูดถึงข้อเท็จจริงที่ว่า การให้รางวัลหรือไม่ มันอยู่ที่ การประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้เงินรางวัล เมื่อปี 2562ของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ การที่นักกีฬาเอเชี่ยนยูธพาราเกมส์ไม่ได้รับเงินรางวัลจากการแข่งขัน เพราะว่าไม่ได้มีการประกาศว่าต้องให้รายการนี้  และทำไมถึงให้นักกีฬาที่ได้เหรียญเอเชี่ยนยูธเกมส์…คำตอบก็คือก็เพราะว่ากองทุนประกาศว่าให้รายการนี้ นั่นเอง มองอย่างเข้าใจ ทั้ง 2 ด้าน ด้วยความเข้าใจแรกคือเข้าใจบทบาทหน้าที่ของ ส.ส.ที่ต้องทำงานเพื่อกลุ่มเพื่อส่วนรวม จึงไม่แปลกที่จะมีคำถามด้วยข้อสงสัยอย่างนี้เพื่อหาคำตอบว่า…ทำไมไม่เท่าเทียมกันระหว่างนักกีฬาคนปกติและคนพิการ และต้องมองอย่างเข้าใจผู้ที่ดูแลการประกาศให้รางวัลอย่างกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ว่า มีการหารือเรื่องการให้รางวัลก่อนที่จะประกาศนี้หนักพอสมควร ก็เพราะในกองทุนมองเรื่องการเท่าเทียมทางสังคม สิทธิควรจะได้เป็นหลักนี่เองเป็นจุดเริ่มต้น…แต่การให้รางวัลวงการกีฬา มันไม่ใช่เรื่องเท่าเทียมทางสังคม มันมีรายละเอียดที่มากต้องมองถึงการได้มาของเหรียญ ทั้งนักกีฬาคนปกติหรือนักกีฬาคนพิการเองในการแข่งขันรายการกีฬาที่แตกต่างกัน ความยากง่ายของการแข่งขันแตกต่างกันก็ได้รางวัลไม่เท่ากันซึ่งก็เหมือนๆ กัน ทั้งคนปกติและคนพิการ ฉะนั้นหากมองถึงการประกาศการให้ต้องมองอย่างเข้าใจ ไม่ใช่มองอย่าง “ดราม่า” ไม่งั้นเรื่องนี้ไม่จบ …

ปริญญา ช่วยเกตุ คีรีรัตน์ ขอคำตอบจากรัฐทำไมไม่ใด้เท่าเทียมกับนักกีฬาคนปกติ Read More »

พ.ร.บ.เก่า-ใหม่ไม่เอื้อเปลี่ยนผ่าน ใครจะแตะตรงไหนก็เสียว

เมื่อมีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ.2562 ก็ดีใจกันสำหรับวงการกีฬา โดยเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้อง เพราะเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.นี้ที่มาแทน พระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ.2548 นั้นก็คือ การยกฐานะการจัดการด้านการศึกษา งานวิจัยด้านกีฬาและอื่น ๆ ที่รัฐมองเห็นคุณประโยชน์สถาบันนี้จึงเปิดให้เปลี่ยนแปลง โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และในบทเฉพาะกาลของ พ.ร.บ.ใหม่นี้ มาตรา 95 ระบุ สรุปว่าหากยังไม่สามารถดำเนินการได้ตาม พ.ร.บ.นี้ก็ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ ซึ่งออกจากพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ.2548 ที่ใช้อยู่ก่อนวันประกาศใช้ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ มาบังคับใช้โดยอนุโลม ในกรณีที่มีปัญหาในการดำเนินการตามที่กำหนดในบทเฉพาะกาลนี้ ให้รัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจตีความและวินิจฉัย ซึ่งเมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 พ.ค.2562 ทุกอย่างก็เดินหน้า ตามที่ระบุ หรือสิ่งที่ต้องทำ ในมาตราต่าง ๆ  ที่สำคัญคือเล็งเป้าไปที่ การสรรหาอธิการบดีคนใหม่ ตาม พ.ร.บ.ใหม่ เนื่องจาก อธิการบดีคนเก่า นั้นอยู่มาตาม พ.ร.บ.สถาบันการพลศึกษา ถือเป็น พ.ร.บ.เก่าที่กำลังเปลี่ยนผ่าน ที่เพ่งเล็งกันก็เพราะฐานะของอธิการบดี ในสถาบันการศึกษานี้ถือว่าสำคัญ / …

พ.ร.บ.เก่า-ใหม่ไม่เอื้อเปลี่ยนผ่าน ใครจะแตะตรงไหนก็เสียว Read More »

ชัยชนะของนักกีฬาสตรีของสหรัฐ จากการเรียกร้องความเสมอภาค

22 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมามีความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สะท้อนถึงความเท่าเทียมกันในวงการกีฬา เมื่อทีมฟุตบอลหญิงของสหรัฐอเมริกาสามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนที่เท่ากัน (Equal pay) ที่มีสหพันธ์ฟุตบอลแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Soccer Federation) โดยสหพันธ์ฟุตบอลแห่งสหรัฐอเมริกายินยอมที่จะจ่ายเงิน 22 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับนักฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐอเมริกา (มีคนเข้าร่วมฟ้องร้อง 28 คน) และจะมีการจัดสรรเงินจำนวน 2 ล้านเหรียญ (เพิ่มเติมจากวงเงิน 22 ล้านเหรียญสหรัฐ) จะถูกกันไว้สำหรับเป็นกองทุนให้นักฟุตบอลหญิงสามารถกู้ยืมในภาวะฉุกเฉินได้คนละไม่เกิน 50,000 เหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ยังได้มีการบรรลุข้อตกลงที่สหพันธ์ฟุตบอลแห่งสหรัฐอเมริกายินยอมที่จะจ่ายเบี้ยเลี้ยงและโบนัสที่เท่ากันระหว่างนักฟุตบอลชายและนักฟุตบอลหญิงในการแข่งขันฟุตบอลนัดกระชับมิตรและการแข่งขันฟุตบอลโลกอีกด้วย ปัญหาเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันเป็นปัญหาใหญ่ในวงการกีฬามาอย่างยาวนาน ถึงแม้ว่าจะมีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มจำนวนนักกีฬาหญิงจะทำให้เกิดการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆได้มากขึ้น จากรายงานของ Pew Research Center พบว่าในสหรัฐอเมริกาค่าตอบแทนของผู้หญิงอยู่ที่ 84% ของผู้ชาย ทำให้ผู้หญิงต้องทำงานเพิ่มมากถึงประมาณ 1 เดือนครึ่ง (42 วัน) จึงจะมีค่าตอบแทนเท่ากับผู้ชาย ซึ่งความห่างระหว่างค่าตอบแทนที่ได้รับของผู้ชายและผู้หญิงมีแนวโน้มคงที่ช่วงปี 2020 ที่ผ่านไป แต่สำหรับในวงการกีฬาความห่างระหว่างค่าตอบแทนของนักกีฬาชายและนักกีฬาหญิงไม่ได้มีแนวโน้มที่ลดลงแต่อย่างใด เช่นในปี 2019-2020 Stephen Curry นักบาส NBA ที่ทำรายได้สูงสุดมีรายได้มากถึง 40 ล้านเหรียญสหรัฐ …

ชัยชนะของนักกีฬาสตรีของสหรัฐ จากการเรียกร้องความเสมอภาค Read More »

กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เป็นใคร เพื่ออะไร ใหญ่แค่ไหน !

วงการกีฬาของไทย เริ่มรู้จัก กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ มากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อถึงวันนี้ บางคนก็รู้จักดี บางคนก็รู้จักแบบกังขา ว่าคือใคร ลองมาว่ากันถึงที่มา และจุดสำคัญของกลุ่มที่เรียกว่า “กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ” กันครับ ในพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 กำหนดใน หมวด 5 กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ตามรายละเอียด คือ #ตั้งขึ้นมาจากไหน มาตรา 36 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า “กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ” ใน กกท. เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่าย เพื่อการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา คุ้มครอง ช่วยเหลือ และจัดสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา #เอาเงินมาจากไหน มาตรา 37 ให้กองทุนมีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละสอง ของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบ ตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และกฎหมายว่าด้วยยาสูบ #เอาไปจ่ายใคร มาตรา 42 เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการ ดังต่อไปนี้ -ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมกีฬา ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ -ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานักกีฬา บุคลากรกีฬา …

กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เป็นใคร เพื่ออะไร ใหญ่แค่ไหน ! Read More »

วิธีบำบัดความเครียด จากการติดเชื้อโควิด ด้วยโปรแกรมจิต

รองศาสตราจารย์ ดร.ธิรตา ภาสะวณิช อาจารย์ประจำภาควิชาพลานามัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แจ้งว่าได้ พบวิธีการบำบัดอาการไอ แน่นหน้าอก และความเครียดที่เกิดจากการติดเชื้อ COVID-19 โดยบังเอิญ ด้วยการใช้โปรแกรมการจินตภาพความอุ่นที่พัฒนาขึ้น และทำการวิจัยมากว่า 15 ปี  ซึ่งเป็นไปตามหลักและทฤษฎีการจินตภาพ (Imagery Theory) ที่เป็นการย้อนระลึกถึง หรือเป็นการสร้างความรู้สึกทั้ง 5 ขึ้นในใจ คือ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส รวมทั้งอารมณ์ โปรแกรมนี้ได้ผ่านการทำวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวกับการลดความเครียด การลดอาการสั่นที่ฝ่ามือ อีกทั้งยังมีการพัฒนาโปรแกรมไปใช้ในการบรรเทาอาการปวดจากการผ่าตัด ข้อค้นพบในครั้งนี้ได้มาโดยบังเอิญ จากการติดต่อขอรับคำปรึกษาของนักกีฬาที่ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 17 คน ตั้งแต่ เดือนเมษายน 2564 จนถึง ปัจจุบัน   โดยตอนแรก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักกีฬาผ่อนคลายจากความเครียดในการติดเชื้อโควิด-19 เท่านั้น แต่จากข้อค้นพบ พบว่า หลังการใช้โปรแกรมดังกล่าว ความอิ่มตัวของออกซิเจนเพิ่มขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจลดลง  และระดับความเครียดลดลงด้วย ดังตัวอย่าง นาย …

วิธีบำบัดความเครียด จากการติดเชื้อโควิด ด้วยโปรแกรมจิต Read More »

กกท.จะไม่มีผู้ว่าการ คนที่ 14

การกีฬาแห่งประเทศไทย” เรียกโดยย่อว่า “กกท.” มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Sports Authority of Thailand” เรียกโดยย่อว่า “SAT” จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 102 ตอนที่ 149 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2528 เพื่อจัดตั้ง “การกีฬาแห่งประเทศไทย” (กกท.) แทน“องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย” (องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย จัดตั้งเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2507) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็น การยกระดับให้มีการบริหารงานอย่างเพียงพอต่อการขยายตัวของการกีฬาในชาติ และ เมื่อมีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 ได้มีการจัดตั้งกระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬาขึ้น เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 และให้การกีฬาแห่งประเทศไทย โอนไปสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแทนสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2545 เป็นต้นมา ทำเนียบผู้บริหารสูงสุดตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา ที่เรียกว่า …

กกท.จะไม่มีผู้ว่าการ คนที่ 14 Read More »

ความจำของกล้ามเนื้อช่วยได้

  ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์การแพรระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 ทั่วโลก ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง รวมถึงในวงการกีฬาด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเห็นได้จากมีการเลื่อนหรือยกเลิกการจัดการแข่งขันกีฬาทั้งในระดับชาติและนานาชาติในหลายๆรายการ ในส่วนของนักกีฬาเองไม่ว่าจะเป็นกีฬาสมัครเล่นหรืออาชีพก็ได้รับผลกระทบเช่นกันจากการปิดสนามกีฬาและสถานที่ออกกำลังกายทั้งในร่มและกลางแจ้ง  ทำให้นักกีฬาไม่สามารถทำการฝึกซ้อมได้ต่อเนื่องหรืออาจต้องหยุดฝึกซ้อมเป็นเวลานานหลายเดือน ส่งผลทำให้ระดับความฟิตของนักกีฬาลดลง (Detraining) อย่างไรก็ตามเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 เริ่มดีขึ้น นักกีฬามีโอกาสได้เริ่มกลับมาฝึกซ้อมและแข่งขันกีฬาได้มากขึ้น ถึงกระนั้นก็ตามผู้ฝึกสอนหลายๆท่านอาจมีความกังวลใจหรือมีคำถามว่านักกีฬาจะสามารถกลับมาฟิตทันและได้เหมือนเดิมไหม โดยปกติเป็นที่ทราบกันดีว่านักกีฬาที่เคยได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีแล้วจะยังสามารถกลับมาปฏิบัติทักษะต่างๆได้ดีเหมือนเดิม (Skill retention) ถึงแม้ว่าจะต้องหยุดการฝึกซ้อมเป็นระยะเวลาหนึ่ง (เหมือนกับการเล่นเครื่องดนตรี) โดยนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าที่เป็นเช่นนี้น่าจะเกิดจากมีการปรับตัวของสมองและระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ หลังจากการฝึกฝนและทำซ้ำๆกันเป็นระยะเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อสามารถจดจำทักษะการเคลื่อนไหวได้ หรือที่เรียกว่า Motor memory ส่งผลให้นักกีฬาสามารถปฏิบัติทักษะได้อย่างคล่องแคล่วเป็นอัตโนมัติโดยไม่ต้องผ่านการคิดหรือการตัดสินใจ อย่างไรก็ตามเมื่อเร็วๆนี้ Lawrence Schwartz นักชีววิทยาชาวอเมริกันได้พบว่ากล้ามเนื้ออาจมีหน่วยความจำอีกชนิดหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง เรียกว่า Muscle memory ซึ่งเกิดจากการสะสมของนิวเคลียสในเซลล์กล้ามเนื้อ (Myonuclei)  โดยทำหน้าที่ในการสังเคราะห์โปรตีนของกล้ามเนื้อหลังจากได้รับการฝึกยกน้ำหนักหรือการใช้สารกระตุ้นเช่น Anabolic steroids เป็นต้น ที่พบว่าจำนวนนิวเคลียสดังกล่าว (ซึ่งมาจากเซลล์ต้นกำเนิดของกล้ามเนื้อ) จะเพิ่มมากขึ้นเป็นสัดส่วนกับขนาดของกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้น (Hypertrophy) โดยที่จำนวนนิวเคลียสนี้ไม่ได้ลดลงถึงแม้ว่าขนาดของกล้ามเนื้อจะลดลง (Atrophy) เนื่องมาจากการไม่ได้ใช้งาน ซึ่งขัดแย้งกับทฤษฏีของใช้งาน (Use it or lose  …

ความจำของกล้ามเนื้อช่วยได้ Read More »

ออกกำลังกายสู้โรคภัย

  ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จากเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน ส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น เชื้อไวรัสส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก ทำให้เกิดปอดอักเสบ หายใจเหนื่อย ไอแห้ง หรือมีเสมหะร่วมด้วย หลังจากผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการบรรเทาลงแล้ว จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด หัวใจ และการหายใจให้กลับมาทำงานได้ดีเหมือนปกติ ซึ่งการฟื้นฟูร่างกายสามารถทำได้ในขณะรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลหรือสถานผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) และหลังจากรักษาหายแล้ว จะสามารถเริ่มออกกำลังกาย ตามข้อบ่งชี้ ดังนี้ ไม่มีอาการเหนื่อยหรือเคยเหนื่อย แต่อาการหายไปเกิน 3 วัน 2) ไม่ได้อยู่ในช่วง 7 วันแรกของการวินิจฉัยว่าเป็นโควิด-19 3) ไม่มีไข้ในขณะที่ออกกำลังกาย (อุณหภูมิต่ำกว่า 38 องศาเซลเซียส) 4) หากวัดออกซิเจนบริเวณปลายนิ้วมือ ต้องเกิน 95% ขึ้นไป 5) ค่าความดันโลหิตต้องอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยตัวบนอยู่ในช่วง 90-140 มม.ปรอท ตัวล่างอยู่ในช่วง 60-90 มม.ปรอท หากสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์ดังกล่าว ไม่ควรออกกำลังกาย (แหล่งที่มา: บทความการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด หลังการติดเชื้อในผู้ป่วยโควิด-19) การออกกำลังกายสำหรับคนที่ไม่เคยออกกำลังกายเป็นประจำมาก่อนติดเชื้อ ควรเริ่มจากกิจกรรมที่ง่าย เช่น การเดินในจังหวะช้าถึงปานกลาง …

ออกกำลังกายสู้โรคภัย Read More »

You cannot copy content of this page

error: Content is protected !!